Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2969
Title: THE REPRESENTATION OF FEMALES IN THE THAI SEPA EPICKHUN CHANG KHUN PHAEN: A CRITICAL DISCOURSE ANALYSIS
ภาพตัวแทนสตรีในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน: วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
Authors: NIRAMAN BOROMMAHATTANOPA
นิรมาน บรมมหัทธโนภา
Siriporn Panyametheekul
ศิริพร ปัญญาเมธีกุล
Srinakharinwirot University
Siriporn Panyametheekul
ศิริพร ปัญญาเมธีกุล
siripornp@swu.ac.th
siripornp@swu.ac.th
Keywords: ภาพตัวแทนสตรี วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ โครงสร้างตัวบท โครงสร้างปริชาน โครงสร้างทางสังคม
Representation of women Critical discourse analysis Textual and cognitive structure Social structure
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research delves into the intricate structures embedded within the epic tale of "Khun Chang Khun Phaen," employing van Dijk's (2008) theoretical framework. This study aims to analyze the textual, cognitive, and social structures while interpreting the portrayal of women from both internal (self-representation) and external (representation by others) perspectives, guided by van Dijk's (2014) approach. Our exploration into the textual structures revealed two distinct sets of vocabulary: name calling and verb phrases. Additionally, four types of sentence structures indicated various social interactions: active voice, passive voice, conditional, and causal sentences. There were five categories of speech acts, as delineated by Searle (1969), and observe the use of rhetorical techniques, including metaphor and comparison. Non-verbal communication and the presentation of in-group vs. out-group dynamics are also prominent, with men portraying themselves positively, while depicting women negatively. Men could have multiple wives, whereas women could have only one husband, and men held power while women were subjugated. In the analysis of cognitive structures, there were three fundamental components: laws, norms, and attitudes. These elements portray women as conforming to societal laws and norms and adhering the powerful. This mirrors the social hierarchy where the king holds ultimate power, parents have authority over children, and husbands dominate wives and were categorized them into four types: women as mothers, women oppressed by men, women who do not enjoy equal rights with men, and women depicted as weak and in need of male protection and under the authority of parents, husbands, and the state, with only mothers wielding authority over their children and receiving reverence. Women are expected to conform to societal norms. "Khun Chang Khun Phaen" thus reflects the representation of women, highlighting gender inequality. It unveils the values, thoughts, and beliefs that dominate society, often contradicting the rationality that women strive to present. Consequently, women face penalties if they fail to meet societal expectations. The narrative further illustrates state governance, patriarchal family structures, and the notion of women as property that can be sold, transferred, or harmed.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างตัวบท โครงสร้างปริชาน และโครงสร้างทางสังคมที่ปรากฏในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนด้วยแนวคิดของ van Dijk (2008) และตีความภาพตัวแทนสตรีที่ปรากฏในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนในมุมมองของคนภายใน (ภาพสะท้อนของสตรีที่นำเสนอตนเองต่อสังคม) และมุมมองของคนภายนอก (ภาพสะท้อนของสตรีที่นำเสนอโดยบุคคลอื่นต่อสังคม) ด้วยแนวคิดของ van Dijk (2014) จากการวิเคราะห์โครงสร้างตัวบทพบ 1) ชุดคำศัพท์ 2 ประเภท คือ ชุดคำเรียกที่สื่อถึงสตรีเชิงบวกและเชิงลบในทัศนคติของผู้พูด และชุดกริยาวลีที่สื่อสตรีที่มีอำนาจในฐานะแม่ และสตรีที่อยู่ใต้อำนาจของพ่อแม่ สามี และรัฐ 2) โครงสร้างประโยคที่แสดงการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 4 ประเภท คือ ประโยคกรรตุวาจก ประโยคกรรมวาจก ประโยคเงื่อนไข และประโยคแสดงเหตุผล 3) วัจนกรรม 5 ประเภท ตามแนวคิดของ Searle (1969) 4) วาทศิลป์ในการใช้โวหารและการเปรียบเทียบ 5) อวัจนภาษา 6) การนำเสนอฝ่ายเรา-เขา กล่าวคือ ผู้ชายนำเสนอตนเองเชิงบวกแต่สตรีนำเสนอตนเองเชิงลบ ผู้ชายมีภรรยาได้หลายคนแต่สตรีมีสามีได้คนเดียว และผู้ชายมีอำนาจแต่สตรีต้องอยู่ใต้อำนาจ ส่วนโครงสร้างปริชานพบ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กฎหมาย 2) บรรทัดฐาน และ 3) ทัศนคติ โดยนำเสนอสตรีที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและบรรทัดฐานที่สังคมกำหนดไว้ และทำตามผู้มีอำนาจซึ่งเป็นไปตามโครงสร้างทางสังคม คือ พระมหากษัตริย์มีอำนาจสูงสุด พ่อแม่มีอำนาจเหนือลูก และสามีมีอำนาจเหนือภรรยา ผลการวิเคราะห์ในการตีความภาพตัวแทนสตรีพบ 4 ประเภท คือ 1) ภาพตัวแทนสตรีที่เป็นแม่ 2) ภาพตัวแทนสตรีสะท้อนการกดขี่จากผู้ชาย 3) ภาพตัวแทนสตรีที่ไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมผู้ชาย และ 4) ภาพตัวแทนสตรีที่อ่อนแอต้องให้ผู้ชายปกป้อง พบความสอดคล้องและความแตกต่างจากมุมมองของคนภายในและภายนอก สตรีส่วนใหญ่ต้องอยู่ใต้อำนาจของพ่อแม่ สามี และของรัฐ มีเพียงสตรีสถานภาพแม่ที่มีอำนาจเหนือลูกและได้รับการยกย่อง สตรีต้องปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม ต้องอยู่ในกรอบที่สังคมกำหนด เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนสะท้อนภาพตัวแทนสตรี ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างสตรีกับผู้ชาย และทำให้เห็นค่านิยม ความคิด ความเชื่อของคนในสังคมมีอำนาจเหนือความเป็นเหตุผลที่สตรีพยายามนำเสนอ แต่สังคมกลับมองตรงข้าม สตรีจึงต้องได้รับโทษหากไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่สังคมคาดหวัง นอกจากนี้ ยังนำเสนอการปกครองของรัฐ โครงสร้างครอบครัวที่ชายเป็นใหญ่ สตรีเป็นทรัพย์สิน สิ่งของที่สามารถขาย โอนให้ หรือทำร้ายได้
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2969
Appears in Collections:Faculty of Humanities

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130309.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.