Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/640
Title: | THE EXPRESSION OF CATHEPSIN-L IN ORAL LICHEN PLANUS การแสดงออกของคาเทบซินแอลในรอยโรคไลเคนแพลนัสในช่องปาก |
Authors: | ATHIP KITKHAJORNKIAT อธิป กิจขจรเกียรติ Patrayu Taebunpakul ภัทรายุ แต่บรรพกุล Srinakharinwirot University. Faculty of Dentistry |
Keywords: | ไลเคนแพลนัสในช่องปาก คาเทบซินแอล การเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็ง อิมมูโนฮีสโตเคมี Oral Lichen Planus Cathepsin-L Malignant transformation Immunohistochemistry |
Issue Date: | 18 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | Oral lichen planus (OLP) is a chronic inflammatory disease that affects the mucous membrane of the oral cavity. Also, T-cell mediated autoimmunity is believed to play a role in the pathogenesis of OLP. The controversy of the malignant transformation of OLP still persists. Cathepsin L (Cat-L), a cysteine cathepsin protease, expresses in cancer. It may prove useful as a diagnostic and prognostic marker of human malignancy. Therefore, the aim was to investigate the expression of Cat-L in OLP. The samples were divided into 4 groups including 10 specimens each of OLP, oral squamous cell carcinoma (OSCC), epithelial dysplasia and normal gingiva. The immunohistochemistry technique was used in this study. The evaluation was performed based on number of staining cells and intensity. The data were analyzed with the One-way ANOVA and Chi-square test. The results showed 100%, 90%, 100% and 50% of the Cat- L expression in OLP, epithelial dysplasia, OSCC and normal gingiva, respectively. The average number of staining cells in OLP was significantly higher than in epithelial dysplasia and normal gingiva (p < 0.05). In addition, there was no difference in the number of staining cells between OLP and OSCC (p = 0.301). Cell intensity in OLP was significantly higher than in epithelial dysplasia and normal gingiva (p < 0.05). There was no difference in cell intensity between OLP and OSCC (p = 0.809). The pattern of Cat-L expression in OLP was mainly found near the basement membrane zone. While in OSCC, the Cat-L expression was high in epithelium layer and keratin pearl. In epithelial dysplasia and normal gingiva, Cat-L expressions were presented in scattered pattern in both the epithelium and the connective tissue layer. In conclusion, Cat-L was expressed in OLP. The pattern, number of staining cells and intensity of Cat-L expression among groups were different. These results suggest that Cat-L may be involved in pathogenesis of OLP possible through cell apoptosis induction and basement membrane degradation. ไลเคนแพลนัสในช่องปากเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบแบบเรื้อรังของเยื่อบุผิว พยาธิกำเนิดของโรคนี้เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายชนิดทีเซลล์เป็นสื่อ ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันว่ารอยโรคไลเคนแพลนัสจัดเป็นรอยโรคก่อนมะเร็งหรือไม่ คาเทบซินแอลเป็นเอนไซม์โปรตีเอส ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของซิสเตอีนคาเทบซิน เนื่องจากมีรายงานว่าพบการแสดงออกของคาเทบซินแอลในโรคมะเร็ง ซึ่งพบว่าคาเทบซินแอลอาจนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้ในการวินิจฉัยและการพยากรณ์ของโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ วัตถุประสงค์ในการศึกษานี้เพื่อศึกษาการแสดงออกของคาเทบซินแอลในรอยโรคไลเคนแพลนัสในช่องปาก โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่มได้แก่ รอยโรคไลเคนแพลนัสในช่องปาก รอยโรคอีพิทีเลียลดิสเพลเซีย รอยโรคมะเร็งช่องปากชนิดสความัสเซลล์คาร์ซิโนมา และเนื้อเหงือกปกติ จำนวนกลุ่มละ 10 ตัวอย่าง โดยวิธีทางอิมมูโนฮีสโตเคมี และวัดผลโดยการนับจำนวนเซลล์รวมถึงระดับความเข้มของการติดสีย้อมของคาเทบซินแอล วิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้ One way ANOVA test และ Chi square ผลการทดลองพบว่ามีการแสดงออกของคาเทบซินแอลในรอยโรคไลเคนแพลนัสในช่องปากร้อยละ 100 รอยโรคอีพิทีเลียลดิสเพลเซียร้อยละ 90 รอยโรคมะเร็งในช่องปากชนิดสความัสเซลล์คาร์ซิโนมาร้อยละ 100 และเนื้อเหงือกปกติร้อยละ 50 โดยค่าเฉลี่ยของจำนวนเซลล์ที่มีการแสดงออกในรอยโรคไลเคนแพลนัสในช่องปากมีค่าสูงกว่าในรอยโรคอีพิทีเลียลดิสเพลซียและเนื้อเหงือกปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และไม่แตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับรอยโรคมะเร็งช่องปากชนิดสความัสเซลล์คาร์ซิโนมา (p = 0.301) ความเข้มของการติดสีในรอยโรคไลเคนแพลนัสมีความเข้มมากกว่ารอยโรคอีพิทีเลียลดิสเพลเซียและเนื้อเหงือกปกติ (p < 0.05) แต่ไม่มีความแตกต่างกับรอยโรคมะเร็งช่องปากชนิดสความัสเซลล์คาร์ซิโนมา (p = 0.809) อย่างไรก็ตามรูปแบบการแสดงออกของคาเทบซินแอลในรอยโรคไลเคนแพลนัสในช่องปากมีความหนาแน่นที่บริเวณชั้นเยื่อบุฐาน รอยโรคมะเร็งในช่องปากชนิดสความัสเซลล์คาร์ซิโนมาพบการแสดงออกหนาแน่นในบริเวณเยื่อบุผิวและเคอราตินเพิล ในขณะที่รอยโรคอีพิทีเลียลดิสเพลเซียและเนื้อเหงือกปกติจะพบกระจายทั่วไปในชั้นเยื่อบุผิวและชั้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน จากการศึกษาสรุปได้ว่า พบการแสดงออกของคาเทบซินแอลในรอยโรคไลเคนแพลนัสในช่องปาก และมีความแตกต่างกันของรูปแบบการแสดงออก จำนวนเซลล์ที่ติดสีรวมทั้งความเข้มของการแสดงออกของคาเทบซินแอลในแต่ละกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าคาเทบซินแอลมีบทบาทเกี่ยวข้องกับพยาธิกำเนิดของโรคของไลเคนแพลนัสในช่องปาก โดยมีผลต่อการตายของเซลล์เยื่อบุผิวและการทำลายของชั้นเยื่อบุฐานในรอยโรค |
Description: | MASTER OF SCIENCE (M.Sc.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/640 |
Appears in Collections: | Faculty of Dentistry |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs601110010.pdf | 3.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.