Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2852
Title: DEVELOPMENT OF SUPERVISION MODEL BY PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY PROCESS FOR PROMOTING ENGLISH LEARNING MANAGEMENT COMPETENCY AMONG PRIMARY SCHOOL TEACHERS
การพัฒนารูปแบบการนิเทศด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา
Authors: SATAPORN SOMUTHAI
สถาพร สมอุทัย
Duangjai Seekheio
ดวงใจ สีเขียว
Srinakharinwirot University
Duangjai Seekheio
ดวงใจ สีเขียว
duangjais@swu.ac.th
duangjais@swu.ac.th
Keywords: รูปแบบการนิเทศ
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
Supervision Model
Professional Learning Community (PLC)
English Language Learning Management Competency
Issue Date:  24
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract:              The objectives of the research are as follows: (1) to study the factors and indicators of English learning management competency among primary school teachers; (2) to develop a model of a professional learning community process for promoting English learning management competency among primary school teachers; and (3) to study the effectiveness of supervision model by professional learning community process for promoting English learning management competency of primary school teachers. The sample was 30 English primary school teachers, under the authority of Nakhon Sawan primary educational service area office in the first semester of the 2023 academic year and selected by stratified random sampling technique. The research instruments were (1) a semi-structured in-depth interview; (2) an evaluation form using a five-point rating; and (3) an evaluation form of English learning management competency; and (4) an evaluation form for satisfaction toward supervision model by professional learning community process for promoting English learning management competency. The means, standard deviation and dependent t-test were employed. The results revealed the following: (1) the factors and indicators of the competency of primary school teachers consisted three factors and 7 indicators; (2) the English Language Learning Management competency had two factors and 10 indicators. Satisfaction was at the highest level (x̄ = 4.52, S.D. = 0.33) and the supervision model by professional learning community process for promoting English learning management competency of primary school teachers and the APD-SEC Supervision Model had five components: (1) principles/concept of the supervision model; (2) objectives of supervision model; (3) activities of supervision model; (4) supportive factors supervision model; and (5) the tools and media used in supervision model. The supervision model process had five stages: (1) basic data analysis of supervision; (2) supervision planning; (3) development of learning management; (4) supervision with three phases: (1) designing a lesson plan; (2) learning management observation; and (3) reflection; and (5) supervision evaluation; and (6) supervision conclusion. The evaluation of efficiency was at the highest level (x̄ = 4.87, S.D.= 0.09) and English learning management competency of primary school teachers was higher than before the supervision model by professional learning community process at a statistically significant level of .01 and the satisfaction of the supervision model was at the highest level (x̄ = 4.88, S.D. = 0.36).
             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured in-depth interview) 2) แบบประเมินความเหมาะสมแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ของลิเคิร์ท (Likert Scale) 3) แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการหาค่า t-test  แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา ประกอบด้วย สมรรถนะที่ 1 ด้านภาษาอังกฤษ (English Language Competency) มี 3 องค์ประกอบ 7 ตัวบ่งชี้  และสมรรถนะที่ 2 ด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ (English Language Learning Management) มี 2 องค์ประกอบ 10 ตัวบ่งชี้  และมีผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะฯ อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.52, S.D. = 0.33) 2) รูปแบบการนิเทศด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือรูปแบบการนิเทศแบบ AP-D-SEC Supervision Model มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ/แนวคิดของรูปแบบการนิเทศ 2) จุดมุ่งหมายของรูปแบบการนิเทศ 3) กระบวนการของรูปแบบการนิเทศ 4)ปัจจัยสนับสนุนรูปแบบการนิเทศให้ประสบความสำเร็จ และ 5) เครื่องมือและสื่อที่ใช้ในรูปแบบการนิเทศ ซึ่งกระบวนการของรูปแบบการนิเทศมีขั้นตอนการดำเนินงานอยู่ 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของการนิเทศ (A: Analysis) ขั้นที่ 2 การวางแผนการนิเทศ (P: Planning) ขั้นที่ 3 การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ (D: Development) ขั้นที่ 4 การนิเทศ (S: Supervision) ประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ (Designing Lesson Plan) ระยะที่ 2 การสังเกตการจัดการเรียนรู้ (Learning Management Observation) และระยะที่ 3 การสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ (Reflection) ขั้นที่ 5 การประเมินผลการนิเทศ (E: Evaluation) ขั้นที่ 6 การสรุปผลการนิเทศ (C: Conclusion) และมีผลการประเมินความเหมาะสมฯ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.87, S.D.= 0.09) และ 3) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาหลังใช้รูปแบบการนิเทศฯ สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการนิเทศการศึกษาฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศฯ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.88, S.D. = 0.36)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2852
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631150038.pdf6.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.