Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/360
Title: JAKEA SOLO IN KRAWNAI VERSION KRU SAWANG APAIWONG : A CASE STUDY OF KRU RAWEEWAN THABTHIMSRI 
เดี่ยวจะเข้เพลงกราวใน สามชั้น ทางครูแสวง อภัยวงศ์ กรณีศึกษา ครูระวีวรรณ ทับทิมศรี
Authors: NARISARA PHUNTADAPORN
นริศรา พันธุ์ธาดาพร
Veera Phunsue
วีระ พันธุ์เสือ
Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts
Keywords: เดี่ยวจะเข้
กราวในสามชั้น
ครูแสวง อภัยวงศ์
Jakae solo
Krao Nai Sam Chan
Mr. Sawang Apaiwong
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: A study of Krawnai SamChan for Jakae solo by Mr. Sawang  Apaiwong case study of Ms. Raweewan  Tabtimsri aims to: 1) Study the Krawnai SamChan for Jakae solo by Mr. Sawang  Apaiwong case study of Ms. Raweewan  Tabtimsri. 2) Study the strategies of how to play Krawnai SamChan for Jakae solo by Mr. Sawang  Apaiwong case study of Ms. Raweewan  Tabtimsri. The study began with both investigation of related documents and case study observation. After that Krawnai SamChan for Jakae solo by Mr. Sawang  Apaiwong case study of Ms. Raweewan  Tabtimsri was recorded with Thai solo notation. Moreover, the recorded notation was used to study the elements of   Krawnai SamChan for Jakae solo by Mr. Sawang  Apaiwong , study melody patterns , compare Krawnai SamChan for Gongwongyai with Jakae solo, and study special strategies in playing Jakae. The results of this study were found as follows. First, the elements of Krawnai SamChan for Jakae solo were composed of Tam Nong Ton, Tam Nong Yon, Tam Nong Cheum, Luk Yon, and Tam Nong Chob. Second, scale was found that there were Luk Yon 1 Te scale, Luk Yon 2  Fa scale, Luk Yon 3 Do scale, Luk Yon 4 Fa scale, Luk Yon 5 Te scale, Luk Yon 6 Do scale, Luk Yon 7 Fa scale. Krawnai’s lyrics in Fa scale Tam Nong Cheum Yon 2 Te scale, Tam Nong Cheum Yon 4 Fa scale, Tam Nong Cheum yon 5 Te scale, Tam Nong Cheum Yon 6 Te scale, Tam Nong Kun and Tam Nong Chob Te scale were in the same scale. Third, there were three patterns of melody: making up melody from the downbeats, making up melody from one sound to another sound, respectively. Forth, the comparison of Krawnai SamChan for Gongwongyai and Jakae solo showed relations between downbeats and phrases. In Krawnai’s lyrics, downbeats of phrases in the middle Yon of each Yon had downbeats that were different from Gongwongyai’s melody. Moreover, at the end of each Yon had the same downbeats as Gongwongyai’s melody. Fifth, there were six special strategies in playing Jakae that were used in descending order: three sounds flick strum, three sounds flick strum with Tingnoy strum, strum from one sound to another sound, Tingnoy strum with swipe strum, continuing strum, and crush strum.
