Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/780
Title: | A STUDY OF THE CHYAM IN MON ETHNIC GROUPS การศึกษาจฺยามกลุ่มชาติพันธุ์มอญ |
Authors: | SAKOLPUT KOTTUNTI สกลพัฒน์ โคตรตันติ Manop Wisuttipat มานพ วิสุทธิแพทย์ Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts |
Keywords: | ชาติพันธุ์มอญ จฺยาม จะเข้ ดนตรีมอญ Mon Ethnic Chyam Jakhay Mon music |
Issue Date: | 10 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This study of Chyam and the Mon ethnic group is a qualitative research and studies on the derivation as well as the playing of this musical instrument among ethnic groups. The area of research covered Mon communities in Thailand, in the border region of Thailand, and also in Myanmar. It was found that chyam originated from the “love myth of the prince and the princess”. The Mon worshiped a crocodile in accordance with the legend of honesty and sacrifice. Hence, they created a musical instrument resembling the shape of the crocodile and considered to be their national musical instrument. The earliest historical evidence of chyam among Mon appear in the Chinese chronicles of the Tang Dynasty (1345 BC). The chyam plays an important role in the Mon way of life, Mon culture and society. It also has a relationship with and is connected with the floor zither instrument found in India and Southeast-Asian countries. The results of this research revealed that playing the chyam in Thailand is mainly played on first string (choekake), while the second string (choekto) makes the krathop sound. The use of the special techniques and the metal string (choekluat) were not favorable. The songs used for playing Tayaemon, playing the chyam in Mon communities between the border region of Thailand and Myanmar, also in the Mon state in Myanmar indicated the use of three string in their melodies, including which the techniques of sabat and kayee. The songs in the Mon communities between the border region of Thailand and Myanmar used in cultural performances. The songs in the Mon communities in the Mon state in Myanmar and used in rituals and telling stories. งานวิจัยเรื่องการศึกษาจฺยามกลุ่มชาติพันธุ์มอญเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของจฺยามและศึกษาการบรรเลงจฺยามในกลุ่มชาติพันธุ์มอญ กำหนดพื้นที่วิจัยในชุมชนมอญในประเทศไทย ชุมชนมอญชายแดนไทยเมียนมาและชุมชนมอญในรัฐมอญ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยดุริยางควิทยา ผลการวิจัยพบว่าเครื่องดนตรีจฺยามไม่ปรากฎหลักฐานช่วงเวลาของการสร้างเครื่องดนตรี พบเพียงตำนานความรักของเจ้าชายกับเจ้าหญิงและใช้จระเข้เป็นพาหนะในการไปพบกัน ชาวมอญยกย่องจระเข้ผู้มีความซื่อสัตย์และเสียสละ จึงสร้างเครื่องดนตรีรูปจระเข้และถือเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติของชาวมอญ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงเครื่องดนตรีจฺยามของมอญปรากฏในพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ.1345) จฺยามมีบทบาทสำคัญด้านต่าง ๆ ต่อวิถีชีวิต วัฒนธรรมและสังคมมอญ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับเครื่องดนตรีประเภทดีดวางราบกับพื้นในประเทศอินเดียและกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การศึกษาการบรรเลงจฺยามกลุ่มชาติพันธุ์มอญพบว่า การบรรเลงจฺยามชุมชนมอญในประเทศไทยเป็นเพลงที่ใช้ประกอบการละเล่นทะแยมอญ นิยมบรรเลงด้วยสาย1 เป็นหลักและใช้สายทุ้มเป็นสายกระทบ ไม่นิยมใช้สายลวดและเทคนิคพิเศษ ชุมชนมอญชายแดนไทยเมียนมาและชุมชนมอญในรัฐมอญบรรเลงโดยดำเนินทำนองทั้ง 3 สาย มีการใช้เทคนิคการสะบัดและการขยี้ บทเพลงที่ใช้ในชุมชนมอญชายแดนไทยเมียนมาเป็นเพลงสำหรับประกอบการแสดง ส่วนบทเพลงที่ใช้ในชุมชนมอญในรัฐมอญเป็นเพลงที่ใช้ประกอบพิธีกรรมและบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ |
Description: | DOCTOR OF ARTS (D.A.) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/780 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs581120011.pdf | 10.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.