Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/290
Title: DEVELOPMENT OF LEARNING OUTCOMES VERIFICATION OF  BACHELOR’S DEGREE IN PHYSICAL EDUCATION CURRICULUM
การพัฒนารูปแบบการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตรสาขาวิชาพลศึกษา ในระดับปริญญาตรี
Authors: DISORN KAEWKLAY
ดิศรณ์ แก้วคล้าย
Thongchat Phucharoen
ธงชาติ พู่เจริญ
Srinakharinwirot University. Faculty of Physical Education
Keywords: การทวนสอบ
ผลการเรียนรู้
หลักสูตรสาขาวิชาพลศึกษา
Verification
Learning Outcomes
Physical Education Curriculum
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purpose of this research were to develop learning outcome verification among undergraduates in the bachelor’s degree in Physical Education curriculum. There were three phases; the objective in the first phase was a survey of the problems of learning outcomes verification. The sample was consisted of one hundred and sixty who studied in the Physical Education curriculum and the data were analyzed by mean, standard division and after using modified priority need index (PNImodified). The objectives in the second phase was to create and to develop the modified technical research program in EDFR. The sample was consisted of twenty experts who analyzed the content and evaluated the interview model from twenty experts and using mean, standard division and compared differences of evaluate scoring model by a one sample t-test. The objectives in the third phase was a model quality check from one hundred and sixty stakeholders. The data was analyzed by mean, standard division and compared the differences between scoring a model quality check with a defined criteria by one sample-t-test. The results of research found the following : (1) the survey and the problems of learning outcomes verification among bachelor’s degree students in physical education curriculum which found that the need assessments on the present process and expect after process, control (PNIb = 0.39) was at the highest needs assessment, followed by checking (PNIb = 0.36) and the evaluation (PNIb = 0.35) respectively; (2) to create and develop the model of learning outcome verification of Bachelor’s degree in physical education curriculum which found that the summary of control was fourteen main words and fifty-eight subtitles, the summary of the quality check was fourteen main words and fifty-four subtitles, and the summary of evaluation included fourteen main words and seventy subtitles, and the summary of reviews after activities was fourteen main words forty-two subtitles and the results of evaluation model in four areas, such as accuracy and suitability were higher than criteria at the statistically significant level of .05; (3) the model quality check of learning outcome verification of Bachelor’s degree students in physical education curriculum found that control, checking, evaluation and review after activities were benefit and possible higher than the criteria at a statistically significant level of .05.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตรสาขาวิชาพลศึกษา ในระดับปริญญาตรี ดำเนินการวิจัยทั้งหมด 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 จุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจสภาพและปัญหาการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาพลศึกษา จำนวน 160 คน วิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐานคือค่าคะแนนเฉลี่ย (M) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) จากนั้นนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาคำนวณหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ด้วยวิธีการ Modified Priority Need Index ระยะที่ 2 มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสร้างและพัฒนารูปแบบโดยประยุกต์ใช้เทคนิคการวิจัย EDFR กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน ดำเนินการวิเคราะห์รูปแบบจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 20 คน โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) แล้วประเมินรูปแบบ โดยใช้สถิติพื้นฐานคือค่าคะแนนเฉลี่ย (M) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) แล้วเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนผลการประเมินรูปแบบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยใช้สถิติทดสอบที แบบ One sample t-test ระยะที่ 3 มีจุดมุ่งหมายเพื่อการตรวจสอบยืนยันคุณภาพของรูปแบบ โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 160 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานคือค่าคะแนนเฉลี่ย (M) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนผลการตรวจสอบยืนยันคุณภาพรูปแบบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้สถิติทดสอบทีแบบ One sample t-test ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการสำรวจสภาพและปัญหาการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของหลักสูตรสาขาวิชาพลศึกษา ในระดับปริญญาตรี พบว่า การประเมินความต้องการจำเป็นสภาพการดำเนินการปัจจุบันกับสภาพการดำเนินการที่คาดหวัง ด้านที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านการควบคุม (PNIb = 0.39) รองลงมาคือ ด้านการตรวจสอบ (PNIb = 0.36) และ ด้านการประเมิน (PNIb = 0.35) ตามลำดับ (2) การสร้างและพัฒนารูปแบบการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตรสาขาวิชาพลศึกษา ในระดับปริญญาตรี พบว่า ด้านการควบคุม สรุปได้ 14 คำหลัก 58 หัวข้อย่อย ด้านการตรวจสอบ สรุปได้ 14 คำหลัก 54 หัวข้อย่อย ด้านการประเมิน สรุปได้ 14 คำหลัก 70 หัวข้อย่อย ด้านการทบทวนหลังการปฏิบัติกิจกรรม สรุปได้ 14 คำหลัก 42 หัวข้อย่อย และผลการประเมินรูปแบบทั้ง 4 ด้าน มีความถูกต้องและความเหมาะสมสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) การตรวจสอบยืนยันคุณภาพของรูปแบบการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตรสาขาวิชาพลศึกษา ในระดับปริญญาตรี พบว่า ด้านการควบคุม ด้านการตรวจสอบ ด้านการประเมิน และด้านการทบทวนหลังการปฏิบัติกิจกรรม มีความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: DOCTOR OF EDUCATION (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/290
Appears in Collections:Faculty of Physical Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs561150092.pdf6.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.