Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3101
Title: | PROMOTING CRITICAL THINKING IN LATE CHILDHOOD HOME SCHOOL THROUGH MANGA MAKING ACTIVITIES การส่งเสริมความคิดอย่างมีวิจารณญาณของวัยเด็กตอนปลายในโรงเรียนโฮมสคูลผ่านกิจกรรมการทํามังงะ |
Authors: | ONNALIN IMCHAI อรนลิน อิ่มใจ Chanya Leesattrupai ชัญญา ลี้ศัตรูพ่าย Srinakharinwirot University Chanya Leesattrupai ชัญญา ลี้ศัตรูพ่าย chanya@swu.ac.th chanya@swu.ac.th |
Keywords: | การคิดอย่างมีวิจารณญาณ มังงะ นักเรียนโฮมสคูล วัยเด็กตอนปลาย critical thinking manga homeschool students late childhood |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The research in this study utilized manga making activities to develop critical thinking skills among late childhood homeschool students, using the Cornell critical thinking test level X as a metric. The study involved 30 students divided into experimental and control groups, with 10 activities conducted, each lasting two hours. Each activity aimed to enhance critical thinking skills through manga making activities. After the literature review, the researcher refined the program with input from three qualified reviewers: two developmental psychologists and one scriptwriting expert, achieving a tool quality index of 0.97 post-adjustment based on their recommendations. The revised program was then tested in a tryout with a sample group, following the manga making activities program, as specified. The results showed that each student successfully completed one manga and participants demonstrated improved critical thinking scores post-program. The findings indicated significant statistical improvements in critical thinking abilities among the experimental group compared to the control group (Mann-Whitney U-test, p < .001). Additionally, within the experimental group, significant improvements were found in critical thinking abilities before and after participation (Wilcoxon Signed Rank test, p < .05). Thus, this research highlights the efficacy of using manga making activities to enhance critical thinking skills among late childhood homeschool students. งานวิจัยในครั้งนี้ใช้กิจกรรมการทำมังงะ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในวัยเด็กตอนปลายกลุ่มโฮมสคูล โดยพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามองค์ประกอบของเอนนิสที่ให้ไว้แบบวัด Cornell critical thinking test level X ในนักเรียนโฮมสคูลในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 30 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ซึ่งจะมีการทดลองทั้งหมด 10 กิจกรรม โดยแต่ละกิจกรรมใช้เวลาครั้งละ 2 ชั่วโมง และกิจกรรมที่ใช้ในการทดลองจะพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยเมื่อจบกิจกรรมการทำมังงะ นักเรียนที่เข้าร่วมการทดลองจะมีการ์ตูนมังงะเป็นของตนเองคนละ 1 เรื่อง หลังจากการทบทวนวรรณกรรม ผู้วิจัยได้มีการนำโปรแกรมส่งผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทั้งหมด 3 ท่าน แบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการ ทั้งหมด 2 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเขียนบทละคร อีก 1 ท่าน โดยหลังจากตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือพบว่ามีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.97 หลังจากปรับปรุงโปรแกรมตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะมา ผู้วิจัยได้มีการทำโปรแกรมไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง (Tryout) โดยดำเนินการทดลองตามโปรแกรมกิจกรรมการทำมังงะ หลังจากการทดลองใช้โปรแกรมพบว่า นักเรียนสามารถทำการ์ตูนมังงะได้คนละ 1 เรื่องตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ทั้งวัตถุประสงค์ กระบวนการ ระยะเวลาและผู้เข้าร่วมการทดลองมีผลคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่สูงขึ้นหลังเข้าร่วมโปรแกรม ซึ่งงานวิจัยนี้จะช่วยทำให้ได้รูปแบบสื่อใหม่ๆ ในการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณให้กับกลุ่มวัยเด็กตอนปลายผ่านกระบวนการทำสื่อการ์ตูนมังงะ โดยหลังจบงานวิจัยพบว่าสมมุติฐานการวิจัยข้อที่ 1 เพื่อเปรียบเทียบผลของการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณผ่านกิจกรรมการทำมังงะ โดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (Mann-whitney U-test) พบว่านักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และสมมุติฐานการวิจัยข้อที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบผลของการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณผ่านกิจกรรมการทำมังงะระหว่างก่อนและหลังการทดลองเพื่อเปรียบเทียบหาค่าเฉลี่ยก่อนและหลังของกลุ่มทดลอง (Wilcoxon Signed Rank)พบว่ากลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมการทำมังงะมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3101 |
Appears in Collections: | Faculty of Humanities |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs641110097.pdf | 4.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.