Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3326
Title: | INFLUENCE OF pH ON THE SOLUBILITY OF CALCIUM SILICATE-BASED CEMENTS อิทธิพลของค่าความเป็นกรด-ด่าง ต่อการละลายของแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ |
Authors: | CHAYANEE PHOLCHAROEN ชญานี ผลเจริญ Kunlanun Dumrongvute กุลนันทน์ ดำรงวุฒิ Srinakharinwirot University Kunlanun Dumrongvute กุลนันทน์ ดำรงวุฒิ kunlanun@swu.ac.th kunlanun@swu.ac.th |
Keywords: | การละลายตัว ค่าพีเอช แคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ ไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ เรโทรเอ็มทีเอ Solubility pH Calcium silicate cement White ProRoot MTA RetroMTA |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | Objective: This study aimed to compare the solubility of White ProRoot MTA and RetroMTA in acidic, neutral, and alkaline environments at 24 hours and for seven days. Materials and Methods: Each of White ProRoot MTA and RetroMTA were mixed according to manufacturer's instructions, put into the mold, kept in an incubator at 37°C for 24 hours, and weighed to determine the initial mass. Then, each material was divided into three groups. Each group was immersed in simulated body fluid (SBF) with pH 5, 7.4, and 9.5, and being divided into 2 subgroups, each of which stayed immersed for 24 hours and seven days. After being immersed for a specified period, each sample was placed into a desiccator for 24 hours, weighed to determine the final mass and calculated the percentage of initial mass loss, and observed on its surface by a scanning electron microscope (SEM). A one-way ANOVA test and Post Hoc Tukey test were performed for analysis of the pH influence on the calcium silicate cement solubility. The independent T-test was performed for analysis of time influence on the calcium silicate cement solubility at different pH levels. The significance level was set at P วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบการละลายตัวของไวท์โปรรูทเอ็มทีเอและเรโทรเอ็มทีเอในสภาวะกรด กลาง และด่าง ที่ระยะเวลา 24 ชั่วโมง และ 7 วัน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ไวท์โปรรูทเอ็มทีเอและเรโทรเอ็มทีเอผสมตามอัตราส่วนที่บริษัทกำหนดและนำวัสดุใส่ลงแม่พิมพ์ เก็บที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วนำไปชั่งน้ำหนักบันทึกเป็นมวลเริ่มต้น จากนั้นแบ่งวัสดุทั้งสองชนิดออกเป็นสามกลุ่มโดยนำไปแช่ในสารละลายจำลองสภาวะของเหลวในร่างกายที่มีค่าพีเอช 5, 7.4 และ 9.5 โดยแต่ละกลุ่มจะถูกแช่ในสารละลายสองช่วงระยะเวลาที่ 24 ชั่วโมง และ 7 วัน เมื่อครบเวลาที่กำหนดนำไปดูดความชื้นเป็นเวลา 24 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้องแล้วนำไปชั่งน้ำหนักบันทึกเป็นมวลสุดท้าย คำนวณค่าเป็นร้อยละของมวลที่ลดลง และประเมินพื้นผิวของวัสดุด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด วิเคราะห์อิทธิพลของค่าพีเอชต่อการละลายตัวของแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติทูกีย์ วิเคราะห์อิทธิพลของระยะเวลาต่อการละลายตัวของแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ในแต่ละค่าพีเอชด้วยการทดสอบที ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา: วัสดุทั้งสองชนิดมีค่าเฉลี่ยร้อยละการละลายตัวที่ 24 ชั่วโมงมากกว่า 7 วัน และมีค่าเฉลี่ยร้อยละการละลายตัวที่สภาวะกรดค่าพีเอช 5 มากกว่าสภาวะกลางค่าพีเอช 7.4 กับ สภาวะด่างค่าพีเอช 9.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยไวท์โปรรูทเอ็มทีเอมีค่าเฉลี่ยร้อยละการละลายตัวมากกว่าเรโทรเอ็มทีเออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกสภาวะที่ 24 ชั่วโมงและในสภาวะกรดค่าพีเอช 5 ที่ 7 วัน สรุป: เมื่อระยะเวลาการแช่ในสารละลายมากขึ้นพบว่าการละลายตัวของแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์มีค่าลดลง และความเป็นกรดสามารถเพิ่มการละลายตัวของแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ โดยไวท์โปรรูทเอ็มทีเอมีการละลายตัวมากกว่าเรโทรเอ็มทีเอในทุกสภาวะที่ 24 ชั่วโมงและในสภาวะกรดที่ 7 วัน |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3326 |
Appears in Collections: | Faculty of Dentistry |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs641110143.pdf | 4.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.