Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/280
Title: | FACTOR ANALYSIS AND DEVELOPMENT PROGRAM OF HUMAN RESOURCES COMPETENCY AMONG CIVIL SERVANTS การวิเคราะห์องค์ประกอบและโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะนักทรัพยากรบุคคลภาครัฐสังกัดกระทรวงแห่งหนึ่ง |
Authors: | LALITA DACH-PAO ลลิตา เดชเป้า Kamolwan Kalomprach Klaykaew กมลวรรณ คารมปราชญ์ คล้ายแก้ว Srinakharinwirot University. INSTITUTE OF RESEARCH IN BEHAVIORAL SCIENCE |
Keywords: | สมรรถนะนักทรัพยากรบุคคลภาครัฐ, การวิเคราะห์องค์ประกอบ, โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะ Human resources competency Civil servants Factor analysis Competency development program |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The study focused on human resources competency among civil servants and had three purposes: (1) to study human resources competency; (2) to study the factors of human resource competency; and (3) to examine the effectiveness of a development program to enhance human resource competency among civil servants. The researcher studied the theory, previous research and opinions of the key informants working in the research area. The questionnaire was used to collect information, with a reliability value of .969, using a sample consisting of one hundred and ten human resource officers working in a government ministry. The data from the study was analyzed using exploratory factor analysis. Then, the factor of human resource competency was considered to design a development program with one group of twelve participants and tested the repeated measure method.
The results revealed that there were five factors with thirty indicators. The first was social ability and ethics, with twelve indicators. The second was human resources knowledge with six indicators. The third was thinking and data management skills with six indicators. The fourth was business acumen with four indicators. The fifth was public sector work system with two indicators. An examination of the competency development program that revealed the comparison of the pretest, the factor of business acumen significantly changed to a higher score in the follow stage. การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะนักทรัพยากรบุคคลภาครัฐ 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะนักทรัพยากรบุคคลภาครัฐสังกัดกระทรวงแห่งหนึ่ง 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะนักทรัพยากรบุคคลภาครัฐสังกัดกระทรวงแห่งหนึ่ง โดยศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์เชิงลึกจากนักทรัพยากรบุคคลที่ปฏิบัติงานสังกัดกระทรวงแห่งหนึ่ง จากนั้นนำผลที่ได้ไปสร้างแบบวัดสมรรถนะนักทรัพยากรบุคคลภาครัฐสังกัดกระทรวงแห่งหนึ่ง และนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ สังกัดกระทรวงแห่งหนึ่ง จำนวน 110 คน โดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .969 ใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะนักทรัพยากรบุคคลสังกัดกระทรวงแห่งหนึ่งจำนวน 12 คน เป็นการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะนักทรัพยากรบุคคลภาครัฐสังกัดกระทรวงแห่งหนึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 30 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ด้านความสามารถทางสังคมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ มี 12 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านความรู้ในงานทรัพยากรบุคคลภาครัฐ มี 6 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านทักษะการคิดและการจัดการข้อมูล มี 6 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านความรู้เกี่ยวกับองค์กรตนเอง มี 4 ตัวบ่งชี้ และ 5) ด้านความรู้เกี่ยวกับระบบงานภาครัฐ มี 2 ตัวบ่งชี้ ส่วนการเปรียบเทียบผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะนักทรัพยากรบุคคลภาครัฐสังกัดกระทรวงแห่งหนึ่งแบบรายด้านระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะการติดตามผลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะด้านความรู้เกี่ยวกับองค์กรตนเองระยะติดตามผลแตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะนักทรัพยากรบุคคลภาครัฐสังกัดกระทรวงแห่งหนึ่งสามารถพัฒนาความรู้เกี่ยวกับองค์กรตนเองได้ |
Description: | DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/280 |
Appears in Collections: | Institute of Research in Behavioral Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs561150077.pdf | 2.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.