Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2948
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorKONGPHOB KHANTIPONGPUNTHUen
dc.contributorก้องภพ ขันติพงศ์พันธุ์th
dc.contributor.advisorThasuk Junpraserten
dc.contributor.advisorฐาศุกร์ จันประเสริฐth
dc.contributor.otherSrinakharinwirot Universityen
dc.date.accessioned2024-07-11T06:43:55Z-
dc.date.available2024-07-11T06:43:55Z-
dc.date.created2024
dc.date.issued24/5/2024
dc.identifier.urihttp://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2948-
dc.description.abstractThe purpose of the research is to develop a learning model to promote moderation behavior according to the sufficiency economy philosophy for industrial workers.  The methods for conducting research were divided into two phases: Phase one consisted of a learning process to promote moderation behavior according to the philosophy of sufficiency economy for industrial workers, used the interview method with six key informants. Phase two developed a learning model to promote moderation behavior according to the philosophy of the sufficiency economy for industrial workers, using a participatory action research method with 12 participants.  The results of phase one were as follows: (1) moderation had three definitions and seven behavior characteristics; (2) the learning process to promote moderation behavior consisted of five stages.  The results of phase two were as follows: (1) learning model had four stages; (2) the learning model called the “PO-DE Model” had the following key elements, as follows: (1) power of self-exploration: P (2) objective identification: O (3) design and develop: D and (4) evaluation and feedback; and E, and (3) the learning model evaluation was found to have propriety and feasibility.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมพอประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษากระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมพอประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม โดยอาศัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 6 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทำ Content analysis และระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมพอประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม โดยอาศัยวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 3 วงรอบ มีผู้ร่วมวิจัยจำนวน 12 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทำ Content analysis โดยมีผลการวิจัยระยะที่ 1 มีดังนี้ 1) “พอประมาณ” หมายถึง (1) ดำเนินชีวิตอย่างสมดุล มี 2 ลักษณะพฤติกรรม (2) ตัดสินใจภายใต้เหตุผล มี 2 ลักษณะพฤติกรรม และ (3) ครองตนตามหลักคุณธรรม มี 3 ลักษณะพฤติกรรม 2) กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การสำรวจตนเอง ขั้นที่ 2 ระบุพฤติกรรม  ขั้นที่ 3 การออกแบบกิจกรรมและวางแผน ขั้นที่ 4 การประเมินผล  ขั้นที่ 5 การให้ข้อมูลสะท้อนกลับ โดยตลอดระยะเวลาของกระบวนการเรียนรู้มีการแทรกเสริมการโค้ชและพี่เลี้ยงเข้าไปในทุกขั้นตอน และ 3) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร่วมวิจัย คือ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมพอประมาณในทิศทางที่ดีขึ้นทั้งความรู้ ทักษะ และเจตคติ สำหรับผลผลการวิจัยระยะที่ 2 มีดังนี้ 1) รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ชื่อว่า “รูปแบบพอดี (PO-DE Model)” มีองค์ประกอบสำคัญ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการเรียนรู้ และ (4) เงื่อนไขการนำไปใช้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 สร้างพลังแห่งการสำรวจตัวตน (P) ขั้นที่ 2 มุ่งผลหมุดหมายที่พึงประสงค์ (O) ขั้นที่ 3 พัฒนาการเรียนรู้ตามเจตจำนง (D) และ ขั้นที่ 4 พร้อมเจาะจงสะท้อนผลการประเมิน (E) และ 2) ผลการศึกษาความเห็นที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมพอประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้th
dc.language.isoth
dc.publisherSrinakharinwirot University
dc.rightsSrinakharinwirot University
dc.subjectปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงth
dc.subjectพฤติกรรมพอประมาณth
dc.subjectพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมth
dc.subjectรูปแบบการเรียนรู้th
dc.subjectSUFFICIENCY ECONOMIC PHILOSOPHYen
dc.subjectMODERATION BEHAVIORen
dc.subjectINDUSTIAL WORKERSen
dc.subjectLEARNING MODELen
dc.subject.classificationPsychologyen
dc.subject.classificationEducationen
dc.titleLEARNING MODEL TO PROMOTE MODERATION BEHAVIOR ACCORDING TO SUFFICIENCY ECONOMIC PHILOSOPHY FOR INDUSTRIAL WORKERSen
dc.titleรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมพอประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมth
dc.typeDissertationen
dc.typeปริญญานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorThasuk Junpraserten
dc.contributor.coadvisorฐาศุกร์ จันประเสริฐth
dc.contributor.emailadvisorthasuk@swu.ac.th
dc.contributor.emailcoadvisorthasuk@swu.ac.th
dc.description.degreenameDOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.)en
dc.description.degreenameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.degreelevel-en
dc.description.degreelevel-th
dc.description.degreedisciplineen
dc.description.degreedisciplineth
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621150022.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.