Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/631
Title: A COMPARATIVE STUDY FOR THE EFFICACY AND SAFETY OF ACNE PATCH CONTAINING WITH THE EXTRACTS OF PHYLLANTHUS EMBLICA LEAVES, CENTELLA ASIATICA LEAVES AND ALOE VERA WITH HYDROCOLLOID ACNE PATCH FOR THE TREATMENT OF ACNE
การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของแผ่นปิดสิวอักเสบที่พัฒนาจากสารสกัดหยาบมะขามป้อม ว่านหางจระเข้ และ ใบบัวบก เปรียบเทียบกับแผ่นปิดสิวที่ทำจากสารไฮโดรคอลลอยด์ ในการรักษาสิว
Authors: KULWIPAPAT JATURAPISANUKUL
กุลวิภาภัสร์ จาตุรพิศานุกูล
Montri Udompataikul
มนตรี อุดมเพทายกุล
Srinakharinwirot University. Faculty of Medicine
Keywords: สิว
แผ่นปิดสิวสมุนไพร
แผ่นปิดสิวไฮโดรคอลลอยด์
การรักษาสิวอักเสบ
ACNE VULGARIS
HERBAL ACNE PATCH
HYDROCOLLOID PATCH
INFLAMMATION
TREATMENT
Issue Date:  10
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: Acne vulgaris is one of the most common diseases in the world. It has many sequelae problems in both physical and physiological aspects, including scarring, low self-esteem, depression, and suicide attempts. However, the resistance of C. acne to antibiotic treatment has been growing steadily and is now a global problem. Furthermore, the adverse effects of applying medication has become commonly known as irritant contact dermatitis from using topical treatment. The literature regarding phytochemicals for the treatment of acne vulgaris describe various effects related to the pathophysiology of acne. For instance, the anti-microbial effects of Phyllanthus emblica leaves and anti-inflammatory activities from Centella asiatica leaves, Calendula officinalis and Aloe vera. This is the first study to use such combinations of these extracts contained in water-soluble herbal acne patch (WHAP). This study aims to evaluate the efficiency and safety of a novel water-soluble herbal acne patch (WHAP) compared with the hydrocolloid acne patch (HAP) for mild to moderate inflammatory acne patients. The randomized, assessor-blind controlled, intra-individual split-face study was performed on forty-nine acne patients. The clinical outcomes were evaluated on days two, four, seven, nine and eleven of treatment. The results of the study revealed WHAP showed a statistically significant decrease in the median time to resolve inflammatory acne (WHAP was four days, whereas the opposite side treated with HAP was six days) (P-value < 0.001). Moreover, WHAP significantly decreased the rate of inflammatory diameter, erythema scores (by clinical and colorimetry) and increased the rate of lightness scores (by colorimetry) than HAP (P-value < 0.05). No adverse effects were reported in both groups. It is clear that WHAP showed more effective outcomes on inflammatory acne treatment than HAP. Moreover, it is safe to use as an alternative treatment for acne. A further study should be performed for all severe forms of acne.
สิวเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย ในทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของรูขุมขนและต่อมไขมัน เกิดการสะสมของเชื้อก่อโรคสิว Cutibacterium acnes ร่วมกับมีการอักเสบ จึงทำให้เกิดพยาธิสภาพและผลกระทบต่าง ๆ มากมายต่อผู้ป่วย เช่น ปัญหาทางสภาพร่างกายที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด การอักเสบ ฝีหนอง เกิดรอยแผลเป็น และปัญหาทางสภาพจิตใจ เช่น ขาดความมั่นใจในการเข้าสังคม ปัจจุบันมีการดื้อยามากขึ้น โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ในการรักษาสิว อีกทั้งยังมีผลข้างเคียงจากยา เช่น การระคายเคือง จึงนำไปสู่การพัฒนาทางเลือกในการรักษาสิว เช่น การนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาสิว ปัจจุบันมีรายงานว่าสารสกัดหยาบมะขามป้อม มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ Cutibacterium acnes สารสกัดจากดอกดาวเรือง ว่านหางจระเข้ และใบบัวบก มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาแผ่นปิดสิวที่มีสารสกัดดังกล่าวมาใช้ในการรักษาสิวอักเสบ การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของแผ่นปิดสิวอักเสบที่พัฒนาจากสารสกัดหยาบมะขามป้อม ว่านหางจระเข้ และใบบัวบก เปรียบเทียบกับแผ่นปิดสิวที่ทำจากสารไฮโดรคอลลอยด์ต่อการรักษาสิวอักเสบ ในผู้ป่วยสิวระดับน้อยถึงปานกลาง งานวิจัยนี้เป็นการทดลองแบบสุ่มโดยมีกลุ่มเปรียบเทียบ อำพรางผู้ประเมิน ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบโดยแบ่งครึ่งหน้าในคน ๆ เดียวกัน ผู้วิจัยคัดเลือกอาสาสมัครที่มีความรุนแรงของสิวระดับน้อยถึงปานกลาง จำนวน 49 คน ทำการรักษาและติดตามผลที่ระยะเวลาวันที่ 2, 4, 7, 9, และ 11 ภายหลังสิ้นสุดการศึกษา พบว่า ใบหน้าด้านหนึ่งที่ได้รับแผ่นปิดสิวอักเสบที่พัฒนาจากสารสกัดหยาบมะขามป้อม ว่านหางจระเข้ และใบบัวบก มีค่าเฉลี่ยระยะเวลาติดตามจนเกิดการหายของสิวอักเสบ (Median time to recovery) เท่ากับ 4 วัน ขณะที่กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยแผ่นปิดรักษาสิวที่ทำจากสารไฮโดรคอลลอยด์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6 วัน โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001, Log rank test) อีกทั้ง ภายหลังการติดตามการรักษาใบหน้าด้านที่ได้รับการรักษาด้วยแผ่นปิดสิวอักเสบที่พัฒนาจากสารสกัดหยาบมะขามป้อม ว่านหางจระเข้ และใบบัวบก ที่ระยะเวลา 2, 4, 7, 9, และ 11 วัน พบว่า มีระดับความแดงของผิว (Erythema severity grading) และค่าความแดงของผิวหนังที่ประเมินด้วยเครื่อง Colorimetry ลดลง มีค่าความสว่างของผิวหนังที่ประเมินด้วยเครื่อง Colorimetry เพิ่มขึ้น ซึ่งค่าที่เปลี่ยนแปลงนี้ มีความแตกต่างกับใบหน้าด้านที่ได้รับแผ่นปิดรักษาสิวที่ทำจากสารไฮโดรคอลลอยด์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) โดยในงานวิจัยนี้ ไม่พบผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยแผ่นแปะสิวทั้ง 2 ชนิด ดังนั้นจึงสรุปผลได้ว่า แผ่นปิดสิวอักเสบที่พัฒนาจากสารสกัดหยาบมะขามป้อม ว่านหางจระเข้ และใบบัวบก มีประสิทธิภาพในการรักษาสิวอักเสบได้ดีกว่าแผ่นปิดรักษาสิวที่ทำจากสารไฮโดรคอลลอยด์ อีกทั้งยังมีความปลอดภัยสูง จึงสามารถนำมาเป็นทางเลือกในการรักษาสิวได้ในอนาคต
Description: MASTER OF SCIENCE (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/631
Appears in Collections:Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611110051.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.