Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/346
Title: GUIDELINES FOR THE MANAGEMENT OF VOLUNTEER SPIRIT OF INTERACT CLUB REGION 3350 IN BANGKOK
แนวทางการบริหารจัดการด้านจิตอาสาสโมสรอินเตอร์แรคท์ ภาค 3350 ในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: CHIDCHANOK CHAROENMONGKONKARN
ชิดชนก เจริญมงคลการ
Gumpanat Boriboon
กัมปนาท บริบูรณ์
Srinakharinwirot University. Faculty of Education
Keywords: เยาวชนจิตอาสา
จิตอาสา
การบริหารจัดการ
สโมสรอินเตอร์แรคท์
youth club
volunteer spirit
Interact
Management
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research were as follows: (1) to study the overall and management problems of Volunteers spirit, an Interact club in Region 3350, Bangkok; (2) to study the management guidelines of Volunteers spirit, including a sample of two hundred and seventy-five participants from eleven schools using Stratified Random sampling. A tool used in data collection included a survey about the problem and management of the club, and confirmation from experts. The statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation.                                                                            The results of the study of the overall and management problems in Volunteers spirit, could be divided into four areas: (1) An organizational management in the material area had the highest mean of 4.52 and S.D. of 0.51 which used communicative technologies. The problem in this area was insufficient budget and a lack of equipment; (2) most volunteer activities were based on environmental conservation had a mean of 4.16 and S.D. of 0.71. On the other hand, the least common volunteer activities were religion and arts and culture, which had a mean of 3.73 and S.D. of 1.02; (3) the coordination of interact club had activities for members and willing to listen to suggestions from relevant parties in order to achieve the objectives, which had a mean of 4.63 and S.D. of 0.56. There were problems with learning exchange between the club and external network groups which had a mean of 4.39 and S.D. of 0.70; (4) the networking of the interact club had a good relationship with external network groups and always publicized their activities for external network groups, with a mean of 4.44 and S.D. of 0.67. There were problems contacting the network groups that participated in the activity after completing the activity with a mean of 4.21 and S.D. of 0.69.                               The results of the confirmation of guidelines for the management of volunteer minds by experts which were appropriate, possible, accurate, and could be utilized as follows; an organizational management had eight models, a volunteer activity had four models and a networking had three models.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการด้านจิตอาสาสโมสรอินเตอร์แรคท์ ภาค 3350 ในเขตกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการด้านจิตอาสาสโมสรอินเตอร์แรคท์ ภาค 3350 ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random sampling)ได้แก่ 11 โรงเรียน มีสมาชิกจำนวน 275 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหาและการจัดการภายในด้านจิตอาสาสโมสรอินเตอร์แรคท์ ภาค 3350 ในเขตกรุงเทพมหานคร และแบบยืนยันแนวทางจากผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ วิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน                        ผลการศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการด้านจิตอาสาสโมสรอินเตอร์แรคท์ ภาค 3350 ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถแบ่งได้ 4 ด้าน โดยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการด้านวัสดุอุปกรณ์สูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.52 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีมาช่วยในการติดต่อสื่อสารกับสมาชิกในองค์กร และ ปัญหาที่พบในด้านนี้คือเรื่องงบประมาณโดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.05 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 เนื่องจากการได้รับความสนับสนุนเงิน สิ่งของที่ใช้ในการจัดกิจกรรมยังไม่มีเท่าที่ควร 2) กิจกรรมที่ดำเนินด้านจิตอาสา คือกิจกรรมจิตอาสาด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีการดำเนินกิจกรรมมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.71 และปัญหาในการจัดกิจกรรมจิตอาสาด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม มีการปฏิบัติน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับด้านอื่นๆ โดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.73 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.02 3) การประสานงาน สโมสรอินเตอร์แรคท์มีการแจ้งข่าวสารการจัดกิจกรรมให้กับสมาชิกภายในองค์กร และยินดีรับฟังคำแนะนำจากผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.56 แต่ยังพบปัญหาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานระหว่างหน่วยงานหรือกลุ่มเครือข่ายภายนอกโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.70 4) การสร้างเครือข่าย คณะกรรมการสโมสรอินเตอร์แรคท์มีความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มเครือข่ายภายนอก และมีการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมให้เครือข่ายภายนอกทราบเสมอ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.67 แต่ปัญหาที่พบคือ การติดต่อกับกลุ่มเครือข่ายที่เข้าร่วมในกิจกรรมภายหลังจากจบกิจกรรม โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69                                                                                                                  จากเครื่องมือที่ 1 จึงได้แนวทางที่ผ่านการพิจารณายืนยันจากผู้ทรงคุณวุฒิว่ามีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ มีความถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการภายในองค์กร 8 แนวทาง ด้านกิจกรรมที่ดำเนินการในด้านจิตอาสา 3 แนวทาง ด้านการประสานงาน 4 แนวทาง และด้านการสร้างเครือข่าย 3 แนวทาง
Description: MASTER OF EDUCATION (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/346
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs571130096.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.