Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/822
Title: THE DEVELOPMENT OF SUPERVISON MODEL TO ENHANCE TEACHERS COMPETENCY ON EDUCATIONAL QUALITY ASSURANCE
การพัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู
Authors: PIMSUDA IEMSAKUL
พิมพ์สุดา เอี่ยมสกุล
Wilailak Langka
วิไลลักษณ์ ลังกา
Srinakharinwirot University. Faculty of Education
Keywords: รูปแบบการนิเทศการศึกษา
เสริมสร้างสมรรถนะครู
ประกันคุณภาพการศึกษา
Supervisor model
Enhanced teacher competency
Educational quality assurance
Issue Date:  30
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research aims to study the factors of competence in educational quality assurance to develop models for educational supervision, enhance educational quality assurance and study the effectiveness of models for educational supervision. The research tools were interviews with academic experts, assessment of models for educational supervision and a questionnaire on the satisfaction of teachers on models of educational supervision. There were five experts, nine academic experts and 81 teachers who provided information for this research. The results of this research revealed that there were three factors of competence in educational quality assurance: (1) understanding educational quality assurance; (2) the skills and abilities to analyze and implement educational quality development plans, performance reports and individual self-assessment reports; and (3) attitudes towards educational quality assurance. Regarding the models for educational supervision to enhance educational quality assurance, the characteristics and process for educational supervision were as follows: (1) to study problems and needs analysis; (2) functional planning; (3) enhancing process of practices; (4) performance; (5) friendly educational supervision; (6) experience-sharing and knowledge; (7) educational supervision feedback; and (8) elaboration. When comparing understanding, skills and attitudes about the educational quality assurance of teachers before and after implementing models for educational supervision to enhance educational quality assurance with a statistical significance at .01. The satisfaction of teachers towards the models of educational supervision was at a high level, with an average of 4.54.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ แบบประเมินรูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะ แบบประเมินสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และแบบสอบถามความพึงพอใจของครูต่อรูปแบบการนิเทศการศึกษา เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 18 คน และกลุ่มตัวอย่างครูจำนวน 81 คน  ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู ประกอบด้วย 1) ด้านความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องระบบประกันคุณภาพการศึกษา 2) ด้านทักษะ ความสามารถในการวิเคราะห์จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และจัดทำรายงานการประเมินตนเอง และ 3) ด้านเจตคติต่อการประกันคุณภาพการศึกษา  ในส่วนของรูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครูนั้น เน้นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันตามหลักการมีส่วนร่วม มีกระบวนการของรูปแบบ 8 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ(Need analysis) ขั้นที่ 2 การวางแผนการดำเนินงาน (Fictional planning) ขั้นที่ 3 การเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงาน(Enhancing process of practices) ขั้นที่ 4 การปฏิบัติงานตามแผน (Performance)  ขั้นที่ 5 การปฏิบัติการนิเทศแบบกัลยาณมิตร(Friendly supervision) ขั้นที่ 6 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Sharing knowledge and experience) ขั้นที่ 7 การให้ข้อมูลสะท้อนผลการนิเทศ(Feedback) และขั้นที่ 8 การเผยแพร่ขยายผล (Elaboration) สมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านทักษะ และด้านเจตคติ ในการประกันคุณภาพการศึกษาของครู ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครูในทุกด้าน พบว่าหลังการใช้รูปแบบ ครูมีสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษา สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพบว่าความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.54
Description: DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/822
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs571120006.pdf7.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.