Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/431
Title: NEEDS ASSESSMENT OF PERSONAL PARTICIPATION IN THE IMPLEMENTATION OF INTERNAL QUALITY ASSURANCE OF SCHOOLS IN SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE SIX
การประเมินความต้องการจำเป็นในการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6
Authors: WANNISA PIMPORN
วรรณิศา พิมพร
Surachai Meechan
สุรชัย มีชาญ
Srinakharinwirot University. Faculty of Education
Keywords: ความต้องการจำเป็น
การมีส่วนร่วม
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
Needs assessment
Personal participation
Internal quality assurance
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research were as follows: (1) to study the needs assessment of the students regarding  personal  participation in the implementation of internal quality assurance; (2) to analyze the  factors of personal  participation in the implementation of internal quality assurance; and (3) to propose guidelines for creating personal participation in internal quality assurance in schools under the authority of the Secondary Education Service Area Office Six. The implementation  of  the internal quality assurance procedures consisted of three steps, including preparation, procedures and reporting. The research methodology consisted of two steps consisting of (1) survey research by needs assessments. The data analysis was PNImodified; and (2) an  interview was used   to analyze the  needs assessment causes and guidelines for create  personal participation  among of sixteen staff members responsible for internal quality assurance. The results of the research is that   medium-sized schools had the most urgent needs assessment;(2) the reason for this need was personal and lacked the opportunity,the knowledge or the ability  participate; (3) the way to create guidelines to inspire  participation including opportunity, training to create knowledge and an understanding of  the committee according to the aptitudes and abilities of the staff and to created guidelines and methods in accordance with the requirements for quality assurance within schools that are both accurate and clear.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดความต้องการจำเป็นในการมีส่วนร่วมของบุคลากร และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ตามขั้นตอนการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการเตรียมการ ขั้นการดำเนินการ และขั้นการรายงาน ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงสำรวจการประเมินความต้องการจำเป็นในการมีส่วนร่วมของบุคลากร กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 329 คน   ใช้แบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยใช้ค่าดัชนี PNImodified  ระยะที่ 2 การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 16 คน    เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดความต้องการจำเป็นและการหาแนวทางในการสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา  ผลการวิจัย พบว่า 1) โรงเรียนขนาดกลางมีความต้องการจำเป็นเร่งด่วนมากที่สุด 2) สาเหตุที่ทำให้เกิดความต้องการจำเป็น คือบุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดความตระหนัก ขาดการทำงานเป็นทีม สถานศึกษาไม่ได้เปิดให้บุคลากรเข้าไปมีส่วนร่วม ไม่มีการจัดให้มีการนิเทศ กำกับ ติดตามในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา    3) แนวทางในการสร้างการมีส่วนร่วม คือ จัดการอบรมให้ความรู้ จัดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของบุคลากร แต่งตั้งคณะกรรมการตามความถนัดและความสามารถของบุคลากร และ สร้างคู่มือ/สื่อเกี่ยวกับแนวปฏิบัติและวิธีการตามข้อกำหนดในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ถูกต้องและชัดเจน
Description: MASTER OF EDUCATION (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/431
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs571130461.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.