Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2791
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPASAKORN CHANJIRAWADEEen
dc.contributorภาสกร ชาญจิราวดีth
dc.contributor.advisorSingha Chankhawen
dc.contributor.advisorสิงหา จันทน์ขาวth
dc.contributor.otherSrinakharinwirot Universityen
dc.date.accessioned2024-07-11T03:26:20Z-
dc.date.available2024-07-11T03:26:20Z-
dc.date.created2024
dc.date.issued24/5/2024
dc.identifier.urihttp://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2791-
dc.description.abstractThis aims of this research are as follows: (1) to study and develop a sex education learning management model using the Love Model and the Self-Efficacy Theory to enhance the sexual health literacy of junior high school students; (2) to investigate the situation, problems, needs, and suggestions for managing sex education; (3) develop a sex education learning management model; and (4) to study the effects of using this model. This research had three phases: Phase 1 studied the situation, problems, needs, and managing sex education for junior high school students. Phase 2 developed a sex education learning management model using the Love Model and Self-Efficacy Theory; and Phase 3 evaluated the learning management model. In Phase 3, quasi-experimental research with two groups was conducted on 80 Grade 8 students, in the 2023 academic year. The research tools included the sex education learning management model, a sexual health literacy assessments questionnaire, and a satisfaction questionnaire. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, a paired t-test, and an independent t-test. The research found that in Phase 1, the management of sex education by teachers was at a high level (Mean = 3.09), while problems were at the moderate level (Mean = 2.92), and the need for sex education management was high (Mean = 3.19). Regarding health education teachers, problems were at the moderate level (Mean = 2.45), and the need was at the moderate level (Mean = 2.86). Concerning school administrators, problems with sex education management were at a moderate level (Mean = 2.55), and the need for sex education management was at a moderate level (Mean = 2.97). In Phase 2, the developing a sex education learning management model using the Love Model and the Self-Efficacy Theory was accurate, suitable, and possible to enhance sexual health literacy of junior high school students. After Phase 3, the experimental group had higher mean scores than before the experiment and significantly higher than the control group at a statistically significant level of .05. The effectiveness of the model was 89.38/91.04, higher than the standard of 80/80. Overall, the experimental group students were highly satisfied with the sex education learning management model. Therefore, this developed model is efficient and effective. For enhancing a sexual health literacy of junior high school students and reduce the risks of unintended pregnancies and sexually transmitted diseases.en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษา และพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบโมเดลเลิฟร่วมกับทฤษฎีความสามารถตนเองเพื่อสร้างเสริมความฉลาดรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับเรื่องเพศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2. ศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการ และข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3.พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาฯ และ 4. ศึกษาผลของของการใช้รูปแบบ ฯ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Research) มีขอบเขตการวิจัย 3 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการ และข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบโมเดลเลิฟกับทฤษฎีความสามารถตนเองเพื่อสร้างเสริมความฉลาดรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับเรื่องเพศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ  ระยะที่ 3 การทดลองใช้ และประเมินรูปแบบ ฯ โดยในระยะที่ 3 มีรูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ชนิดสองกลุ่มวัดก่อน และหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 80 คน จำแนกเป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง 40 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุม 40 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบโมเดลเลิฟ และทฤษฎีความสามารถตนเองเพื่อสร้างเสริมความฉลาดรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับเรื่องเพศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แบบประเมินความฉลาดรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับเรื่องเพศ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ดำเนินการทดลองจำนวน 8 ครั้ง ๆ 50 นาที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ในระยะที่ 1 ด้านนักเรียน พบว่าสภาพการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาของครูมีการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ( Mean = 3.09) มีปัญหาต่อการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับเพศศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ( Mean = 2.92) และ ความต้องการในการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับเพศศึกษาอยู่ในระดับมาก ( Mean = 3.19) ด้านครูผู้สอนรายวิชาสุขศึกษา พบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง  ( Mean = 2.45) และมีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ( Mean = 2.86) ในด้านของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่ามีปัญหาการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 2.55) และมีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 2.97) ระยะที่ 2 รูปแบบโมเดลเลิฟกับทฤษฎีความสามาถตนเองเพื่อสร้างเสริมความฉลาดรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับเรื่องเพศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  ที่พัฒนาขึ้น มีความความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ที่จะใช้ในการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาเพื่อสร้างเสริมความฉลาดรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับเรื่องเพศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระยะที่ 3 พบว่า หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับเรื่องเพศสูงกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประสิทธิภาพของรูปแบบ มีค่าเท่ากับ 89.31/91.04 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 และนักเรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล ดังนั้นรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบโมเดลเลิฟร่วมกับทฤษฎีความสามารถตนเองเพื่อสร้างเสริมความฉลาดรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับเรื่องเพศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สามารถนำไปใช้ในการสร้างเสริมความฉลาดรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับเรื่องเพศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้ ทั้งนี้เพื่อให้มีพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงทางเพศ ลดปัญหาจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์th
dc.language.isoth
dc.publisherSrinakharinwirot University
dc.rightsSrinakharinwirot University
dc.subjectความฉลาดรู้สุขภาพเกี่ยวกับเรื่องเพศ การจัดการเรียนรู้เพศศึกษา โมเดลเลิฟth
dc.subjectทฤษฎีความสามารถตนเองth
dc.subjectsexual health literacy sex education learning management Love Modelen
dc.subjectSelf-Efficacy Theoryen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationEducationen
dc.subject.classificationEducation scienceen
dc.titleDEVELOPMENT OF SEX EDUCATION LEARNING MANAGEMENT MODEL USING  LOVE MODEL AND SELF-EFFICACY THEORYTO ENHANCE SEXUAL HEALTH LITERACY OF JUNIOR HIGH SCHOOL STUDENTSen
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบโมเดลเลิฟกับทฤษฎีความสามารถตนเองเพื่อสร้างเสริมความฉลาดรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับเรื่องเพศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นth
dc.typeDissertationen
dc.typeปริญญานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorSingha Chankhawen
dc.contributor.coadvisorสิงหา จันทน์ขาวth
dc.contributor.emailadvisorsinghac@swu.ac.th
dc.contributor.emailcoadvisorsinghac@swu.ac.th
dc.description.degreenameDOCTOR OF EDUCATION (Ed.D.)en
dc.description.degreenameการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)th
dc.description.degreelevel-en
dc.description.degreelevel-th
dc.description.degreedisciplineDepartment of Physical Educationen
dc.description.degreedisciplineภาควิชาพลศึกษาth
Appears in Collections:Faculty of Physical Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs612150006.pdf7.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.