Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3239
Title: | GRAPHIC MEDIA MANAGEMENT PROCEDURESAT CULTURAL ATTRACTIONS: RESEARCH ON A CULTURAL WORLD HERITAGE SITEPHRA NAKHON SI AYUTTHAYA HISTORICAL PARK กระบวนการจัดการสื่อกราฟิกแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา แหล่งมรดกโลก |
Authors: | NATTAWADEE SRIKACHA ณัฐวดี ศรีคชา Chakapong Phatlakfa จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า Srinakharinwirot University Chakapong Phatlakfa จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า chakapon@swu.ac.th chakapon@swu.ac.th |
Keywords: | การจัดการ สื่อกราฟิกป้าย อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มรดกโลก การออกแบบป้ายสัญลักษณ์ การจัดการพื้นที่มรดกโลก Management Graphic Media Signage Phra Nakhon Si Ayutthaya Historical Park World Heritage Site Signage Design |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This study was conducted using qualitative research methods and had two main objectives: (1) to examine graphic media management procedures at the cultural attractions in Phra Nakhon Si Ayutthaya Historical Park; and (2) to propose guidelines for improving graphic media at this World Heritage Site. This study specifically targets the authorities of Ayutthaya Historical Park, who are responsible for graphic media management in terms of strategic planning or policy-related matters concerning the graphic media management. This study involves academic and professional graphic designers with at least 15 years of experience in the field. The research employs a purposive sampling method and data collection. The data was gathered through interviews with participants. The data collection tool used a semi-structured questionnaire. The research found the process of managing graphic media and signage in Phra Nakhon Si Ayutthaya Historical Park showed misinterpretations of signage symbols and contents. Media management was in unexpected situations, affecting the graphic media design process to address immediate issues. Information signage changes became inaccurate due to new discoveries, and inconsistent vocabulary usage across signage. This resulted in inappropriate behavior or violations of rules, prohibitions, and warning signs. Another factor was the diverse cultural backgrounds of tourists, leading to misinterpretation and non-compliance. The lack of systematic evaluation and feedback on graphic media signage caused ongoing issues. To address these problems, a complete implementation cycle should be carried out. The research findings showed that some graphic signage failed to communicate and some prohibition symbols were not recognized. Image orientations were not carefully chosen, as the fonts did not effectively convey prohibitions. Letter spacing was often condensed, making text difficult to read. English texts in all capital letters and long sentences increased reading time. The following improvements were use of universal prohibition symbols, selection of clear image orientations, and strong typefaces that communicate ‘prohibited’, mixed case, and content limited to 2-3 lines for clear, accurate communication. The management of graphic signage aims to address these issues through graphic media, ensuring appropriate conduct during visits to Ayutthaya Historical Park. This effort improves visitor convenience, safety, and the conservation of historical park sites. การวิจัยเรื่องการจัดการสื่อกราฟิก แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มรดกโลก เป็นการศึกษาตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมี 2 วัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการสื่อกราฟิก ในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา แหล่งมรดกโลก 2) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาสื่อกราฟิก และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา แหล่งมรดกโลก กลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ที่ 1 คือ ผู้บริหารหรือตัวแทนผู้รับผิดชอบในการจัดการสื่อกราฟิกในพื้นที่และมีอำนาจสูงสุดต่อการวางแผนแม่บทหรือเกี่ยวข้องกับนโยบายการจัดการสื่อกราฟิกป้ายอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ที่ 2 คือ นักวิขาการทางการออกแบบกราฟิก และนักวิชาชีพทางการออกแบบกราฟิกที่มีความรู้และประสบการณ์ทางการออกแบบกราฟิกไม่น้อยกว่า 15 ปี โดยดำเนินการศึกษาค้นคว้าและเก็บรวบรวมข้อมูล จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่า กระบวนการดำเนินการจัดการสื่อกราฟิก ป้ายในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พบประเด็นปัญหาในการสื่อสาร ความเข้าใจภาพสัญลักษณ์ และเนื้อหาข้อมูลป้าย มีการจัดการสื่อในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน ส่งผลต่อการจัดการสื่อกราฟิก ป้ายที่จำเป็นต้องดำเนินการออกแบบสื่อกราฟิก ตามสถานการณ์โดยมิได้วางแผนล่วงหน้า เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สื่อกราฟิกป้ายมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล หรือคลาดเคลื่อน จากการค้นพบใหม่ และการเลือกใช้คำศัพท์ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันในป้าย ทำให้การรับรู้ของนักท่องเที่ยวเกิดความคลาดเคลื่อน ส่งผลให้พฤติกรรมการแสดงออกไม่เหมาะสม หรือฝ่าฝืนป้ายข้อปฏิบัติ ข้อห้าม และป้ายเตือนในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และสาเหตุอีกประการหนึ่งคือ พื้นฐานประสบการณ์และวัฒนธรรมเดิมที่แตกต่างกันของนักท่องเที่ยวทำให้การรับรู้คลาดเคลื่อนและไม่ปฏิบัติตามป้ายต่าง ๆ การไม่ได้ดำเนินการประเมินผล และสะท้อนผลสื่อกราฟิกป้ายอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน อาจส่งผลให้เกิดปัญหา เพื่อการแก้ไขปัญหาและพบแนวทางในการดำเนินการแก้ไข ควรดำเนินการให้ครบวงรอบ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 2 จากป้ายข้อควรปฏิบัติ ข้อห้าม ของอุทยาน พบว่าสื่อกราฟิกป้าย ไม่สื่อสาร หรือสื่อสารยาก สัญลักษณ์ห้ามบางส่วนไม่เป็นสากล และมีขนาดเล็ก ไม่เลือกทิศทางของภาพ ตัวอักษรที่เลือกใช้ไม่ให้ความรู้สึกห้าม ช่องว่างระหว่างตัวอักษรค่อนข้างเบียด อ่านยาก ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ เนื้อหาเป็นประโยคยาว ส่งผลให้ใช้เวลาในการอ่าน จากการวิเคราะห์ผลผู้วิจัยเสนอแนวทางในการพัฒนาสื่อ คือ สัญลักษณ์ห้ามสากล เลือกทิศทางภาพให้เป็นสากลชัดเจน ตัวอักษรที่แข็งแกร่งสื่อสาร “ห้าม” ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมตัวใหญ่เล็กและเนื้อหาใช้เป็น 2-3 บรรทัด เพื่อการอ่านและสื่อสารได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน ไม่คลาดเคลื่อน การดำเนินการจัดการสื่อกราฟิกป้าย เป็นการแก้ปัญหา การสื่อสารข้อมูลที่สำคัญให้แก่นักท่องเที่ยวผ่านสื่อกราฟิก ป้าย เพื่อประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสมในการเข้าชมโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มรดกโลก สื่อกราฟิกป้ายช่วยอำนวยความสะดวก ความปลอดภัยในการเยี่ยมชม และเป็นการร่วมมือกันอนุรักษ์โบราณสถาน คงอยู่สืบไป |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3239 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs621150053.pdf | 10.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.