การศึกษาเดี่ยวจะเข้เพลงกราวใน สามชั้น ทางครูแสวง อภัยวงศ์ กรณีศึกษาครูระวีวรรณ ทับทิมศรี มีจุดมุ่งหมายในการวิจัย 2 หัวข้อดังนี้ 1) เพื่อศึกษาห์เดี่ยวจะเข้ เพลงเกราวในสามชั้นทาง ครูแสวง อภัยวงศ์ กรณีศึกษา ครูระวีวรรณ ทับทิมศรี 2) เพื่อศึกษากลวิธีเดี่ยวจะเข้ เพลงกราวในสามชั้นทาง ครูแสวง อภัยวงศ์ กรณีศึกษา ครูระวีวรรณ ทับทิมศรีในการวิเคราะห์ได้ศึกษาข้อมูลจากตำราวิชาการ และการสังเกต จากนั้นผู้วิจัยได้ดำเนินการบันทึกโน้ตเป็นโน้ตไทยเพลงเดี่ยวจะเข้เพลงกราวใน สามชั้น ทางครูแสวง อภัยวงศ์ กรณีศึกษาครูระวีวรรณ ทับทิมศรี และนำโน้ตที่บันทึกนี้เป็นข้อมูลในการศึกษา ได้แก่ ศึกษาองค์ประกอบของเพลงเดี่ยวกราวในสามชั้นทางจะเข้ของครูแสวง อภัยวงศ์ ศึกษาเรื่องบันไดเสียง ศึกษารูปแบบทำนอง เปรียบเทียบทำนองฆ้องวงใหญ่กับเดี่ยวจะเข้เพลงกราวใน สามชั้น ศึกษากลวิธีพิเศษในการบรรเลงจะเข้ ผลการศึกษาพบว่า ส่วนที่หนึ่งองค์ประกอบเดี่ยวจะเข้เพลงกราวใน สามชั้น ประกอบด้วยกลุ่มทำนองขึ้นต้น กลุ่มทำนองโยนหรือเรียกว่าลูกโยน กลุ่มทำนองเชื่อมระหว่างโยน และทำนองลงจบ ส่วนที่สองบันไดเสียงพบลูกโยนที่ 1 บันไดเสียง ที ลูกโยนที่ 2 บันไดเสียงฟา ลูกโยนที่ 3 บันไดเสียงโด ลูกโยนที่ 4 บันไดเสียงฟา ลูกโยนที่ 5 บันไดเสียงที ลูกโยนที่ 6 บันไดเสียงโด ลูกโยนที่ 7 บันไดเสียงฟา เนื้อเพลงกราวในบันไดเสียงฟา ทำนองเชื่อมโยนที่ 2 บันไดเสียงที ทำนองเชื่อมโยนที่ 4 บันไดเสียงฟา ทำนองเชื่อมโยนที่ 5 บันไดเสียง ที ทำนองเชื่อมโยนที่ 6 บันไดเสียงที ทำทำนองโยนที่ 7 บันไดเสียงฟา ทำนองขึ้นต้นและทำนองลงจบ บันไดเสียงที เป็นบันไดเสียงเดียวกัน ส่วนที่สามรูปแบบทำนองพบ 3 รูปแบบได้แก่ การประดิษฐ์ทำนองแบบเก็บมากที่สุด การประดิษฐ์ทำนองแบบเน้นจังหวะตกรองลงมา การประดิษฐ์ทำนองแบบลากเสียงจากเสียงหนึ่งไปยังเสียงหนึ่งน้อยที่สุด    ส่วนที่สี่การเปรียบเทียบทำนองทางฆ้องวงใหญ่กับทางเดี่ยวจะเข้เพลงกราวในสามชั้น พบความสัมพันธ์ของลูกตกและวรรคเพลง ในส่วนที่เป็นเนื้อเพลงกราวใน พบว่าเสียงลูกตกของวรรคเพลงในช่วงกลางโยนของแต่ละโยนส่วนมากจะมีลูกตกที่ต่างจากทำนองฆ้องวงใหญ่ ส่วนช่วงท้ายโยนในแต่ละโยนจะมีลูกตกตรงตามทำนองฆ้องวงใหญ่ และส่วนที่ห้ากลวิธีพิเศษในการบรรเลงจะเข้พบ 6 รูปแบบ เรียงลำดับการใช้มากสุดถึงน้อยที่สุด ได้แก่ การดีดสะบัดสามเสียง การดีดสะบัดสามเสียงร่วมกับการดีดทิงนอย การดีดรัวไม้ดีดลากเสียงจากเสียงหนึ่งไปยังอีกเสียงหนึ่ง การดีดทิงนอยร่วมกับการดีดรูดสาย การดีดสายลวดติดต่อกัน การดีดขยี้  
Description: MASTER OF ARTS (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/360
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs571130509.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.