Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/646
Title: TRANSFORMATIVE COPING ON LEARNING ADJUSTMENT BEHAVIOR OF UNDERGRADUATE STUDENTS IN COMPUTER SCIENCE: THE CAUSAL RELATIONSHIP MODEL AND EFFECT OF PROGRAM
การเผชิญปัญหาเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อพฤติกรรมการปรับตัวในการเรียนของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์: รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลของโปรแกรม 
Authors: JULAPORN KHAMMUNGKUL
จุฬาพร คำมุงคุล
Ungsinun Intarakamhang
อังศินันท์ อินทรกำแหง
Srinakharinwirot University. BEHAVIORAL SCIENCE RESEARCH INSTITUTE
Keywords: การเผชิญปัญหาเพื่อการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมการปรับตัวในการเรียน
ความหมายในชีวิต
ความหวัง
การเห็นคุณค่าในตนเอง
transformative coping
learning adjustment behavior
meaning-in-life
hope
self-esteem
Issue Date:  15
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This study aims to examine the causal relationship model and to study the effect of the transformative coping program on learning adjustment behavior among computer science students. This research was conducted in two phases. In phase one, a causal model research was used. The samples consisted of 371 first and second year computer science students from five public, autonomous universities in Bangkok. In phase two, experimental research was used. The samples randomly assigned in phase one had a low level of learning adjustment behavior, and divided into two groups; an experimental group of 27 participants, and a control group of 25 participants. Questionnaires were used to collect the data which had a reliability between .85 and .94. In phase one, the results revealed that the causal relationship model fit the empirical data and found that learning adjustment behavior received direct effects by meaning-in-life, hope, self-esteem, and social support at university. Furthermore, learning adjustment behavior was also received indirect effects by creativity, spirituality, and problem-focused strategies, through meaning-in-life, hope, and self-esteem. In phase two, the results revealed that the experimental group had more meaning-in-life, hope, self-esteem, and learning adjustment behavior than the control group after the post-test session, and the experimental group had changes in meaning-in-life, hope, self-esteem, and learning adjustment behavior post-test and 4 weeks of follow-up sessions. The implication of this study points out the crucial advantage factors as a way to allow promotion of coping skills to lead changing and maintenance in terms of positive psychological characteristics and learning adjustment behavior among computer science students.
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลของโปรแกรมเสริมสร้างการเผชิญปัญหาเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อพฤติกรรมการปรับตัวในการเรียนของนักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ โดยการวิจัยระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงสาเหตุ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 1 และ 2 ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 5 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 371 คน และการวิจัยระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจากการวิจัยระยะที่ 1 ที่มีคะแนนพฤติกรรมการปรับตัวในการเรียนต่ำ สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้าในกลุ่มทดลอง จำนวน 27 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 6 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .85 ถึง .94 ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และพบว่า พฤติกรรมการปรับตัวในการเรียนได้รับอิทธิพลทางตรงจากความหมายในชีวิต ความหวัง การเห็นคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้พฤติกรรมการปรับตัวในการเรียนยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากความคิดสร้างสรรค์ จิตวิญญาณ และการเผชิญปัญหาแบบมุ่งที่ปัญหา ผ่านความหมายในชีวิต ความหวัง และการเห็นคุณค่าในตนเอง และผลการวิจัยระยะที่ 2 พบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างการเผชิญปัญหาเพื่อการเปลี่ยนแปลงมีความหมายในชีวิต ความหวัง การเห็นคุณค่าในตนเอง และพฤติกรรมการปรับตัวในการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมในหลังการทดลองทันที และกลุ่มทดลองยังมีความหมายในชีวิต ความหวัง การเห็นคุณค่าในตนเอง และพฤติกรรมการปรับตัวในการเรียนเพิ่มสูงขึ้นในหลังการทดลองทันทีและหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถชี้ให้เห็นตัวแปรสำคัญที่เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้เสริมสร้างทักษะการเผชิญปัญหาเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและความคงทนของคุณลักษณะทางจิตเชิงบวกและพฤติกรรมการปรับตัวในการเรียนของนักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
Description: DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/646
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs551120043.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.