Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/821
Title: FOOD LITERACY PROGRAM IN ELDERLY RETIREMENT TEACHERS
โปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านอาหารในครูและบุคลากรทางการศึกษาวัยเกษียณ
Authors: KAESINEE CHONGMONTRI
เกศินี จงมนตรี
Anan Malarat
อนันต์ มาลารัตน์
Srinakharinwirot University. Faculty of Physical Education
Keywords: ความรอบรู้ด้านอาหาร
ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ผู้สูงอายุ
Food Literacy
Retirement teachers
Elderly
Issue Date:  30
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research aimed 1) to study Component, Indicators, Crate Food Literacy Questionnaires were from systematic review and five food experts interview, One hundred and seventy in Elderly retirement teachers sixty years old and older BMI twenty three and up for evaluating Food Literacy Level.  Program guideline synthesis were collected from ten stakeholders by using the purposive sampling; 2) to develop a Food Literacy Program in Elderly retirement teachers by applying  Dee Fink taxonomy of significant learning, Evaluation empowerment and Group process. The effectiveness of the program was tested and first improved. Pilot study with six samples in two groups was tested and second improved;  3) to trial run and the program was evaluated from twenty Elderly retirement teachers sixty years old and older BMI twenty three and up. Analysed by content analysis, analytic induction program, basic statistic. Food and nutrition knowledge Level, Food Behaviours Level were evaluated Pre-Post test. Its was analysed by Nonparametric Statistics, Wilcoxon sign rank test and McNemar test. Evaluate Food Skill Level were analysed by Friedman test, Wilcoxon sign rank test and Kendall Coefficient of Concordance. Biomarkers were analysed by One Way Repeated ANOVA. The research showed that the component of Food Literacy included three components were 1. Food and nutrition knowledge 2. Food Skills included Selection, Planning and management, Preparing, Eating and 3. Food Behaviours. Sixty indicators.  Seventy four items in Food Literacy Questionnaires  divided into ten general information sixty two Food Literacy. The results Food and nutrition knowledge Level were Interaction. Food Skills Level were Foundation and Critical in Food Behaviours Level. This program consisted of four sub-programs which correspond with Food Skills. Five expert checking quality program were passed the criteria. By pilot study and trial running  the program, its was found that it made higher Food Literacy Level in Elderly retirement teachers significantly at a level of 0.05. The Food and nutrition knowledge Level , Food Behaviours Level were Interaction in Pre-test and Critical Level in Post-test. The Food Skills Level were developed between test and Foundation Level to Critical Level in Post-test significantly at a level of 0.05. Body Mass Index , Fat percentage and waist circumference were decreased significantly at a level of 0.05
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ1) ศึกษาองค์ประกอบ ตัวชี้วัด สร้างแบบประเมินความรอบรู้ด้านอาหาร ซึ่งได้มาจากทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร 5 คน ประเมินระดับความรอบรู้ด้านอาหารครูและบุคลากรทางการศึกษาวัยเกษียณ อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีค่าดัชนีมวลกาย 23.0 ขึ้นไป 170 คน  สังเคราะห์แนวทางในการจัดโปรแกรมฯ การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมฯ 10 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง 2) สร้างและพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านอาหารในครูและบุคลากรทางการศึกษาวัยเกษียณ โดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของดีฟิงค์ แนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ และการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม จากนั้นตรวจสอบคุณภาพโปรแกรมฯและปรับปรุงครั้งที่ 1 ทดลองนำร่องโปรแกรมฯ ในกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม จำนวน 6 คน และปรับปรุงครั้งที่ 2 3) ทดลองและประเมินผลการใช้โปรแกรม ในกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษาวัยเกษียณ อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีค่าดัชนีมวลกาย 23.0 ขึ้นไป 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การสรุปอุปนัย การหาค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์สถิติแบบนอนพาราเมตริก (Nonparametric Statistics) วิเคราะห์คะแนนความแตกต่างรายคู่ด้วย Wilcoxon sign rank test และ McNemar test เพื่อประเมินระดับความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ ระดับพฤติกรรมด้านอาหาร ก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์คะแนนเปรียบเทียบความแปรปรวนทางเดียววัดซ้ำ (Friedman test)  ความแตกต่างรายคู่ด้วย Wilcoxon sign rank test  วิเคราะห์ระดับทักษะด้านอาหารจากการเข้าร่วมโปรแกรมฯด้วย  Kendall Coefficient of Concordance  สำหรับตัวบ่งชี้ทางชีวภาพวิเคราะห์ด้วย One Way Repeated ANOVA ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบความรอบรู้ด้านอาหารประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1.ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ 2.ทักษะด้านอาหาร ได้แก่ การเลือกอาหาร การวางแผนและการจัดการ การเตรียมอาหาร การบริโภคอาหาร และ3.พฤติกรรมด้านอาหาร ตัวชี้วัดจำนวน 60 ตัวชี้วัด แบบประเมินความรอบรู้ด้านอาหาร 74 ข้อ  แบ่งออกเป็นข้อมูลทั่วไป 10 ข้อ ความรอบรู้ด้านอาหาร 62 ข้อ ผลการประเมินระดับความรู้ด้านอาหารและโภชนาการอยู่ในระดับปฏิสัมพันธ์ ทักษะด้านอาหารอยู่ในระดับพื้นฐาน และพฤติกรรมด้านอาหารอยู่ในระดับวิจารณญาณ โปรแกรมประกอบด้วย 4 โปรแกรมย่อยซึ่งสอดคล้องกับทักษะด้านอาหาร ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อทดลองนำร่องและทดลองใช้พบว่าสามารถทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาวัยเกษียณมีระดับความรอบรู้ด้านอาหารดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยก่อนการทดลองมีระดับความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ และพฤติกรรมด้านอาหารระดับปฏิสัมพันธ์ หลังการทดลองอยู่ในระดับวิจารณญาณ ระดับทักษะด้านอาหารมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นในระหว่างการทดลอง และหลังการทดลองพัฒนาจากระดับพื้นฐานไปสู่ระดับปฏิสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ดัชนีมวลกาย ร้อยละไขมันในร่างกาย และเส้นรอบเอวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description: DOCTOR OF EDUCATION (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/821
Appears in Collections:Faculty of Physical Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601150051.pdf10.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.