Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/430
Title: CONSTRUCTION OF ONLINE GAME ADDICTION BEHAVIORAMONG UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS IN SCHOOLSIN THE BANGKOK ARCHDIOCESE.
การสร้างแบบวัดพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร
Authors: NITTAYA SINGSA
นิตยา สิงห์สา
Navarin Tagontong
นวรินทร์ ตาก้อนทอง
Srinakharinwirot University. Faculty of Education
Keywords: พฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ โรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร เกณฑ์ปกติ
online game addiction behavior Schools in the Bangkok Archdiocese Norms
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research were to construct and identify quality or measuring tools for online game addiction behavior among upper secondary school students in schools in the Bangkok Archdiocese. The sample groups in the research came from multi-stage random sampling and aspect divided into three groups. The first group of three hundred and seventy-five students analyzed the quality control of the test. The second group of three hundred and seventy-five students was for checking the construct validity of the test. The third group of three hundred and seventy-five students was for the creation of the norms of the test. The created test consisted of situational multiple-choice questions with four choices, aiming to measure online game addiction behavior among upper secondary school students in schools in the Bangkok Archdiocese. The research results found the following: 1) the twenty-one question online game addiction behavior test had an IOC of 0.60-1.00 and an item discrimination of 0.486-0.836 and reliability at 0.852; 2) after checking the construct validity of the test by second-order confirmatory factor analysis, which found that the model of the online game addiction behavior test created by the researcher conformed with the empirical data. ( X2= 188.213, df= 175, p= 0.234, GFI = 0.954, AGFI = 0.940, RMSEA = 0.014, SRMR = 0.409) This means that the twenty-one questions were used to test four aspects of behavior, which were time consumption, desire to play, emotional and behavioral control, and interaction with others, were accurate; and 3) the norms for score interpretation were classified according to a T-score, where students with higher levels of online game addiction had a T-score of 57 or higher.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัด จำนวน 375 คน ส่วนที่ 2 กลุ่มตัวอย่างสำหรับการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัด จำนวน 375 คน และส่วนที่ 3 กลุ่มตัวอย่างสำหรับการสร้างเกณฑ์ปกติ (Norms) ของแบบวัด จำนวน 375 คน แบบวัดที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นข้อคำถามเชิงสถานการณ์ แบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก ที่มุ่งวัดพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ฯ จำนวน 21 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.486-0.836 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.852 2) ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัด จากการตรวจสอบด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (Confirmatory Factor Analysis : The second Order) พบว่า โมเดลแบบวัดพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ฯ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( X2= 188.213, df= 175, p= 0.234, GFI = 0.954, AGFI = 0.940, RMSEA = 0.014, SRMR = 0.409) แสดงว่าข้อคำถาม ทั้ง 21 ข้อ ที่ใช้วัดพฤติกรรมใน 4 ด้าน คือ ด้านการใช้เวลา ด้านความต้องการในการเล่น ด้านการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม และด้านการมีปฎิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง มีความเที่ยงตรง และ 3) เกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายคะแนนในรูปของคะแนนมาตรฐาน T ปกติ ในภาพรวม นักเรียนที่มีพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ในระดับสูง จะมีคะแนน T ปกติ ตั้งแต่ 57 เป็นต้นไป โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร ส่วนมาก (ร้อยละ 47.733) มีคะแนน T ปกติ ระหว่าง T43-T56
Description: MASTER OF EDUCATION (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/430
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs571130455.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.