Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1005
Title: | DEVELOPMENT OF A TEACHER PROFESSIONAL DEVELOPMENT MODEL TO ENHANCE THE SCIENCE TEACHING ABILITY USING SCIENTIFIC ARGUMENTATION FOR PRE – SERVICE SCIENCE TEACHERS การพัฒนารูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ |
Authors: | PATCHARAPORN POOLBUN พัชราภร พูลบุญ Theerapong Sangpradit ธีรพงษ์ แสงประดิษฐ์ Srinakharinwirot University. Science Education Center |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ ความสามารถ Science learning management Scientific argumentation Ability |
Issue Date: | 18 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purposes of this research are as follows: (1) to develop a model of professional teacher development to promote science learning management ability and using scientific argumentation of pre-service science teachers; (2) to study their ability to make a science lesson plan using scientific argumentation among pre-service science teachers in the workshop; (3) to study the ability of science learning management using scientific argumentation among pre-service science teachers in the in-depth monitoring phase; and (4) to study the satisfaction of the teacher professional development model to promote the ability of science learning management using scientific argumentation of pre-service science teachers. The participants were 28 Fifth Year pre-service science teachers at the Faculty of Education at Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. There were three levels of scientific argument skills: excellent, good, and fair, used to conduct an in-depth study. The data was collected with six activity plans in the workshop, followed by the developed model, the self-efficacy in science learning management questionnaire, a science learning plan evaluation form, science teaching ability evaluation form, a satisfaction questionnaire and semi-structured interviews. The research methodology used mixed methods. The quantitative data was analyzed using mean, percentage, standard deviation, and a one-sample t-test. The qualitative data was analyzed by content analysis and interpreted the data analysis results. The results indicated that the model to enhance the ability of pre-service science teachers was the BICAER model, which has six steps: (1) basic data analysis; (2) identification; (3) comprehension; (4) argumentation session; (5) evaluation; and (6) reflection; (2) ability to make science learning management plans and the posttest score was higher than the pretest score at a .05 level of statistical significance; (3) ability of science learning management in the in-depth monitoring phase and posttest scores were higher: (1) level of ability to make science learning management plans was 73.44%; and (2) level of ability in science teaching was 79.00%; and (4) the mean score of satisfaction with the model and the program was 3.5 for all items. งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ 2. ศึกษาความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ ในระหว่างการอบรมเชิงปฏิบัติการ 3. ศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ ในระยะการติดตามเชิงลึก และ 4. ศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ชั้นปีที่ 5 จำนวน 28 คน และเลือกนักศึกษาจำนวน 3 คน เพื่อทำการศึกษาเชิงลึก โดยเลือกจากมีระดับทักษะการโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ต่างกัน ใน 3 กลุ่ม คือ ดีมาก ดี และ พอใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ดังนี้ หน่วยกิจกรรม จำนวน 6 หน่วย แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบประเมินความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติการสอน แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed - methods) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for one sample) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และนำผลการวิเคราะห์ตีความข้อมูลร่วมกัน ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบ BICAER model ที่พัฒนาขึ้น มีทั้งหมด 6 ขั้น คือ (1) ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Basic Data Analysis: B) (2) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Identification: I) (3) ขั้นสร้างความรู้ความเข้าใจ (Comprehension: C) (4) ขั้นกิจกรรมการโต้แย้ง (Argumentation session: A) (5) ขั้นการประเมินผล (Evaluation: E) และ (6) ขั้นการสะท้อนผลการพัฒนา (Reflection: R) 2. ระดับความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการสูงกว่าก่อนอบรมที่ระดับ .05 3. ความสามารถในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ในระยะการติดตามเชิงลึกหลังใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนอบรม พิจารณาจาก (1) ระดับความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 73.44 และ (2) ระดับความสามารถในการปฏิบัติการสอน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 79.00 และ 4. ระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบและโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ย 3.5 ขึ้นไปทุกรายการ |
Description: | DOCTOR OF EDUCATION (Ed.D.) การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1005 |
Appears in Collections: | Science Education Center |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs571120040.pdf | 6.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.