Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3106
Title: EFFICACY OF STRUCTURED EXTENSIVE LISTENING ON LOW-PROFICIENCY THAI LEARNERS OF ENGLISH
ประสิทธิผลของการฟังอย่างกว้างขวางแบบมีโครงสร้างที่มีต่อผู้เรียนภาษาอังกฤษระดับเบื้องต้น
Authors: CHONLATHORN JANTASODE
ชลธร จันทะโสต
Sugunya Ruangjaroon
สุกัญญา เรืองจรูญ
Srinakharinwirot University
Sugunya Ruangjaroon
สุกัญญา เรืองจรูญ
sugunya@swu.ac.th
sugunya@swu.ac.th
Keywords: การฟังแบบกว้างขวางที่มีโครงสร้าง
พอดแคสต์สำหรับการเรียนภาษา
การฟังที่เน้นความหมาย
แบบฝึกฟังแบบเติมคำ
บันทึกการฟัง
ทัศนคติของผู้เรียน
ความเข้าใจในการฟัง
structured Extensive Listening
ESL podcast
meaning-based listening
listening cloze
listening log
students’ perceptions
listening comprehension
Issue Date:  17
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: Although Extensive Listening (EL) research is growing, it lacks a structured framework for learners with low proficiency, who often struggle with self-regulated learning. This study introduces a structured EL program designed for such learners, addressing three main questions: 1) the effectiveness of the program, 2) the relationship between listening hours and test scores, and 3) participants' perceptions of the program. An embedded experimental design involved 66 Thai university students, divided into an experimental group (33 participants) receiving the structured EL program and a comparison group (33 participants) completing textbook-based listening exercises. The participants were purposively selected with voluntary participation. Data collection tools included a screening test, pre- and post-listening comprehension tests, listening logs, and focus group interviews. T-tests revealed significant improvement in listening comprehension for the experimental group (p = 0.00), with a moderate effect size. Pearson’s correlation showed a strong positive relationship (r = 0.79) between listening hours and test scores. Thematic analysis of focus group transcripts identified key themes, including motivation, emotional factors (positive and negative), and self-directed learning compared to classroom-based activities. The findings suggest that the structured EL program can be effectively implemented in higher education institutions where listening skills are often overlooked.
แม้ว่าจะมีงานวิจัยเกี่ยวกับการฟังอย่างกว้างขวาง (Extensive Listening: EL) เพิ่มมากขึ้น แต่การฟังอย่างกว้างขวางยังขาดโครงสร้างที่สามารถช่วยผู้เรียนที่มีทักษะภาษาอังกฤษในระดับเบื้องต้น ผู้เรียนกลุ่มนี้มักเผชิญปัญหาในการเรียนรู้ด้วยตนเอง งานวิจัยนี้จึงออกแบบเพื่อช่วยเหลือประเด็นดังกล่าว โดยการนำเสนอโปรแกรมการฟังอย่างกว้างขวางแบบมีโครงสร้าง (Structured Extensive Listening) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อผู้เรียนกลุ่มดังกล่าว ผู้วิจัยนี้ต้องการตอบประเด็นหลัก 3 ประเด็น คือ 1) ประสิทฺธิผลของโปรแกรมการฟังอย่างกว้างขวางแบบมีโครงสร้าง 2) ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนชั่วโมงการฟังกับคะแนนสอบความเข้าใจในการฟัง และ 3) มุมมองของผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่มีต่อโปรแกรม งานวิจัยนี้ใช้วิธีแบบผสมผสานเชิงปริมาณและคุณภาพ ประกอบด้วยผู้เข้าร่วมวิจัย 66 คนจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 33 คน ซึ่งได้รับฝึกจากโปรแกรมการฟังอย่างกว้างขวางแบบมีโครงสร้างและกลุ่มเปรียบเทียบ 33 คนที่เข้าร่วมกิจกรรมการฟังตามแบบฝึกหัดจากหนังสือในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างนี้คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผ่านการคัดเลือกแบบสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบคัดกรอง แบบทดสอบความเข้าใจในการฟังก่อนและหลังการทดลอง บันทึกการฟัง และการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย การทดสอบ t-test ถูกใช้เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มและประเมินการพัฒนาก่อนและหลังการทดสอบในกลุ่มทดลอง ค่า Cohen’s d ถูกคำนวณเพื่อวัดขนาดอิทธิพลและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเพียร์สันใช้เพื่อวัดความสัมพันธ์ระหว่างชั่วโมงการฟังกับคะแนนหลังการสอบ  ผู้วิจัยวิเคราะห์ผลจากการสัมภาษณ์กลุ่มย่อยจัดประเภทเป็นหัวข้อหลัก ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้การทดสอบ t-test แสดงให้เห็นว่ากลุ่มทดลองมีพัฒนาการด้านความเข้าใจในการฟังที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.00) โดยมีค่าขนาดอิทธิพลปานกลาง ผลการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันพบว่ามีความสัมพันธ์ในเชิงบวก (r = 0.79) ระหว่างชั่วโมงการฟังกับคะแนนทดสอบการฟัง ในส่วนของการวิเคราะห์เชิงคุณภาพจากผลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ได้ถูกจัดแบ่งเป็นหัวข้อหลัก ได้แก่ ด้านแรงจูงใจ ด้านอารมณ์เชิงบวกหรือเชิงลบที่ส่งผลต่อทักษะการฟัง ด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง เมื่อเทียบกับการเรียนทักษะการฟังในชั้นเรียน โปรแกรมการฟังอย่างกว้างขวางแบบมีโครงสร้างสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในสถาบันระดับอุดมศึกษาซึ่งทักษะการฟังเป็นทักษะที่ถูกมองข้ามเสมอ
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3106
Appears in Collections:Faculty of Humanities

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621150034.pdf4.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.