Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3240
Title: THE  MODIFIED NORTHERN THAI CLASSICAL DANCE AND EXERCISE WITH ELASTIC BANDS FOR LOW BACK PAIN ELDERLY
การประยุกต์การแสดงนาฏศิลป์ภาคเหนือร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดในผู้สูงอายุที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง
Authors: KOTCHAKORN CHOOWIWATRATTANAKUL
กชกร ชูวิวัฒน์รัตนกุล
Piyawadee Makpa
ปิยวดี มากพา
Srinakharinwirot University
Piyawadee Makpa
ปิยวดี มากพา
piyawadee@swu.ac.th
piyawadee@swu.ac.th
Keywords: การแสดงนาฏศิลป์ภาคเหนือ
ผู้สูงอายุ
ปวดหลังส่วนล่าง
การออกกำลังกาย
Northern Thai Classical Dance Performance
Elderly
Low Back Pain
Exercise
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This thesis has the following objectives: (1) to modify Northern Thai Classical dance performance for lower back pain among the elderly using elastic bands, to study the before and after results. The sampling group were selected by purposive sampling among the elderly people living in Ban Thamprakorn Chiangmai Social Welfare Development Center for Older Persons, aged 60 years and have chronic lower back pain among a total of 25 elders. The methodology tools included questionnaires created by experts on Northern Thai Classical Dance and Physiotherapy and Modified Oswestry Low Back Pain Disability Questionnaires: MODI, Sit-and-Reach Test and Leg-Back Dynamometer questionnaires. The findings were that the Modified Northern Thai Classical dance performance took eight weeks, with three exercise days each week, Monday, Wednesday and Friday, with 24 sessions at 30 minutes per session. There is a five-minute warm-up, divided into three activities, for five minutes of six dance postures: SiewChan, Marnmui, Jeebsoong, Burkban, Tangmeue and Jeeblai during exercises by elastic bands of 20 minutes as the 12 dance postures of BitLumtau, TangwongJeebSa-el, JeebKaow, TeeLai, Pee-Seaue, Tangwongsoong, DeungJebbmeuediaw, Roimalai, KomtuowKebFai,  Yaekmeue, DuengJeeb, SodsoongJeeblang, and then, during the muscle relaxing phase of five minutes would be the same dance postures as in the warm-up, while sitting on chair to exercise with Northern Thai Folk songs and finding found that before the activities, they had weakness in the back of the hips and back leg muscles (0.90%), the strength of leg muscles (32.36%), the strength of back muscles (33.68%) by lower back pain at the middle level (38.10%) and after finishing the activities, they had weakness in the back of the hips and back leg muscles increased by 7.38%, the strength of leg muscles increased by 47.52%, the strength of back muscles increased as 46.84% by lower back pain was reduced by 30.66%, there was a significant difference in the statistical P-value
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์การแสดงนาฏศิลป์ภาคเหนือร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดในผู้สูงอายุที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง และเพื่อศึกษาผลก่อนและหลังใช้การแสดงนาฏศิลป์ภาคเหนือร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดในผู้สูงอายุที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง โดยกลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในศูนย์พัฒนาการสวัสดิการผู้สูงอายุบ้านธรรมปกรณ์ จังหวัดเชียงใหม่ อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ภาคเหนือ และด้านกายภาพบำบัด แบบประเมินอาการปวดหลังของออสเวสทรี (Modified Oswestry Low Back Pain Disability Questionnaire: MODI)   แบบประเมิน Sit And Reach Test   แบบประเมิน Leg-back dynamometer ผลการวิจัยพบว่า การประยุกต์การแสดงนาฏศิลป์ภาคเหนือร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดในผู้สูงอายุที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง ใช้เวลาทั้งหมด 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3  ได้แก่ วันจันทร์ พุธ ศุกร์ รวมทั้งหมด 24 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงอบอุ่นร่างกาย 5 นาที จำนวน 6 ท่า ได้แก่ ท่าเสี้ยวจันทร์ ท่าม่านมุย ท่าจีบสูง ท่าเบิกบาน ท่าแทงมือ ท่าจีบไหล่  ช่วงออกกำลังกายด้วยยางยืด 20 นาที จำนวน 12 ท่า ได้แก่ ท่าบิดลำตัว ท่าตั้งวงจีบสะเอว ท่าจีบเข่า ท่าตีไหล่ ท่าผีเสื้อ ท่าตั้งวงสูง ท่าดึงจีบมือเดียว ท่าร้อยมาลัย ท่าก้มตัวเก็บฝ้าย ท่าแยกมือ ท่าดึงจีบ ท่าสอดสูงจีบหลัง และช่วงผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 5 นาที ซึ่งเป็นท่าเดียวกับในช่วงอบอุ่นร่างกาย โดยให้นั่งเก้าอี้  ประกอบเพลงพื้นเมืองภาคเหนือ และผลการศึกษา พบว่า ก่อนทำกิจกรรม ผู้สูงอายุมีความอ่อนตัวของหลัง สะโพก และกล้ามเนื้อขาด้านหลัง ร้อยละ 0.90  ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ร้อยละ 32.36 ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง 33.68 อาการปวดหลังส่วนล่างอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 38.10 และหลังทำกิจกรรม ผู้สูงอายุ มีความอ่อนตัวของหลัง สะโพก กล้ามเนื้อขาด้านหลัง เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ7.38  ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ  47.52 ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังเพิ่มขึ้นเป็น 46.84  อาการปวดหลังส่วนล่างลดลงเป็นร้อยละ 30.66 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3240
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130211.pdf7.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.