Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1052
Title: THE DEVELOPMENT OF CREATIVE DRAMA LEARNING ACTIVITIES FOR STIMULATING EXECUTIVE FUNCTIONS SKILL IN INHIBITORY CONTROL BEHAVIOR OF PRESCHOOL CHILDREN
การพัฒนาชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการยับยั้งชั่งใจในเด็กปฐมวัย
Authors: RATTHAPHICH SAENGDA
รัฏฐพิชญ์ แสงดา
Rawiwan Wanwichai
ระวิวรรณ วรรณวิไชย
Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts
Keywords: กิจกรรมละครสร้างสรรค์
ทักษะการคิด
พฤติกรรมการยับยั้งชั่งใจ
Creative drama learning activities
Executive functions skill
Inhibitory control behavior
Issue Date:  18
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this research were to create a series of creative drama activities to promote thinking skills that influenced abstinence behavior in early childhood and to compare the thinking skills that influenced abstinence behavior among 4-to-6-year-old primary school students at Uthit Suksa Kindergarten, with problems in thinking of three abstinence behavior indicators: behavior inhibition, emotional control, and management planning. The sample consisted of a total of 19 primary school students. The results of the research were as follows: (1) the creation of a creative drama activity set to promote thinking skills influencing abstinence behavior in early childhood, with 12 activity plans. The first to the fourth activity plans were intended for developing behavior inhibition. The fifth to the eighth activity plans were used to develop emotional control. The ninth to the twelfth activity plans were for developing management planning. In addition, based on the Index of Item Objective Congruence (IOC) from experts, it can be concluded that the experts had the opinion that the form of creative drama activity was appropriate and consistent with the activity at the highest level; and (2) the results of the experiment to compare the indicators of thinking skills that influenced the abstinence behavior before and after organizing the creative drama activities included three indicators of creative drama activities. The average score before the event was lower than after the event. By using the evaluation of the indicators of development of emotional control, the results were at the highest level, followed by a management planning development indicator and a behavioral inhibition development indicator, respectively. 
การวิจัยการพัฒนาชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการยับยั้งชั่งใจในเด็กปฐมวัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการยับยั้งชั่งใจในเด็กปฐมวัย และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการยับยั้งชั่งใจ โดยศึกษากับนักเรียนก่อนวัยเรียนเพศชายและหญิงในระดับอายุ 4 – 6 ปี ของโรงเรียนอนุบาลอุทิศศึกษา ที่มีปัญหาการคิดส่งผลต่อพฤติกรรมการยับยั้งชั่งใจ 3 ด้านคือ การหยุดการยับยั้งพฤติกรรม, การควบคุมอารมณ์ และการวางแผนจัดการ จำนวน 19 คน ผลวิจัยพบว่า 1.) ได้ชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์ในการพัฒนาทักษะการคิดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการยับยั้งชั่งใจ จำนวน 12 แผนกิจกรรม ประกอบไปด้วยแผนกิจกรรมที่ 1 – 4 พัฒนาด้านการหยุดการยับยั้งพฤติกรรม, แผนกิจกรรมที่ 5 – 8 พัฒนาด้านการควบคุมอารมณ์ และแผนกิจกรรมที่ 9 – 12 พัฒนาด้านการวางแผนจัดการ โดยรูปแบบกิจกรรมละครสร้างสรรค์ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิมีความเหมาะสม และค่าความสอดคล้อง (IOC) ของกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด 2.) ผลการทดลองเพื่อเปรียบเทียบตัวบ่งชี้ทักษะการคิดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการยับยั้งชั่งใจ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์ทั้ง 3 ด้าน มีระดับคะแนนเฉลี่ยก่อนจัดกิจกรรมจะต่ำกว่าหลังจัดกิจกรรม โดยจากการใช้แบบประเมินตัวบ่งชี้พัฒนาการด้านการควบคุมอารมณ์ ผลประเมินอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมา  ตัวบ่งชี้พัฒนาการด้านการวางแผนจัดการ และตัวบ่งชี้พัฒนาการด้านการหยุดการยับยั้งพฤติกรรม ตามลำดับ
Description: MASTER OF EDUCATION (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1052
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601130220.pdf9.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.