Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2904
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorDOME KLAYSANGen
dc.contributorโดม คล้ายสังข์th
dc.contributor.advisorNuttida Pujeeben
dc.contributor.advisorณัฐธิดา ภู่จีบth
dc.contributor.otherSrinakharinwirot Universityen
dc.date.accessioned2024-07-11T04:10:25Z-
dc.date.available2024-07-11T04:10:25Z-
dc.date.created2024
dc.date.issued24/5/2024
dc.identifier.urihttp://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2904-
dc.description.abstractThe objectives of this research are as follows: (1) to study current and desired conditions for teaching visual arts skills for non-credential art teachers in primary school, grades 4-6; (2) to create a model of developing visual arts upskills; and (3) to study the effectiveness and certify a model of developing visual arts upskills. The sample group were teachers or educational staff who graduated in different fields. There are 390 people teaching the visual arts in primary schools nationwide and under the authority of the Office of Primary Educational Service Area Office. The tools used to collect data are questionnaires, interview forms, and data recording forms. Group discussion by focus group analyzed data by frequency distribution, finding percentage, mean, standard deviation and PNI Modified index value. The development elements were in this order, as follows: creation experience, conceptualization, knowledge creation in terms of demonstration and application, and it was found that the guidelines for developing the teaching skills of art teachers were artistic skills, art knowledge, artistic identity, and the behavior of art teachers. It was passed by experts to evaluate the model with seven components: (1) name of the model; (2) model for development; (3) components of the teaching skills of art teachers; (4) components of art teachers and learning in the 21st century; and (5) components of pictures. The context of the teacher should be considered to determine a time frame for development. Executives should focus on development through models that are appropriate for each area. In order to achieve the most efficient and effective development, and knowledge should be managed continuously and technology used to support teaching and learning.en
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพอันพึงประสงค์ทักษะการสอนทัศนศิลป์สำหรับครูที่จบไม่ตรงสาขา ระดับประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 2 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนทัศนศิลป์สำหรับครูที่จบไม่ตรงสาขา ระดับประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 2 และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลและรับรองรูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนทัศนศิลป์สำหรับครูที่จบไม่ตรงสาขา ระดับประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่จบไม่ตรงสาขา มีภาระงานสอนวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัด สพป. ทั่วประเทศ จำนวน 390 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูล การสนทนากลุ่ม (Focus Group) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนี PNI Modified ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบัน สภาพอันพึงประสงค์ทักษะการสอนทัศนศิลป์สำหรับครูที่จบไม่ตรงสาขา ระดับประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 2 มีความต้องการจำเป็นมากที่สุดตามลำดับ คือ ด้านแนวทางการพัฒนาของครูศิลปะกับการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 มีองค์ประกอบในการพัฒนาตามลำดับ ดังนี้ ด้านการสร้างประสบการณ์, ด้านการสร้างแนวความคิด, ด้านการสร้างองค์ความรู้, ด้านการสาธิตและประยุกต์ใช้ และรองลงมา คือ แนวทางการพัฒนาด้านทักษะการสอนของครูศิลปะ มีองค์ประกอบในการพัฒนาตามลำดับ ดังนี้ ด้านทักษะทางศิลปะ, ด้านความรู้ทางศิลปะ, ด้านเอกลักษณ์ทางศิลปะ, ด้านพฤติกรรมครูสอนศิลปะ ตามความเหมาะสมของพัฒนามีความสำคัญในการพัฒนาควบคู่ไปด้วยกัน