Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2948
Title: LEARNING MODEL TO PROMOTE MODERATION BEHAVIOR ACCORDING TO SUFFICIENCY ECONOMIC PHILOSOPHY FOR INDUSTRIAL WORKERS
รูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมพอประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม
Authors: KONGPHOB KHANTIPONGPUNTHU
ก้องภพ ขันติพงศ์พันธุ์
Thasuk Junprasert
ฐาศุกร์ จันประเสริฐ
Srinakharinwirot University
Thasuk Junprasert
ฐาศุกร์ จันประเสริฐ
thasuk@swu.ac.th
thasuk@swu.ac.th
Keywords: ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พฤติกรรมพอประมาณ
พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม
รูปแบบการเรียนรู้
SUFFICIENCY ECONOMIC PHILOSOPHY
MODERATION BEHAVIOR
INDUSTIAL WORKERS
LEARNING MODEL
Issue Date:  24
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purpose of the research is to develop a learning model to promote moderation behavior according to the sufficiency economy philosophy for industrial workers.  The methods for conducting research were divided into two phases: Phase one consisted of a learning process to promote moderation behavior according to the philosophy of sufficiency economy for industrial workers, used the interview method with six key informants. Phase two developed a learning model to promote moderation behavior according to the philosophy of the sufficiency economy for industrial workers, using a participatory action research method with 12 participants.  The results of phase one were as follows: (1) moderation had three definitions and seven behavior characteristics; (2) the learning process to promote moderation behavior consisted of five stages.  The results of phase two were as follows: (1) learning model had four stages; (2) the learning model called the “PO-DE Model” had the following key elements, as follows: (1) power of self-exploration: P (2) objective identification: O (3) design and develop: D and (4) evaluation and feedback; and E, and (3) the learning model evaluation was found to have propriety and feasibility.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมพอประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษากระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมพอประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม โดยอาศัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 6 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทำ Content analysis และระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมพอประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม โดยอาศัยวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 3 วงรอบ มีผู้ร่วมวิจัยจำนวน 12 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทำ Content analysis โดยมีผลการวิจัยระยะที่ 1 มีดังนี้ 1) “พอประมาณ” หมายถึง (1) ดำเนินชีวิตอย่างสมดุล มี 2 ลักษณะพฤติกรรม (2) ตัดสินใจภายใต้เหตุผล มี 2 ลักษณะพฤติกรรม และ (3) ครองตนตามหลักคุณธรรม มี 3 ลักษณะพฤติกรรม 2) กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การสำรวจตนเอง ขั้นที่ 2 ระบุพฤติกรรม  ขั้นที่ 3 การออกแบบกิจกรรมและวางแผน ขั้นที่ 4 การประเมินผล  ขั้นที่ 5 การให้ข้อมูลสะท้อนกลับ โดยตลอดระยะเวลาของกระบวนการเรียนรู้มีการแทรกเสริมการโค้ชและพี่เลี้ยงเข้าไปในทุกขั้นตอน และ 3) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร่วมวิจัย คือ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมพอประมาณในทิศทางที่ดีขึ้นทั้งความรู้ ทักษะ และเจตคติ สำหรับผลผลการวิจัยระยะที่ 2 มีดังนี้ 1) รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ชื่อว่า “รูปแบบพอดี (PO-DE Model)” มีองค์ประกอบสำคัญ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการเรียนรู้ และ (4) เงื่อนไขการนำไปใช้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 สร้างพลังแห่งการสำรวจตัวตน (P) ขั้นที่ 2 มุ่งผลหมุดหมายที่พึงประสงค์ (O) ขั้นที่ 3 พัฒนาการเรียนรู้ตามเจตจำนง (D) และ ขั้นที่ 4 พร้อมเจาะจงสะท้อนผลการประเมิน (E) และ 2) ผลการศึกษาความเห็นที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมพอประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2948
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621150022.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.