Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/743
Title: A  STUDY AND ENHANCEMENT OF ASSERTIVENESS BEHAVIOR OF TRANSGENDER ADOLESCENTS THROUGH PSYCHOLOGICAL TRAINING
การศึกษาและการเสริมสร้างการแสดงออกที่เหมาะสมของวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมข้ามเพศโดยการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา  
Authors: SUTEP UPAYAK
สุเทพ อู่พยัคฆ์
Skol Voracharoensri
สกล วรเจริญศรี
Srinakharinwirot University. Faculty of Education
Keywords: การฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา
การแสดงออกที่เหมาะสม
วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมข้ามเพศ
Psychological training
Assertiveness behavior
Transgender adolescents
Issue Date:  18
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract:              The purposes of this research were to study of assertiveness behavior and to compare the presentation of assertiveness behavior among transgender adolescents before and after attending a psychological training program. The target group contained 132 transgender high school students. However, twenty students whose scores ranged below 25% were selected specifically and on a voluntary basis. This research instruments used for this study were as follows: (1) semi-structured and guided interviews, focus group discussions, a check-list using domain analysis and combined multiple aspects; (2) the evaluation of assertiveness behavior among transgender adolescents and provided discrimination between 0.20 and 0.70, with a reliability coefficient of 0.91; and (3)conducted in conjunction with the psychological program. The statistical analysis included mean, standard deviation and a t-test. The results of the study were as follows: (1) the presentation of assertiveness behavior among transgender adolescents can be considered according to the following three aspects: education, social interaction and the general risk behaviors. The first-stage analysis demonstrated of the target group contained 132 participants at the moderate level; and (2) after participation in the psychological training program, the students showed significant improvements in the presentation of assertiveness behavior at a statistical level of 0.05.
              งานวิจัยนี้มีจุดม่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการแสดงออกที่เหมาะสมของวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมข้ามเพศ   2) เปรียบเทียบการแสดงออกที่เหมาะสมของวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมข้ามเพศ ก่อนและหลัง เข้ารับการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาการแสดงออกที่เหมาะสมเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีพฤติกรรมข้ามเพศ จำนวน 132 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีพฤติกรรมข้ามเพศ จำนวน 20 คน โดยเลือกแบบเจาะจงที่มีคะแนนการแสดงออกที่เหมาะสม ตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมาและสมัครใจในการเข้าร่วมการทดลอง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม และแบบตรวจสอบรายการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคการจำแนกชนิดข้อมูล วิธีการวิเคราะห์คำหลัก  2)แบบประเมินการแสดงออกที่เหมาะสมของวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมข้ามเพศ มีอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.20-0.70 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และ  3)  โปรแกรมฝึกอบรมเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการแสดงออกที่เหมาะสมของวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมข้ามเพศ โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การศึกษาเชิงคุณภาพลักษณะการแสดงออกที่เหมาะสม พบว่า การแสดงออกที่เหมาะสมของวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมข้ามเพศมี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียน ด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และด้านการลดพฤติกรรมเสี่ยง โดยนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย 132 คน ที่มีพฤติกรรมข้ามเพศมีการแสดงออกที่เหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง  2) ผลการเปรียบเทียบการแสดงออกที่เหมาะสม  พบว่าหลังเข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรมเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการแสดงออกที่เหมาะสม กลุ่มทดลองมีระดับการแสดงออกที่เหมาะสมเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: MASTER OF EDUCATION (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/743
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs581130004.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.