Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2851
Title: | THE DEVELOPMENT OF EXTRA CURRICULUMTO ENHANCE MATHEMATICAL LITERACYFOR MATHAYOMSUKSA 3 STUDENTS การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 |
Authors: | KEDCHUDA PHIENUKROCHON เกษชุดา เพียรนุเคราะห์ชน Rungtiwa Yamrung รุ่งทิวา แย้มรุ่ง Srinakharinwirot University Rungtiwa Yamrung รุ่งทิวา แย้มรุ่ง rungtiwa@swu.ac.th rungtiwa@swu.ac.th |
Keywords: | การพัฒนาหลักสูตร, ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 Curriculum development Mathematical literacy |
Issue Date: | 24 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The objectives of this study are as follows: (1) to develop the components and indicators of mathematical literacy for Mathayomsuksa Three students; (2) to develop an extra curriculum to enhance mathematical literacy; and (3) to study the efficiency of extra curriculum to enhance mathematical literacy. The sample in this study consisted of 34 Mathayomsuksa Three students at Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Secondary) in the second term of the 2023 academic year. The instruments included an evaluation form for appropriateness and congruence of the components, sub-components and indicators of mathematical literacy, and an evaluation form. There are four phases of curriculum development: (1) to study information and analysis to develop components and indicators of mathematical literacy and analyzing the data; (2) drafting extra curriculum and evaluating efficiency; (3) curriculum implementation for four periods per week, 45 minutes per period, for six weeks, tested for two periods, a total of 28 periods. The efficiency of extra curriculum was evaluated using a mathematics literacy test; and (4) to improve curriculum. The results improved the research for publication. The results revealed: (1) the components, sub-components and indicators of mathematics literacy had two main components, 11 sub-components and 27 indicators; (2) each element enhanced mathematical literacy and the curriculum was appropriate. The mean was 4.62 and standard deviation was 0.52. Each element in the draft curriculum to enhance mathematical literacy were congruent; and (3) students evaluated that their mathematical literacy after taking the Mathematics Literacy Test, was higher than before the curriculum, and the results of the evaluation of students and learning management according to the extra curriculum and greater than a mean of 4.51, at a statistically significant level of .05. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2)พัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความเหมาะสมและแบบประเมินความสอดคล้องขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลักสูตรเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบวัดความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบประเมินร่างหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในการพัฒนาหลักสูตรมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน พัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การยกร่างหลักสูตรและประเมินประสิทธิภาพของร่างหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความสอดคล้อง ระยะที่ 3 การใช้หลักสูตรและประเมินผลหลักสูตร นำหลักสูตรไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างสัปดาห์ละ 4 คาบ คาบละ 45 นาที เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และทดสอบ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 คาบ รวมใช้เวลาทั้งสิ้นจำนวน 28 คาบ และประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรจากการวัดความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร ระยะที่ 4 การปรับปรุงหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก 11 องค์ประกอบย่อย และ 27 ตัวบ่งชี้ 2) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แต่ละองค์ประกอบในหลักสูตรมีความเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.52 และองค์ประกอบในหลักสูตรมีความสอดคล้องกัน และ 3) ประสิทธิผลของหลักสูตร พบว่านักเรียนมีความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์หลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมมากกว่า 4.51 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2851 |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs631150029.pdf | 8.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.