Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2696
Title: | PROGRAM THEORY DEVELOPMENT FOR TEACHING AND LEARNING WITH INFORMATION TECHNOLOGY INTENTION OF TEACHER IN THE OFFICEOF BANGKOK PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA BY USING CONTRIBUTION METHOD การพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินความตั้งใจในการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีแบบคอนติบิวชั่น |
Authors: | ITTIKORN BUNNAG อิทธิกร บุนนาค Kanjana Trakoonvorakun กาญจนา ตระกูลวรกุล Srinakharinwirot University Kanjana Trakoonvorakun กาญจนา ตระกูลวรกุล kanjanatr@swu.ac.th kanjanatr@swu.ac.th |
Keywords: | การพัฒนาทฤษฎีโปรแกรม ความตั้งใจในการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ วิธีแบบคอนติบิวชั่น Development of program theory Intention of teaching and learning with information technology Contribution method |
Issue Date: | 15 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This research aims to develop a program theory to assess the intentions of teaching and learning with information technology among teachers under the authority of the Bangkok Primary Education Area Office by using the contribution method. The research method were divided into six stages: (1) defining the problem condition by studied relevant research papers and interviewed 10 teachers; (2) developing the theory of change programs. It was the prediction of models or theory of change that produce the desired outcomes, then sketched the action and change model, and defined the hypothesis if...then; (3) the collection of evidence-based data of the theory of change. The data were collected with a five level questionnaire on estimation and content accuracy and checked by five experts with a content accuracy between 0.67-1.00 and a confidence value of 0.92. There were 300 teachers used as samples in the research and analyzed the data by frequency, percentage, mean and standard deviation; (4) to analyze the reasonableness of the assumptions and consider the weaknesses of program theory, either based on the hypothesis or not; (5) finding additional empirical evidence by interviewing three experts and (6) improving empirical evidence to strengthen program theory. The findings are summarized as follows: program theory developed program theory for assessing the intentions of the teachers to organize teaching and learning with information technology. It consisted of two interventions: (1) school support; and (2) participation in training or workshops on integrated technology in teaching. The three determinants are as follows: (1) teacher efficacy; (2) the positive attitudes of teachers toward using technology; and (3) their experience or skills in using technology. The results assessed the intention of teaching and learning with information technology among teachers. การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินความตั้งใจในการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีแบบคอนติบิวชั่น วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดสภาพปัญหา โดยการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ครูผู้สอน 10 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยง เป็นการคาดคะเนโมเดลหรือทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ตามต้องการ ระบุปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ จากข้อมูลการสัมภาษณ์มาใช้ร่วมกับข้อมูลจากการวิเคราะห์ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง ร่างโมเดลการกระทำ และโมเดลการเปลี่ยนแปลง กำหนดสมมติฐาน if…then ขั้นตอนที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง กำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการของตัวแปรที่ศึกษาจากร่างทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินตั้งใจในการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศของครู รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67 –1.00 มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ 0.92 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครจำนวน 300 คน จาก 37 โรงเรียน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินคุณลักษณะ นำผลการวิเคราะห์แบบสอบถามเพื่อนำมาประเมินตามเกณฑ์ ความสมเหตุสมผลของสมมติฐานที่สร้างขึ้น ความน่าเชื่อถือ รูปแบบของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และพิจารณาจุดอ่อนของทฤษฎีโปรแกรม โดยพิจารณาจากสมมติฐานว่าเป็นไปตามสมมติฐานหรือไม่ ขั้นตอนที่ 5 การหาหลักฐานเชิงประจักษ์เพิ่มเติม โดยสัมภาษณ์โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และขั้นตอนที่ 6 การปรับปรุงหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อให้ทฤษฎีโปรแกรมมีความแกร่ง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ทฤษฎีโปรแกรมการพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินความตั้งใจในการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศของครู ประกอบด้วย ตัวแทรกแซง 2 ตัว คือ การสนับสนุนจากโรงเรียน และ การเข้าร่วมอบรมหรือประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการบูรณาการเทคโนโลยีในการสอน ตัวกำหนด 3 ตัว ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของครู ทัศนคติเชิงบวกของครูกับการใช้เทคโนโลยี และประสบการณ์หรือทักษะการใช้เทคโนโลยีของผู้สอน และผลลัพธ์ คือ ความตั้งใจในการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศของครู |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2696 |
Appears in Collections: | The Education and Psychological Test Bureau |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs631130406.pdf | 3.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.