โดยพิจารณาประกอบการวิเคราะห์ควบคู่ด้วยการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ของกลุ่มตัวอย่าง และผู้ทรงคุณวุฒิ ด้วยปัญหาของการสอนรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) และความต้องการต่อการพัฒนาการสอนทัศนศิลป์การบูรณาการกับวิชาอื่นๆ เป็นความต้องการจำเป็น เพื่อสร้างรูปแบบในการพัฒนา 2. เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนทัศนศิลป์สำหรับครูที่จบไม่ตรงสาขา ระดับประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 2 จากการศึกษาผลสภาพปัจจุบัน สภาพอันพึงประสงค์ทักษะการสอนทัศนศิลป์ นำมาสร้างแบบร่างเพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบในการทดลอง ผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ ในการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยพิจารณาจากส่วนประกอบสำคัญ ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในความเป็นไปได้ ในระดับมากที่สุด 3. เพื่อศึกษาประสิทธิผลหลังการใช้รูปแบบ พบว่า ผู้ที่เข้ารับการทดลองจำนวน 30 คนมีทักษะการสอนทัศนศิลป์สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และรับรองรูปแบบ โดยพิจารณาประกอบการสังเคราะห์ผลควบคู่การสนทนากลุ่ม (Focus Group) จากผู้เข้าร่วมทดลองและผู้ทรงคุณวุฒิ ได้รับรองรูปแบบในการพัฒนามีชื่อว่า รูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนทัศนศิลป์สำหรับครูที่จบไม่ตรงสาขา ระดับประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 2 The Model: Up Skills Visual Arts for Non-Credential Art Teacher  “U. A. N. T. model” เป็นรูปแบบระยะสั้น 20 ชั่วโมง โดยขั้นตอนการพัฒนาด้วยการเรียงลำดับจากขั้นตามชื่อรูปแบบในตัวอักษร ดังนี้ U (Understand) เป็นความเข้าใจ เกิดจากการพัฒนา ด้านการสร้างองค์ความรู้ และด้านเอกลักษณ์ทางศิลปะ A (Ability) เป็นความสามารถ เกิดจากการพัฒนา ด้านการสาธิตและประยุกต์ใช้ และด้านพฤติกรรมครูสอนศิลปะ N (Necessarily) เป็นความจำเป็น เกิดจากการพัฒนา ด้านการสร้างแนวความคิด และด้านความรู้ทางศิลปะ จนถึง T (Truth) เป็นความจริง เกิดจากการพัฒนา ด้านการสร้างประสบการณ์ และด้านทักษะทางศิลปะ ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ ควรพิจารณาบริบทของครูเพื่อกำหนดกรอบที่เหมาะสมในการพัฒนา มีการวัดระดับทักษะการสอนของครู และควรฝึกปฏิบัติทักษะการสอนที่จำเป็น 9 ทักษะของครูระดับประถมศึกษา คือ การนำเข้าสู่บทเรียน การอธิบาย การใช้คำถาม การเสริมกำลังใจ การสรุปบทเรียน การเร้าความสนใจ การใช้กระดานชอล์ก การกระตุ้นให้คิด และการใช้สื่อการสอน เพื่อจะได้จัดรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมและตรงกับทักษะการสอนที่จำเป็นth
dc.language.isoth
dc.publisherSrinakharinwirot University
dc.rightsSrinakharinwirot University
dc.subjectรูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนทัศนศิลป์th
dc.subjectทักษะการสอนทัศนศิลป์th
dc.subjectครูที่จบไม่ตรงสาขาth
dc.subjectวิชาศิลปะth
dc.subjectI had to cut your work downen
dc.subjectit was 800 words at firsten
dc.subjectthe limit is 250en
dc.subjectbut I have reduced it to 300en
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationEducationen
dc.subject.classificationEducation scienceen
dc.titleTHE MODEL OF DEVELOPING VISUAL ARTS UP SKILLS FOR A NON-CREDENTIAL ART TEACHER IN PRIMARY SCHOOL GRADE 4-6en
dc.titleรูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนทัศนศิลป์สำหรับครูที่จบไม่ตรงสาขาระดับประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 2th
dc.typeDissertationen
dc.typeปริญญานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorNuttida Pujeeben
dc.contributor.coadvisorณัฐธิดา ภู่จีบth
dc.contributor.emailadvisornuttida@swu.ac.th
dc.contributor.emailcoadvisornuttida@swu.ac.th
dc.description.degreenameDOCTOR OF EDUCATION (Ed.D.)en
dc.description.degreenameการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)th
dc.description.degreelevel-en
dc.description.degreelevel-th
dc.description.degreedisciplineen
dc.description.degreedisciplineth
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631150058.pdf17.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.