Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/698
Title: | DEVELOPMENT OF A CREATIVE LEARNING MANAGEMENT MODELTO PROMOTE CREATIVE PRODUCTS FOR STUDENTS IN GRADES FOUR TO SIX การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 |
Authors: | YANYONG NA BANGCHANG ยรรยงค์ ณ บางช้าง Prapansiri Susoarat ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ Srinakharinwirot University. Faculty of Education |
Keywords: | อนาคตภาพ หลักสูตรภาษาอังกฤษ กรุงเทพมหานคร THE SCENARIO ENGLISH PROGRAM JURISDICTION OF BANGKOK METROPOLITAN |
Issue Date: | 18 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purpose of this thesis was to investigate the Scenario of English program School under jurisdiction of Metropolitan and in the next decade (B.E. 2563-2572).The aims were to compare the strengths, weaknesses, opportunities and barriers of English program School under jurisdiction of Metropolitan and successful foreign countries, to study the Scenario of English program School under jurisdiction of Metropolitan and in the next decade (B.E. 2563-2572) and to implement educators' policy recommendations of English program School under jurisdiction of Metropolitan and in the next decade (B.E. 2563-2572).The thesis tools consisted of SWOT analysis, the key areas of which covered Strengths, Weaknesses, Opportunities and Threats, documentary analysis, in-depth interview and EDFR technique with a panel of thirty experts. The collected data were grouped and analyzed by a descriptive method. The research findings were as follows: 1. The focus of this program was on the understanding of morality and ethics in English on the basis of theory and practice and diversity of social life. 2. The program must be up-to-date and in line with the current situation, emphasizing practicality. 3. The program should not be only room learning management, but also should adjust of the school program . 4. Must focus of students English skills : listening, speaking, reading and writing. 5. Should be to improve the quality of students from their age in English communication . 6. Teachers must have an appropriate average of the number of students per room. 7. Media should be standard ,enough numbers, modern diversity and demanding. 8. measurement and evaluation requirements were advanced and acceptable. 9. The program must be to promote and develop students' English ability by equality. 10. The program must be made a good relationship management between schools and communities should provide equal educational opportunities. 11. The school should have enough physical resources and environment to learn and develop students' English ability. 12. The program should help to understand different cultures and to live peacefully in different races, languages and cultures. The results of this thesis will contribute to the development and will help to better communicate with foreigners of English improvement. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค หลักสูตรภาษาอังกฤษของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครกับหลักสูตรภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการ และประเทศที่ประสบความสำเร็จ 2. เพื่อศึกษาภาพอนาคตของหลักสูตรภาษาอังกฤษของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2563-2572) 3.เพื่อสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายของสำนักการศึกษา ในการนำหลักสูตรภาษาอังกฤษของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2563-2572) วิธีการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค SWOT การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และเทคนิค EDFR ผลการวิจัยพบว่า 1. มุ่งเน้นผลิตผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจด้านภาษาอังกฤษทั้งทางด้านทฤษฎี และการปฏิบัติภายใต้รากฐานของคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิตท่ามกลางสังคมที่หลากหลาย 2. ต้องทันสมัย และสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เน้นการนำไปใช้ได้จริง 3. ควรเป็นหลักสูตรที่ไม่เป็นเพียงการเรียนการสอนในห้องเรียนเท่านั้น แต่ต้องเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษในโรงเรียนด้วย 4. ควรปรับการจัดการเรียนรู้จากการเน้นไวยากรณ์มาเป็นเน้นการสื่อสาร โดยเริ่มจากการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ตามลำดับ 5. ควรมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพให้ผู้เรียนตั้งแต่ระดับปฐมวัย โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อการสื่อสาร 6. ครูผู้สอนต้องมีจำนวนเหมาะสมต่อจำนวนห้อง/จำนวนผู้เรียน 7. สื่อการเรียนรู้ควรมีมาตรฐาน มีจำนวนเพียงพอ มีความหลากหลาย ทันสมัย และตอบสนองกับความต้องการ 8. การวัดและประเมินผลที่มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ 9. หลักสูตรภาษาอังกฤษ ต้องสามารถสร้างเสริมและพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนได้อย่างเท่าเทียมกัน 10. ควรเป็นหลักสูตรที่ให้โอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกันอย่างมีคุณภาพ ก่อให้เกิดการความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน 11. โรงเรียนควรมีความพร้อมทางด้านกายภาพ มีทรัพยากรเพียงพอ และมีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาภาษาอังกฤษ 12. ควรก่อให้เกิดความเข้าใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ช่วยให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติบนความหลากหลายทางเชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรม การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ซึ่งอนคตภาพหลักสูตรภาษาอังกฤษของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563-2572) นี้ สามารถเป็นตัวช่วยในการพัฒนาวิชาภาษาอังกฤษของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น และจะส่งผลไปถึงการติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ดีขึ้นให้สมกับได้ชื่อว่ามหานครของแห่งเมืองไทย |
Description: | DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/698 |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs591150010.pdf | 12.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.