Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1152
Title: THE EFFICIENCY OF JUVENILE TREATMENT PROGRAM
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพโปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูเด็กกระทำผิดกฎหมายอาญา
Authors: NATTHAPRAT NANTIWATKUN
นัทธปราชญ์ นันทิวัฒน์กุล
Chompoonuh Kosalakorn Permpoonwiwat
ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์
Srinakharinwirot University. School of Economics and Public Policy
Keywords: ต้นทุนต่อหน่วย
ต้นทุนประสิทธิผล
เด็กและเยาวชน
การประหยัดต่อขนาด
Cost per units
Cost-effectiveness
Juvenile offender
Economies of scale
Issue Date:  14
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this research were as follows: (1) an analysis of cost per unit; (2) an analysis of economy of scale; and (3) an analysis of cost-effectiveness. The study used two secondary data sets from the Juvenile Vocational Center (DJOP): (1) the data related to the monthly costs of 17 Juvenile Vocational Centers according to governmental accounting from September 2016 to December 2019, with a total of 636 samples from a total of 16,000 youths; and (2) the data related to risk and necessity among youths from 2015 to 2019, from a total of 120,455 youths. The cost equations were estimated by the econometric method. The research found that the lowest cost per unit with 518 youths was 5,383 Baht. Evidently, the lowest cost per unit was lower than the standard of living and the cost of raising a child in Thailand. The economy of scale did not occur in small and large centers. In addition, the aspect of cost-effectiveness indicated that the Baanpranee Center was the most effective. There was an increase of 1% in the number of good youths in the society with decrease of 2.2% of total cost. The resource management was caused by working culture and support systems. Therefore, the authority should set up a policy to promote and develop the quality of rehabilitation for youths, to determine guidelines and allocate sufficient and appropriate resources for all juvenile vocational training centers.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) วิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย 2) วิเคราะห์การประหยัดต่อขนาด และ 3) วิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผล การวิจัยอาศัยข้อมูลทุติยภูมิศูนย์ฝึก กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จำนวน 2 ชุด ได้แก่ 1) ข้อมูลต้นทุนศูนย์ฝึกและอบรมตามระบบบัญชีภาครัฐของศูนย์ฝึก 17 แห่ง รายเดือนระหว่างกันยายน 2559 ถึง ธันวาคม 2562 รวม 636 ตัวอย่าง เด็กจำนวน 16,000 คน และ 2) ข้อมูลความเสี่ยงและความจำเป็นเด็กระหว่างปี 2558 ถึงปี 2562 เด็กทั้งหมด 120,455 ราย ประมาณสมการต้นทุนด้วยวิธีการเศรษฐมิติ ผลการวิจัยพบว่า การแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่อหน่วยต่ำที่สุดเมื่อมีจำนวน 518 คน ประมาณ 5,383 บาท ต้นทุนต่อหน่วยต่ำที่สุดที่เกิดขึ้นเป็นต้นทุนที่น้อยกว่าต้นทุนมาตรฐานดำรงชีพและต้นทุนเลี้ยงดูเด็กของประเทศ การวิเคราะห์การประหยัดต่อขนาดพบว่า ศูนย์ฝึกขนาดเล็กและขนาดใหญ่ไม่เกิดการประหยัดต่อขนาด และผลการวิเคราะห์ประสิทธิผล พบว่า ศูนย์ฝึกปรานีเป็นศูนย์ฝึกที่เกิดประสิทธิผลที่สุด ศูนย์ฝึกปรานีสามารถเพิ่มจำนวนเด็กดีในสังคมร้อยละ 1 โดยที่ลดต้นทุนลงร้อยละ 2.2 ที่ศูนย์ฝึกปรานีมีต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 8,000 บาทต่อเดือน การที่ศูนย์ฝึกปรานีเกิดประสิทธิผลในการดำเนินงานเนื่องมาจาก 1) มีทรัพยากรในการจัดการฝึกอบรมเพียงพอ 2) บุคคลมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงานเพื่อเด็ก และ 3) การบริหารจัดการภายในส่งเสริมการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็ก มีการทำงานเป็นทีม อาศัยกระบวนการวิจัยพัฒนาการฝึกอบรม ดังนั้น ผู้บริหารกรมพินิจควรมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็ก กำหนดแนวทางและจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอและเหมาะสมแก่ศูนย์ฝึกและอบรม
Description: DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1152
Appears in Collections:School of Economics and Public Policy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs561120011.pdf6.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.