Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2742
Title: DEVELOPMENT OF SCIENTIFIC ARGUMENTATION SKILLS USING SOCIO-SCIENTIFIC ISSUE (SSI) WITH SCIENCE WRITING HEURISTIC FOR GRADE 7 STUDENTS
การพัฒนาทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเขียนทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Authors: SUNISA NUMDEE
สุนิสา นุ่มดี
Theerapong Sangpradit
ธีรพงษ์ แสงประดิษฐ์
Srinakharinwirot University
Theerapong Sangpradit
ธีรพงษ์ แสงประดิษฐ์
theerapong@swu.ac.th
theerapong@swu.ac.th
Keywords: ทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์, การจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์, การเขียนทางวิทยาศาสตร์
Scientific argumentation skills
Socio-scientific issues
Science writing heuristic
Issue Date:  24
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purpose of this study is to study the scientific argumentation skills of seventh grade students who learned socio-scientific issues with Science Writing Heuristic (SWH). The participants in this study were 35 seventh grade students who studied in the second semester of the 2023 academic year in a school in Pathum Thani Province and selected by purposive sampling from classrooms consisting of students with an average academic performance. The research instruments consisted of lesson plans, a scientific argumentation skills test and a scientific argumentation observation form. The data were analyzed with descriptive statistics using frequency, mean, percentage and standard deviation. The results revealed that the Socio-scientific Issue with Science Writing Heuristic (SWH) effected on scientific argumentation skills. The scientific argumentation skills mean scores of the students after learning was at a high level (M = 9.77, S.D. = 3.52). When considering each component, it was found that there were 20 students (57.14%) with the skills at a high level in the claims and warrants component; there were 19 students (54.29%) with the skills at a medium level in the counterargument component; there were 16 students (45.71%) with the skills at a medium level in the supportive argument component and there were 17 students (48.57%) with the skills at a medium level in the evidence component. The Students can express their claims and warrants by scientific knowledge but the reasons given by the students were still incomplete and incorrect according to scientific facts. It was shown that socio-scientific issues with Science Writing Heuristic (SWH) could improve scientific argumentation skills and achievements.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเขียนทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยกลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน  35 คน โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี ซึ่งได้มาจากการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive  sampling) จากห้องเรียนที่นักเรียนมีผลการเรียนในระดับปานกลาง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ และแบบสังเกตพฤติกรรมการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเขียนทางวิทยาศาสตร์นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์หลังเรียน (M = 9.77, S.D. = 3.52) อยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบพบว่า ในองค์ประกอบข้อกล่าวอ้างและเหตุผลสนับสนุน มีนักเรียนจำนวน 20 คน (ร้อยละ 57.14)อยู่ในระดับสูง ในองค์ประกอบข้อโต้แย้งต่างออกไป  มีนักเรียน จำนวน 19 คน (ร้อยละ 54.29) อยู่ในระดับปานกลาง ในองค์ประกอบเหตุผลสนับสนุนการโต้แย้งกลับ มีนักเรียน จำนวน 16 คน (ร้อยละ 45.71) อยู่ในระดับปานกลาง และในองค์ประกอบหลักฐานสนับสนุนเหตุผล มีนักเรียน จำนวน 17 คน (ร้อยละ 48.57) อยู่ในระดับปานกลาง โดยนักเรียนสามารถแสดงข้อกล่าวอ้างและเหตุผลสนับสนุนด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แต่เหตุผลที่นักเรียนให้ยังไม่สมบูรณ์ และถูกต้องตามข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเขียนทางวิทยาศาสตร์ สามารถพัฒนาทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2742
Appears in Collections:Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621130044.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.