Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/704
Title: | THESIS TITLE: THE IMPACT OF PHIBUN’S NATIONALIST POLICY:A CASE STUDY OF PHLENG RABAM CHUMNUM PHAO THAI ศึกษาแนวทางการใช้ดนตรีไทยตามนโยบายการสร้างชาติสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม กรณีศึกษา : เพลงระบำชุมนุมเผ่าไทย |
Authors: | PONGTHEP TAMMUANGPAK พงษ์เทพ ตามเมืองปัก Surasak Jamnongsarn สุรศักดิ์ จำนงค์สาร Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts |
Keywords: | นโยบายการสร้างชาติ ระบำชุมนุมเผ่าไทย จอมพล ป. พิบูลสงคราม NATIONALIST POLICY RABAM CHUMNUM PHAO THAI PHIBUN |
Issue Date: | 30 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The thesis examines the use of Thai classical music in the nationalist policy of Phibun through the background of Phleng Rabam Chumnum Phao Thai. This was framed under Thai music analysis and modified orientalism and the data was drawn from various sources. This includes correspondence from 1941 between the then Prime Minister and the Director of the Fine Arts Department regarding the urgency of cultural preservation, national archives, shellac disks, interviews, and focused group discussions. The findings revealed that Thai classical music was used as a political tool to construct modernity in Thailand on par with other colonial countries. Phleng Thai Yai, one of the “ethnic” songs in Phleng Rabam Chumnum Phao Thai, is based on a ngiao tune of the Thai Yai ethnic minority from Northern Thailand. Montri Tramote “revised” the original melody and used it to accompany a prelude performance for the play Anuphap Haeng Kan Siasala (The Might of Altruism) in 1955. This was sanctioned by the government and the play was a response to the nationalist policy of then Prime Minister Phibun Songkhram. This study indicates the cultural force that emerged from the musical imagination of composers to stimulate nationalist sentiments and beliefs. This process is accomplished through appropriating the music of ethnic minorities to benefit the dominating few. ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการใช้ดนตรีไทยตามนโยบายการสร้างชาติของจอมพล ป. พิบูลสงครามผ่านการวิเคราะห์ที่มาของเพลงระบำชุมนุมเผ่าไทย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เพลงไทยและแนวคิดบูรพาคดีศึกษาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ข้อมูลในการศึกษาได้จากเอกสาร เช่น หนังสือราชการจากนายกรัฐมนตรีถึงอธิบดีกรมศิลปากร เรื่องความสำคัญในการบำรุงวัฒนธรรม พ.ศ.2484 จดหมายเหตุ แผ่นครั่ง การสัมภาษณ์ผู้รู้และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discusstion) จากการศึกษาพบว่าดนตรีไทยได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อแสดงออกถึงศักยภาพของดนตรีที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความทันสมัยให้ประเทศมีความเท่าเทียมนานาประเทศได้ ดังกรณีของเพลงไทใหญ่ในเพลงชุดระบำชุมนุมเผ่าไทยมีที่มาจากเพลงเงี้ยวของชาติพันธุ์ไทใหญ่ทางภาคเหนือของประเทศที่อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้นำมาปรับปรุงให้เข้ากับเพลงระบำชุมนุมเผ่าไทยช่วงสำเนียงไทใหญ่ เพื่อ ใช้เป็นการแสดงเบิกโรงในการแสดงละครเรื่องอานุภาพแห่งความแห่งสละ เมื่อปี พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็นละครที่จัดแสดงเพื่อตอบสนองนโยบายการสร้างชาติที่เป็นนโยบายสำคัญตามเจตนารมณ์ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในช่วงนั้น งานวิจัยฉบับนี้ต้องนำเสนอให้เห็นถึงพลังทางวัฒนธรรมดนตรีที่เกิดจากจินตนาการทางดนตรีของผู้ประพันธ์เพลงที่ต้องการส่งสารเพื่อการปลุกใจ หรือสร้างความรักชาติ ตลอดจนความเชื่อต่างๆ ให้กับผู้ฟังผ่านบทเพลงไทยที่ประพันธ์ขึ้นจากบทเพลงของชาติพันธ์ที่ไม่ใช่ประชากรหมู่มากของประเทศเพื่อประโยขน์การเมืองของกลุ่มผู้ปกครอง |
Description: | MASTER OF ARTS (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/704 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs581130250.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.