Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1122
Title: LAO BUDDHIST MONK NETWORK: COMMUNITY AND SOCIAL CAPITAL CREATING PROCESS IN THAI SOCIETY
เครือข่ายพระสงฆ์ลาว: กระบวนการสร้างชุมชนเเละทุนทางสังคมในสังคมไทย
Authors: SAICHOL PANYACHIT
สายชล ปัญญชิต
Prit Supasertsiri
พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ
Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts
Keywords: เครือข่าย
ทุนทางสังคม
พระสงฆ์ลาว
Network
Social capital
Lao monks
Issue Date:  14
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This study was comprised of 3 objectives as follows: 1) To analyze the formation process of community and the establishment of a network of Lao monks in Thai society; 2) To study the characteristics of religious activities in respect of the cultural transfer and exchange of the network of Lao monks in Thai society; and 3) To explore and synthesize how to establish and transfer social capital of the network of Lao monks in Thai society, using an integrated research process which includes the use of the survey questionnaire for the data collection, the fieldwork to conduct in-depth interviews, the focus group, and the observation. The quantitative samples were selected from Lao monk populations who were studying in Thailand. The research was conducted in the following 8 provinces: (1) Bangkok; (2) Phra Nakhon Si Ayutthaya; (3) Nong Khai; (4) Khon Kaen; (5) Nakhon Phanom; (6) Ubon Ratchathani; (7) Chiang Mai; (8) Chiang Rai. There were a total of 119 samples. Major respondents included 15 Thai monks, 12 Lao monks, and 3 Thai laymen, totaling 30 major respondents. The results of the study revealed that 1) The community of the network of Lao monks was formed by the process, relying on a combination of cultural relationship between the two countries, followed by the support from clergymen and Sangha Universities in Thailand for the founding of the community in each province, as well as the support from Sangha Universities, Sangha administrators, and government agencies in Lao PDR for the establishment of the relationship within the network of Lao monks in Thai society; 2) The activities which were significant to the cultural exchange of Lao monks were the education of Dhamma of Thai clergymen, the Buddhism propagation and social work, and the traditional activities of Thai clergymen; and 3) The social capital of the network of Lao monks in Thai society could be generated by developing social space, building both internal and external networks, improving operations of activities, and managing knowledge of the network of Lao monks. With regard to the social capital transfer, it could be transferred among members of the network, or in the form of a relationship exchange with Thai clergymen, and via social network. Finally, this research mainly suggested that next study should compare models of the network of foreign monks to explore how to apply cultural meaning of Thai society when they returned to live in their home country.  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการก่อตัวของความเป็นชุมชนและการจัดตั้งเครือข่ายพระสงฆ์ลาวในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาลักษณะกิจกรรมทางศาสนาในประเด็นการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของเครือข่ายพระสงฆ์ลาวในสังคมไทย และ 3) เพื่อศึกษาและสังเคราะห์รูปแบบของกระบวนการสร้างและถ่ายทอดทุนทางสังคมของเครือข่ายพระสงฆ์ลาวในสังคมไทย โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการเก็บข้อมูลแบบสอบถามเชิงสำรวจ และการลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตการณ์การวิจัย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณคัดเลือกจากประชากรพระสงฆ์ลาวที่เข้ามาศึกษาอยู่ในสังคมไทยในพื้นที่การวิจัย 8 จังหวัดได้แก่  (1) กรุงเทพมหานคร (2) พระนครศรีอยุธยา (3) หนองคาย (4) ขอนแก่น (5) นครพนม (6) อุบลราชธานี (7) เชียงใหม่ (8) เชียงราย ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 119 รูป ในส่วนของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบ่งเป็นพระสงฆ์ไทยจำนวน 15 รูป พระสงฆ์ลาวจำนวน 12 รูป และบุคคลทั่วไปชาวไทยอีก 3 คน รวมกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 30 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า ประการที่หนึ่ง ความเป็นชุมชนของเครือข่ายพระสงฆ์ลาวเกิดขึ้นภายใต้กระบวนการที่อาศัยรากฐานความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศที่ผสมผสานร่วมกันได้ นำมาสู่การสนับสนุนจากคณะสงฆ์และมหาวิทยาลัยสงฆ์ของไทยจนกลายเป็นชุมชนแต่ละจังหวัด ต่อมาจึงมีการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ พระสังฆาธิการและหน่วยงานภาครัฐของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวให้สร้างความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายพระสงฆ์ลาวในสังคมไทย ประการที่สอง กิจกรรมที่สำคัญต่อการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของพระสงฆ์ลาวคือการศึกษาพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ไทย การเผยแผ่พระพุทธศาสนาและสังคมสงเคราะห์ และกิจกรรมตามประเพณีของคณะสงฆ์ไทย และประการที่สาม ทุนทางสังคมของเครือข่ายพระสงฆ์ลาวในสังคมไทยเกิดขึ้นจากการพัฒนาพื้นที่ทางสังคมการสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก การพัฒนาปฏิบัติการของกิจกรรมและการจัดการความรู้ของเครือข่ายพระสงฆ์ลาว ในส่วนของการถ่ายทอดทุนทางสังคมได้ใช้การถ่ายทอดภายในสมาชิกของเครือข่าย การแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์กับคณะสงฆ์ไทย และการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ท้ายที่สุดงานวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะที่สำคัญคือควรมีการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของเครือข่ายพระสงฆ์ต่างประเทศเกี่ยวกับการประยุกต์รับความหมายทางวัฒนธรรมของสังคมไทยเมื่อได้เดินทางกลับไปใช้ชีวิตในสังคมบ้านเกิดของตนเอง
Description: DOCTOR OF ARTS (D.A.)
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1122
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611150065.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.