Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1060
Title: EFFECT OF POWDER TO LIQUID RATIOON THE PUSH OUT BOND STRENGTH OF BIODENTINETM 
ผลของอัตราส่วนผงต่อของเหลวต่อความแข็งแรงพันธะผลักออกของวัสดุไบโอเดนทีน
Authors: YANIN CHALERMSURAKARN
ญาณินท์ เฉลิมสุรกาญจน์
Jaruma Sakdee
จารุมา ศักดิ์ดี
Srinakharinwirot University. Faculty of Dentistry
Keywords: ความแข็งแรงพันธะผลักออก
ไบโอเดนทีน
อัตราส่วนผสมผงต่อของเหลว
push out bond strength
Biodentine
powder to liquid ratio
Issue Date:  14
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objective of this study was to determine the effect of different powder-to-liquid ratio on the push out bond strength of BiodentineTM (BD). The methods used in this study were as follows: 32 single root permanent human teeth were open access with round diamond burs and prepared root canal with peeso reamer burs no.1-4, respectively. The size of the final diameter of the root canal is 1.4 mm. The prepared root canals were randomly filled with four types of material: MTA, BD1:4, BD1:5 and BD1:6. The roots were cut into 3-mm thick sections and 16 samples of each group were randomized and then divided into two groups. The push-out test was performed with a Universal Testing Machine at 24 hours and 28 days after storage in PBS. The results were statistically analyzed using One-way ANOVA and Tukey's HSD test. The results of this study were as follows: at 24 hours, the highest push-out bond strength in BD1:6 that is 17.569 MPa with statistically significant differences. In contrast, at 28 days, the BD1:5 and BD1:4 groups showed a significantly higher push-out bond strength at 15.619 and 14.704 MPa than BD1:6 and MTA that are 10.169 and 10.725 MPa. In conclusion, a different powder-to-liquid ratio affected the push out bond strength of BiodentineTM, and BD1:5 and BD1:4 showed higher push-out bond strength than BD1:6 with a statistically significant difference.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนอัตราส่วนผสมผงต่อของเหลวต่อความแข็งแรงพันธะผลักออกของวัสดุไบโอเดนทีน ทำการศึกษาในฟันแท้รากเดียวของมนุษย์ที่ถูกถอนทั้งหมด 32 ซี่ กรอเปิดเข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในด้วยหัวกรอเร็วกากเพชรทรงกลม เตรียมคลองรากฟันด้วยหัวกรอชนิดพีโซขนาด1-4 ตามลำดับ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางคลองรากฟันสุดท้ายเท่ากับ 1.4 มิลลิเมตร แบ่งฟันโดยวิธีสุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม อุดคลองรากฟันด้วยวัสดุเอ็มทีเอ และไบโอเดนทีนที่ผสมด้วยอัตราส่วนผงต่อของเหลว 1:4 (บีดี1:4) 1:5 (บีดี1:5) และ 1:6 (บีดี1:6) นำฟันมาตัดฟันในแนวขวางเพื่อทำแผ่นเนื้อฟันให้มีความหนาของแผ่นเนื้อฟัน 3 มิลลิเมตร จะได้แผ่นเนื้อฟันกลุ่มละ 16 ชิ้น จากนั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีสุ่ม นำมาทดสอบความแข็งแรงพันธะผลักออกที่เวลา 24 ชั่วโมง และหลังแช่ในสารละลายพีบีเอสเป็นเวลา 28 วัน ทดสอบความแข็งแรงพันธะผลักออกด้วยเครื่องทดสอบสากล นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติทูกีเอชเอสดีเทสต์ ผลการศึกษาพบว่าที่เวลา 24 ชั่วโมง กลุ่มบีดี1:6 มีค่าความแข็งแรงพันธะผลักออก 17.569 เมะปาสคัล ซึ่งมีค่ามากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่เวลา 28 วัน กลุ่มบีดี1:5 และ บีดี1:4 มีค่าความแข็งแรงพันธะผลักออก 15.619 และ 14.704 เมกะปาสคัล มากกว่ากลุ่มบีดี1:6 และกลุ่มเอ็มทีเอที่มีค่าความแข็งแรงผลักออก 10.169 และ 10.725 เมกะปาสคัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษาสรุปได้ว่าอัตราส่วนผสมผงต่อของเหลวที่แตกต่างกันส่งผลต่อค่าความแข็งแรงพันธะออกของวัสดุไบโอเดนทีน โดยบีดี1:5 และ บีดี1:4 มีค่าความแข็งแรงพันธะผลักออกมากกว่าบีดี1:6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Description: MASTER OF SCIENCE (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1060
Appears in Collections:Faculty of Dentistry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601110052.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.