Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3041
Title: EFFECT OF THICKNESS OF LITHIUM DISILICATE, CEMENT COLORAND IMPLANT ABUTMENT MATERIALS TO FINAL RESTORATION COLOR
ผลของความหนาของเซรามิกกลุ่มลิเทียมไดซิลิเกต สีของซีเมนต์และวัสดุทำหลักยึดรากเทียมต่อสีของชิ้นงานบูรณะ
Authors: THANACHOT PHAYOONGRAT
ธนโชติ พยุงรัตน์
Mali Palanuwech
มะลิ พลานุเวช
Srinakharinwirot University
Mali Palanuwech
มะลิ พลานุเวช
mali@swu.ac.th
mali@swu.ac.th
Keywords: ลิเทียมไดซิลิเกต หลักยึดรากเทียม สีของซีเมนต์ ค่าความแตกต่างของสี
Lithium disilicate implant abutment cement color color difference
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purpose of this in vitro study is to investigate the final color of llithium disilicate on implant materials with and without resin cement. There are seven of each medium translucency of IPS e.max CAD (1.00, 1.50, 2.00, 2.50 mm in thickness) were randomly selected and paired with seven different types of implant abutments (Ti, Zr, ATi40, ATi50, ATi60 and ATi70). All ceramic specimen colors were measured between multiple shades of Nexus III cement (white, white opaque and yellow) and with no cement by the spectrophotometer. The data were recorded as CIE L*a*b* color co-ordinates, calculated into ∆E value. The statistical analysis was performed with ANOVA and Tukey's HSD test (p=0.05). The results of the experiment showed that the lowest ∆E was thickeness 2.50 mm on Zr (1.07±0.16) in the without cement group and a thickness of 2.50 mm on Zr with white opaque and yellow cement (1.41±0.07 and 1.36±0.13, respectively) and on titanium with white cement (2.03±0.16) in the with cement group. In conclusion, all examined parameters influenced the final color of IPS e.max CAD and increasing ceramic thickness over the abutment background decreased the color mismatch. Moreover, the color of the implant abutment didn't have an effect on the perceptability threshold (∆E
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสีของเซรามิกกลุ่มลิเทียมไดซิลิเกตชนิดโปร่งแสงปานกลางหลังบูรณะบนวัสดุทำหลักยึดรากเทียมร่วมกับการมีและไม่มีซีเมนต์ โดยแบ่งกลุ่มชิ้นทดสอบเซรามิก (ความหนา 1.00, 1.50, 2.00 และ 2.50 มิลลิเมตร) ชิ้นทดสอบพื้นหลังตามวัสดุทำหลักยึดรากเทียม (ไทเทเนียม เซอร์โคเนีย ไทเทียมที่ผ่านกระบวนการอะโนไดซ์ 40, 50, 60 และ 70 โวลต์) และชิ้นทดสอบซีเมนต์เนกซัสทรีตามสี (สีขาว สีขาวทึบ และสีเหลือง) กลุ่มละ 7 ชิ้น โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย ทำการทดลอง 2 ส่วน ได้แก่ มีและไม่มีซีเมนต์ โดยวัดสีชิ้นทดสอบเซรามิกบนชิ้นทดสอบพื้นหลังด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ หาค่าความแตกต่างของสีโดยใช้ระบบซีไออี การทดลองส่วนที่มีซีเมนต์ทำการทดสอบเหมือนกัน โดยชิ้นทดสอบซีเมนต์อยู่ระหว่างชิ้นทดสอบเซรามิกและชิ้นทดสอบพื้นหลัง ทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของค่าความแตกต่างของสีด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนและทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยวิธีทดสอบทูกีที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการทดลองพบว่าค่าความแตกต่างของสีที่น้อยที่สุดในส่วนที่ไม่มีซีเมนต์พบในความหนาเซรามิก 2.50 มิลลิเมตรบนเซอร์โคเนีย (1.07±0.16) และในส่วนที่ใช้ซีเมนต์พบในความหนาเซรามิก 2.50 มิลลิเมตรบนเซอร์โคเนียร่วมกับซีเมนต์สีขาวทึบและสีเหลือง (1.41±0.07 และ 1.36±0.13 ตามลำดับ) และบนไทเทเนียมร่วมกับซีเมนต์สีขาว (2.03±0.16) สรุปความหนาของเซรามิกลิเทียมไดซิลิเกตชนิดโปร่งแสงปานกลาง วัสดุทำหลักยึดรากเทียม และสีของซีเมนต์มีผลต่อค่าความแตกต่างของสีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยความหนาของเซรามิกมากขึ้นจะทำให้ค่าความแตกต่างของสีลดลง อีกทั้งเมื่อความหนาเซรามิกมากกว่าหรือเท่ากับ 2.50 มิลลิเมตรจะทำให้สีของหลักยึดรากเทียมไม่มีผลต่อค่าความแตกต่างของสีที่ระดับน้อยกว่า 2.60 และสีของซีเมนต์สามารถปิดสีหลักยึดรากเทียมที่ระดับน้อยกว่า 5.50
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3041
Appears in Collections:Faculty of Dentistry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611110068.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.