Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/831
Title: EFFECTIVENESS OF BEHAVIORAL SCIENCE PROGRAM TO DEVELOPMENT TEACHER, S SPIRITUALITY OF TEACHING STUDENTS
ผลของโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ที่ใช้ในการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู
Authors: PRAPATSORN CHALOTHORN
ประภัสสร ชโลธร
Prateep Jinnge
ประทีป จินงี่
Srinakharinwirot University. BEHAVIORAL SCIENCE RESEARCH INSTITUTE
Keywords: จิตวิญญาณความเป็นครู
โปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์
นักศึกษาวิชาชีพครู
Spirituality in Teacher
Behavioral Science Program
Student teachers
Issue Date:  30
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research aims to study the effectiveness of the Behavioral Science Program for developing spirituality for teachers among teaching students. The research was conducted in two phases. Phase One was a qualitative research to synthesize of the spirit of teachers in the Thai social context with documents and in-depth interviews with lecturers, to understand the socialization of spiritual teachers and to study the conditions of spiritual teachers at the Faculty of Education at Rajabhat University in Northeast Thailand. The content analysis method was used and the data was obtained from in-depth interviews with 16 lecturers, selected by students and colleagues and spiritual teachers. The results found that the meaning of a spiritual teacher in the Thai social context was someone with positive feelings and thoughts, as follows: (1) self-respectful; (2) faithful to the teaching profession; and (3) a realization of the role of teachers; and (4) the work engagement of teachers. The process of socialization among spiritual teachers was divided into three aspects: contents, agents and tactics. The conditions for spiritual teachers were inspiration to teach, attitudes to teaching, and social support. The meanings of spiritual teachers were used to create a measure for their behavior, socialization strategies and conditions used to make activities for spiritual teachers. Phase two was experimental research, a randomized sample was applied to divide the sample into two groups, with ten students randomly assigned to the experimental group and ten students randomly assigned to the control group. The instruments for Phase One data collection was a five-level rating scale, with an overall reliability value of 0.82. The data was analyzed by Statistical Analysis of Covariance (ANCOVA). The results of the study were as follows: students with higher levels of spiritual teacher behavior than students who did not study in the Behavioral Science Program with a statistical significance of .05. This research found that modeling of the socialization of spiritual teachers was the most important. Therefore, agencies involved with teachers and students perceived teachers as behavioral models of the spirit of teachers so both students and teachers can learn about the spirit of teachers.
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ที่ใช้ในการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู ได้ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ โดยการวิจัยระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อสังเคราะห์ความหมายจิตวิญญาณความเป็นครูในบริบทสังคมไทยจากเอกสารจิตวิญญาณความเป็นครูร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกของอาจารย์ครุศาสตร์ เพื่อทำความเข้าใจการถ่ายทอดทางสังคมของครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู และศึกษาเงื่อนไขของการมีจิตวิญญาณความเป็นครูของอาจารย์ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกอาจารย์ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ที่ได้รับคัดเลือกจากนักศึกษาครูและเพื่อนร่วมงานให้เป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู จำนวน 16 คน ผลการศึกษาพบดังนี้ 1) จิตวิญญาณความเป็นครูในบริบทสังคมไทย หมายถึง การที่บุคคลมีความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับจิตใจในทิศทางบวก 4 ประการ คือ (1) การเห็นคุณค่าตนเอง (2) ศรัทธาในวิชาชีพครู (3) ตระหนักในบทบาทของการเป็นครู และ (4) ยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพ 2) การถ่ายทอดทางสังคมของครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครูประกอบด้วย 3 มิติ ได้แก่ มิติเนื้อหา ตัวแทน และกลวิธีการถ่ายทอด 3) เงื่อนไขของการมีจิตวิญญาณความเป็นครูประกอบด้วย 3 เงื่อนไข ได้แก่ แรงบันดาลใจที่อยากจะเป็นครู เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครูและการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งข้อค้นพบดังกล่าวจะนำความหมายจิตวิญญาณความเป็นครูในบริบทสังคมไทยมาสร้างแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครู กลวิธีการถ่ายทอดจากการถ่ายทอดทางสังคมของครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครูและตัวแปรเงื่อนไขการมีจิตวิญญาณความเป็นครูทั้งสามตัวแปรมาใช้ในการวิจัยระยะที่ 2 ที่เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อสร้างโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ที่ใช้ในการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู และศึกษาผลของการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู โดยกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยระยะที่ 2 เป็นนักศึกษาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ที่เข้าร่วมปฐมนิเทศเพื่อเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ จำนวน 20 คน โดยเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ทั้งสุ่มกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม และสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง (Experimental Group) 10 คน และกลุ่มควบคุม (Control Group) 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวัดมาตราประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค ทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance: ANCOVA) ผลการศึกษาพบว่า จิตวิญญาณความเป็นครูของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ผู้วิจัยขอเสนอแนะเนื่องจากงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาจิตวิญญาณความเป็นครูซึ่งพบว่าตัวแบบเป็นกระบวนการถ่ายทอดทางสังคมของครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครูสำคัญที่สุด ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาวิชาชีพครูควรให้ความสำคัญกับครูซึ่งเป็นตัวแบบที่แสดงการมีจิตวิญญาณความเป็นครูเพื่อให้นักศึกษาวิชาชีพครูได้เรียนรู้การมีจิตวิญญาณความเป็นครูจากครูที่เป็นตัวแบบ 
Description: DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/831
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs571120049.pdf6.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.