Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/672
Title: THE CAUSAL RALATIONSHIP MODEL OF HEALTH EMPOWERMENT AND HEALTH LITERACY ON COMMUNITY HEALTH PROBLEM SOLVING BEHAVIOR BY PARTICIPATION APPROACH AMONG PUBLIC HEALTH STUDENTS.  
รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการเสริมสร้างพลังและความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของนักศึกษาสาธารณสุข
Authors: KAMON ARJDEE
กมล อาจดี
Ungsinun Intarakamhang
อังศินันท์ อินทรกำแหง
Srinakharinwirot University. BEHAVIORAL SCIENCE RESEARCH INSTITUTE
Keywords: รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
การเสริมสร้างพลังทางสุขภาพ
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
การแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน
อย่างมีส่วนร่วม
Causal relationship model
Health empowerment
Health literacy
Community health problem-solving
Participation approach
Issue Date:  18
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purpose of this study was to validate the causal relationship model of community health problem-solving behavior by the participation approach (CHPSB by PA) among students. The sample consisted of 760 undergraduate students and divided into two groups of 380 dental public health students and 380 public health students. Proportion stratified random sampling was used and the data were collected by questionnaires with a Cronbach’s alpha of 0.87-0.97 and analyzed with the SEM technique. The results of the research were as follows: (1) the causal model was in harmony with the empirical data and with acceptable statistics (c2= 333.77, df = 81, RMSEA =.064, CFI = 0.99, SRMR =.038, AGFI = 0.92). The factors which had total effects on CHPSB by PA were social contextual resources (TE = .60), and self-efficacy in community health problem-solving (TE = .22). Health literacy had a direct effect on self-efficacy (DE = .55), and an indirect effect on CHPSB by PA (IE = .13). All of the factors accounted for 48% of the variance of CHPSB by PA; (2) in terms of the results of causal model comparison, there were four differences in the paths influencing CHPSB by PA and no differences in the latent variable means between both groups. Therefore, public health students should be promoted for self-efficacy and increased health literacy behavior.
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทดสอบและเปรียบเทียบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของนักศึกษาสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาปริญญาตรีในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 760 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนมาจากสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน จำนวน 380 คน และสาขาวิชาทันตสาธารณสุข จำนวน 380 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.87 ถึง 0.97 และใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้างเชิงเส้นด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยค่าสถิติที่ยอมรับได้ (X2= 333.77, df = 81, RMSEA =.064, CFI = 0.99, SRMR =.038, AGFI = 0.92) ผลการทดสอบเส้นอิทธิพล พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมสูงสุด ได้แก่ การเสริมสร้างพลังที่เป็นแหล่งทรัพยากรบริบทสังคม(TE = .60) และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน(TE = .22) ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีอิทธิพลทางตรงต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน(DE = 0.55)  และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชนอย่างมีส่วนร่วม(IE = 0.13) โดยปัจจัยทั้งหมดอธิบายความแปรปรวนพฤติกรรมการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชนอย่างมีส่วนร่วมได้ร้อยละ 48 และ 2) ผลการเปรียบเทียบรูปแบบความสัมพันธ์ฯ พบว่า ทั้ง 2 สาขาพบมี 4 เส้นอิทธิพลเชิงสาเหตุที่แตกต่างกัน และมีค่าเฉลี่ยตัวแปรแฝงพฤติกรรมการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชนอย่างมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกัน ดังนั้นแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมฯของนักศึกษาสาธารณสุขควรมีการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง ควบคู่กับความรอบรู้ด้านสุขภาพให้เพิ่มสูงขึ้นด้วย
Description: DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/672
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs571120092.pdf5.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.