Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/43
Title: SELECTED FACTORS RELATED TO PROBLEM BEHAVIOR: DISCRIMINANT ANALYSIS BETWEEN JUVENILE DELINQUENCY GROUPS AND LATE ADOLESCENT STUDENTS
ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในวัยรุ่น: การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มระหว่างกลุ่มวัยรุ่นที่กระทำความผิดกับกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นตอนปลาย
Authors: ARUNCHAYA BUNCHOOKITTIYOT
อรัญญ์ชยาต์ บุญชูกิตติยศ
Sittipong Wattananonsakul
สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล
Srinakharinwirot University. Faculty of Humanities
Keywords: บรรทัดฐานกลุ่มเพื่อน, การรับรู้การทำหน้าที่ของครอบครัว, วัยรุ่น, เยาวชนที่กระทำผิด, พฤติกรรมที่เป็นปัญหา
Peer norms
Family function
Adolescents
Juveniles
Problem behavior
Issue Date: 2018
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research attempts to study the selected factors related to the juvenile delinquency groups and to test predictions about the selected factors related to juvenile delinquency by using the theory of problem behavior. The conceptual model was tested with three hundred juvenile delinquent youths and three hundred high school students with a mean age of seventeen years of age. Discriminant analysis indicated that family functions, perceived peer norms, future orientation and poor self-control can differentiate between the juvenile delinquency group from the student group (Wilks’ Lambda= .336, p< .001) and yield a total predictive efficiency of 90.5% The results showed that there were four predictor variables which differentiated between the following groups: family functions (X1), perceived peer norms (X2), future orientation (X3), and poor self-control (X4). The discriminated equation in the raw and standard score forms, which were as follows: The predicted Y = -.737 + .052 (X1) +.057 (X2) -.116 (X3) - .033 (X4) and Z = .654 (X1) + .415 (X2) -.482 (X3) - .393 (X4) respectively. From the variable classification of the characteristic perceptions of family functions (X1), perceived peer norms (X2) were variable in the characteristics of late adolescent students and future orientation (X3), poor self-control (X4) were the variables for the juvenile delinquency group.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในวัยรุ่น และเพื่อสร้างสมการจำแนกประเภทปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหาระหว่างกลุ่มวัยรุ่นที่กระทำความผิด 300 คน กับกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นตอนปลาย 300 คน กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 17 ปี โดยที่ผู้ปกครองอนุญาตให้ตอบแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบประเมินปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ประกอบด้วย การรับรู้การทำหน้าที่ของครอบครัว การรับรู้บรรทัดฐานกลุ่มเพื่อน การมุ่งอนาคต และการควบคุมตนเองที่ไม่ดี การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการจำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis) โดยพิจารณาค่าวิลค์สแลมดา (Wilks' Lambda) เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกตัวแปรเข้าวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่มีอำนาจจำแนกกลุ่มวัยรุ่นที่กระทำความผิดออกจากกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นตอนปลายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Wilks’ Lambda= .336, p< .001) และสามารถจำแนกได้ถูกต้องถึงร้อยละ 90.5 มี 4 ตัวแปร ได้แก่ การรับรู้การทำหน้าที่ของครอบครัว (X1) การรับรู้บรรทัดฐานของกลุ่มเพื่อน (X2) การมุ่งอนาคต (X3) การควบคุมตนเองที่ไม่ดี (X4) ซึ่งสมการจำแนกประเภทที่ได้สามารถคาดคะเนการเป็นสมาชิกกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นตอนปลายได้ถูกต้องร้อยละ 98 กลุ่มวัยรุ่นที่กระทำความผิดได้ถูกต้องร้อยละ 83 และทั้งสองกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 90.5 
Description: MASTER OF EDUCATION (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/43
Appears in Collections:Faculty of Humanities

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591130151.pdf3.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.