Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3000
Title: | EFFECTS OF AN AGONIST-ANTAGONIST MUSCLE BALANCE TRAINING ANDALTERNATING AN AGONIST-ANTAGONIST MUSCLE POWER TRAININGON STRAIGHT PUNCHING ABILITIES OF THAI NATIONAL AMATEUR BOXERS ผลของการฝึกสมดุลของกล้ามเนื้อหลักและกล้ามเนื้อตรงข้ามและการฝึกพลังสลับกล้ามเนื้อหลักและกล้ามเนื้อตรงข้ามที่มีต่อความสามารถในการชกหมัดตรงของนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย |
Authors: | PARKPOOM JANGPHONAK ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค Krirkwit Phongsri เกริกวิทย์ พงศ์ศรี Srinakharinwirot University Krirkwit Phongsri เกริกวิทย์ พงศ์ศรี krirkwit@swu.ac.th krirkwit@swu.ac.th |
Keywords: | การฝึกพลัง กล้ามเนื้อหลัก กล้ามเนื้อตรงข้าม หมัดตรง นักมวยสากล training power agonist muscles antagonist muscles punching boxer |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | Training to balance the agonist and antagonist muscles of the upper body and alternating agonist and antagonist muscle power training of the upper body can increase the effectiveness of straight punching ability. This research study was divided into two parts: (1) a study of the relationship between the strength of the agonist and antagonist muscles of the upper body that affect the ability to make a straight punch; and (2) to study the effects of alternating an agonist and antagonist muscle power training on the upper body with muscle balance and straight punching ability. Both parts of the study used the same sample group and 20 Thai national team athletes participated in this study. Study 1 was a single test trial on the same day. The subjects were tested on their straight punch. and maximal strength tested the agonist and antagonist muscles of the upper body. The results of the study found that muscle strength ratio had a positive relationship with the force of the punch and the cumulative force of the jab had no relationship with it. In Study 2, the subjects were divided by the results of Study 1 to participate in a four-week program of agonist and antagonist muscle balance training and follow a program for alternating power training of the agonist and antagonist muscles for the next four weeks, Training is alternating dumbbell row and alternating dumbbell press exercise, respectively. Practice intensity was 75-85% of the maximum weight that could be lifted once. Then, they did three sets of 3-5 times before being tested after training was completed for ability to punch straight and a maximal strength test of agonist and antagonist muscles. The results of the study found that the force of punches with jabs and straight punches was no different from before training, but the force of the punch was accumulative, frequency of the number of punches and the speed of punches of jabs and straight punches increased significantly. It showed that an alternating agonist muscles and antagonist muscle power training program can increase the efficiency of punching. การฝึกให้เกิดความสมดุลของกล้ามเนื้อหลักและกล้ามเนื้อตรงข้ามของร่างกายส่วนบน หลังจากนั้นได้รับการฝึกการฝึกพลังสลับกล้ามเนื้อหลักและกล้ามเนื้อตรงข้ามของร่างกายส่วนบนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของความสามารถในการชกหมัดตรงของนักกีฬามวยสากล โดยการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน ซึ่งประกอบด้วย การศึกษาที่ 1 เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลักและกล้ามเนื้อตรงข้ามของร่างกายส่วนบนที่ส่งผลต่อความสามารถในการชกหมัดตรงของนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย และการศึกษาที่ 2 เป็นการศึกษาผลของการฝึกพลังสลับกล้ามเนื้อหลักและกล้ามเนื้อตรงข้ามของร่างกายส่วนบนที่มีความสมดุลของกล้ามเนื้อต่อความสามารถในการชกหมัดตรงของนักมวยสากลทีมชาติไทย โดยการศึกษาทั้ง 2 ส่วน ใช้กลุ่มตัวอย่างเดียวกัน เป็นนักกีฬาทีมชาติไทย จำนวน 20 คน เข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้ ในการศึกษาที่ 1 เป็นการทดลองแบบทดสอบครั้งเดียวภายในวันเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างเข้ารับการทดสอบความสามารถในการชกหมัดตรง และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลักและกล้ามเนื้อตรงข้ามของร่างกายส่วนบนด้วยท่าเบนซ์เพรส และท่าเบนซ์พูล ผลการศึกษา พบว่าอัตราส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมีความสัมพันธ้เชิงบวกกับแรงของการชกและแรงสะสมของการชกหมัดแย็บ และไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการชกหมัดตรง ในการศึกษาที่ 2 แบ่งกลุ่มตัวอย่างตามผลการทดสอบความแข็งแรงสูงสุดของกล้ามเนื้อจากการศึกษาที่ 1 เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกปรับความสมดุลระหว่างกล้ามเนื้อหลักและกล้ามเนื้อตรงข้ามเป็นเวลา 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นดำเนินการฝึกตามโปรแกรมการฝึกพลังสลับกล้ามเนื้อหลักและกล้ามเนื้อตรงข้ามเป็นเวลา 4 สัปดาห์ต่อมา โดยใช้การฝึกสลับท่าอัลเทอร์เนต ดัมเบลล์ โรว และท่าอัลเทอร์เนต ดัมเบลล์ เพลส ตามลำดับ ใช้ความหนักที่ 75-85% ของน้ำหนักสูงสุดที่ยกได้ 1 ครั้ง ปฏิบัติจำนวน 3 เซต จำนวน 3-5 ครั้งต่อเซต ก่อนเข้ารับการทดสอบความสามารถในการชกหมัดตรงและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลักและกล้ามเนื้อตรงข้ามของร่างกายส่วนบนภายหลังการฝึก ผลการศึกษาหลังการฝึก 8 สัปดาห์ พบว่า แรงการชกหมัดแย็บและหมัดตรงไม่แตกต่างจากก่อนการฝึก แต่แรงของการชกสะสม ความถี่ของจำนวนการชก และความเร็วของการชกหมัดแย็บและหมัดตรงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการฝึกพลังสลับกล้ามเนื้อดังกล่าว สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการชก โดยเฉพาะแรงของการชกสะสม ความถี่ของจำนวนการชก และความเร็วของการชกทั้งหมัดแย็บและหมัดตรง |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3000 |
Appears in Collections: | Faculty of Physical Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs611120009.pdf | 2.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.