Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2690
Title: CAUSAL RELATIONSHIP MODEL OF  DIGITAL CITIZENSHIP BEHAVIOR AND EFFECTIVENESS OF A DEVELOPMENT PROGRAM TO PROMOTE  DIGITAL CITIZENSHIP BEHAVIOR FOR UNDERGRADUATE STUDENTS
รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลและประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Authors: PACHAREE TIWSIKHARES
ปาจรีย์ ติ้วสิขเรศ
Saran Pimthong
ศรัณย์ พิมพ์ทอง
Srinakharinwirot University
Saran Pimthong
ศรัณย์ พิมพ์ทอง
saran@swu.ac.th
saran@swu.ac.th
Keywords: พฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัล
ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน
ทฤษฎีการยอมรับและใช้เทคโนโลยี
Digital citizenship behavior
Theory of planned behavior
Unified theory of acceptance and use of technology
Issue Date:  15
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research used a sequential multiple-method research design. The purposes of this research are to examine the causal relationship model of digital citizenship behavior among undergraduate students and to study the effectiveness of the development program to promote digital citizenship among undergraduate students. This study consisted of two phases. The first phase aimed to study a causal model and the sample size consisted of 847 undergraduate students. The factors affecting digital citizenship behavior questionnaire was used to collect the data. The data was analyzed by a structural equation model. The second phase was quasi-experimental research, with 30 undergraduate students in the experimental and control groups. The online development program was conducted and a digital citizenship behavior questionnaire was used to collect the data. The data was analyzed by MANOVA. The result of the first phase showed that the proposed model fit with the empirical data, Chi-square = 163.22, df = 137, p = 0.063, RMSEA = 0.015, GFI = 0.98 and CFI = 1.00. The variables had a direct effect on digital citizenship behavior, including intention, performance expectancy, effort expectancy, and facilitating conditions. The variables had an indirect effect on digital citizenship behavior, including attitudes to behavior, perceived behavioral control, subjective norm, behavioral beliefs, normative beliefs and control beliefs. The result of the second phase showed the effectiveness of the online development program to promote digital citizenship. In the experimental group, the post-test score on digital citizenship behavior was higher than the pre-test score and there was no significance between the post-test score of the digital citizenship behavior in the post experiment period and the two-week follow-up period. This research can be implemented to develop digital citizenship behavior among undergraduate students in universities.
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณแบบพหุวิธีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี การวิจัยระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาปริญญาตรี จำนวน  847 คน เครื่องมือเก็บข้อมูล คือ  แบบสอบถามปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน  เครื่องมือวิจัย คือ โปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลแบบออนไลน์ แบบวัดพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุ  (MANOVA) ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ หลังจากการปรับโมเดล โมเดลที่ปรับแก้มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าสถิติไค-สแควร์ (Chi-square) = 163.22, df = 137, p = 0.063, RMSEA = 0.015, GFI = 0.98 และ CFI = 1.00  ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัล ได้แก่  ความตั้งใจแสดงพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัล  ความคาดหวังถึงประสิทธิภาพต่อพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัล ความคาดหวังถึงความสะดวกต่อการใช้งานเครื่องมือดิจิทัล และเงื่อนไขการสนับสนุนพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัล  ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัล ได้แก่  เจตคติต่อพฤติกรรม  ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม อิทธิพลของบรรทัดฐานทางสังคม ความเชื่อเกี่ยวกับพฤติกรรม ความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิง และ ความเชื่อเกี่ยวกับการควบคุม  ผลการวิจัยระยะที่ 2 พบว่า โปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลแบบออนไลน์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมีประสิทธิผล นักศึกษาที่เข้าร่วมโปรแกรมมีพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลสูงกว่านักศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมทั้งระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลหลังการทดลอง 2 สัปดาห์  ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลให้กับนักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆได้ต่อไป
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2690
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611150052.pdf5.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.