Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2888
Title: A STUDY OF NORTHERN AND CENTRAL THAI MUSIC INTERRACTION AFTER PRINCESS CONSORT DARA RASMI'S RETURNING TO CHINAG MAI
การศึกษาปฏิสัมพันธ์ทางดนตรีภาคเหนือและดนตรีภาคกลางในช่วงหลังการเสด็จกลับนครเชียงใหม่ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
Authors: NUTTHAWOOT UN-OKDANG
ณัฐวุฒิ อุ่นอกแดง
Tepika Rodsakan
เทพิกา รอดสการ
Srinakharinwirot University
Tepika Rodsakan
เทพิกา รอดสการ
tepika@swu.ac.th
tepika@swu.ac.th
Keywords: ปฏิสัมพันธ์ทางดนตรี, พระราชชายา เจ้าดารารัศมี, ดนตรีภาคกลาง และดนตรีภาคเหนือ
Music interaction. Dara Rasmi's. Northern and Central Thai music.
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this research are to study the relations of northern and central Thai music after the return to Chiang Mai by Princess Consort Dara Rasami and to study the factors affecting musical relations at that time. The data was collected from documentation,interviews, and analyzed by content analysis. The data was classified and compared to form an inductive conclusion, and presented through descriptive analysis in an essay format. The results of the research were as follows: (1) the relations of central and northern Thai music after the return to Chiang Mai of Princess Consort Dara Rasami occurred when Her Highness returned permanently to Chiang Mai in 1914. She introduced and applied the forms, principles, and performance style of central and northern Thai music and improves the standard of music and dance in the northern region, making them more orderly and systematic. There are eight sets of important performances that clearly represent musicalrelations in the central and northern regions: Lakhon Noi Jai Ya, Fon Man Mui Chiang Ta, Fon Man Mae Le, Fon Ngiaw, Fon Leb and Fon Thian, Fon Yokee Thawai Fai, Fon Mon or Fon Phee Mod, and Rabam Saw. After an analysis of musical relations patterns, it was found that it could be divided into two patterns: the composition using the principles of central Thai music by the rearrangement of Luk Tok (accentuated note) to compose the music and a performance combining the style of central Thai music with traditional northern Thai music. The results of musical relations are recognized and adopted as a standard in Thai music and dance lessons, and has been widely applied until today; (2) there were four factors contributing to musical relations between northern and central Thai music after the return to Chiang Mai of Princess Consort Dara Rasami: (1) the economic factor, the development of trading and railway transportation in Chiang Mai; (2) the political factor, the colonization of Siam that made central cultural values become political values; (3) the social factor; the popularity of central music among the ruling elite; and (4) the cultural factor, the similarity of culture and the acceptance of the combined culture.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ทางดนตรีภาคเหนือและดนตรีภาคกลางในช่วงการเสด็จนิวัตินครเชียงใหม่ของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดปรากฏการณ์ปฏิสัมพันธ์ทางดนตรีระหว่างดนตรีภาคเหนือกับดนตรีภาคกลางในช่วงเสด็จนิวัตินครเชียงใหม่ของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา จำแนกประเภทข้อมูล เปรียบเทียบข้อมูล และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ในรูปแบบความเรียง ผลการวิจัย พบว่า 1. ปฏิสัมพันธ์ทางดนตรีภาคกลางและดนตรีภาคเหนือในช่วงการเสด็จนิวัตินครเชียงใหม่ของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี เกิดขึ้นเมื่อพระองค์เสด็จนิวัตินครเชียงใหม่เป็นการถาวร พ.ศ. 2457 ทรงนำรูปแบบ หลักการการบรรเลง และการแสดงแบบภาคกลางมาปรับปรุงดนตรีและนาฏศิลป์ของภาคเหนือให้มีระบบระเบียบเป็นแบบแผนและเป็นมาตรฐานยิ่งขึ้น พระนิพนธ์ชิ้นสำคัญที่แสดงถึงปฏิสัมพันธ์ทางดนตรีทางภาคกลางและภาคเหนือมีจำนวน 8 ชุดการแสดง คือ ละครน้อยใจยา ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนม่านแม่เล้ ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนโยคีถวายไฟ ฟ้อนมอญหรือผีมด และระบำซอ เมื่อวิเคราะห์รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ทางดนตรี พบว่า แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1.การใช้หลักการประพันธ์โดยการนำลูกตกมาเรียบเรียงเป็นดนตรีแบบภาคกลาง 2.การบรรเลงตามรูปแบบดนตรีภาคกลางโดยนำเพลงดั่งเดิมแบบภาคเหนือเข้ามาผสม ผลของปฏิสัมพันธ์ทางดนตรีเป็นที่ยอมรับและใช้เป็นแบบแผนในการเรียนดนตรีและนาฏศิลป์เป็นที่นิยมและรับรู้ในวงกว้างสืบมาจวบจนถึงปัจจุบัน 2. ปัจจัยที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ปฏิสัมพันธ์ทางดนตรีระหว่างดนตรีภาคเหนือกับดนตรีภาคกลางในช่วงเสด็จนิวัตินครเชียงใหม่ของพระราชชายาดารารัศมี ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การค้าขายและการขยายของเส้นทางรถไฟที่มาถึงเชียงใหม่ ปัจจัยด้านการเมือง ได้แก่ การเป็นประเทศราชของสยามทำให้วัฒนธรรมส่วนกลางเป็นค่านิยมทางการเมือง ปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ ความนิยมดนตรีภาคกลางในชนชั้นปกครองและชนชั้นนำ และปัจจัยด้านวัฒนธรรม ได้แก่ ความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมและการสร้างวัฒนธรรมใหม่เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ เป็นต้น
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2888
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591130223.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.