Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2674
Title: | CONCEPT AND PRODUCTION PROCESS OF FILM SCORE
THAT WON THAILAND NATIONAL FILM ASSOCIATION AWARDS แนวคิดและกระบวนการสร้างดนตรีประกอบในภาพยนตร์ไทย ที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ |
Authors: | PORACHA CHULINDRA พรชา จุลินทร Apichet Kambhu Na Ayudhaya อภิเชฐ กำภู ณ อยุธยา Srinakharinwirot University Apichet Kambhu Na Ayudhaya อภิเชฐ กำภู ณ อยุธยา apichetk@swu.ac.th apichetk@swu.ac.th |
Keywords: | ดนตรีประกอบภาพยนตร์ ภาพยนตร์ไทย ธีมดนตรี รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ Film Score Thai Film Theme Music Thailand National Film Association Awards |
Issue Date: | 15 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The concept and production process of film scores that won Thailand National Film Association Awards aim to study the character, concept and production process of film scores in 11 Thai movies, all of which won the Thailand National Film Association Awards for Best Original Score from 2010-2022: Yamada, Kon Khon, Echo Planet, Jan Dara 2: The Finale, The Teacher’s Diary, Heart Attack, A Gift, Bad Genius, The Legend of Muay Thai: 9 Satra, Where We Belong, and The Medium. This research analyzed the characteristics of film scores and in-depth interviews with the composers of scores. The results of the study found the following: (1) film scores are an important element that must be used to support the right timing in order to complete a movie without being so outstanding that it steals the focus of the audience from the images on the screen; (2) the minor scale is mainly found in film scores; (3) the theme music often appears and represents the story of and the characters in the movie; (4) the production process of film scores begins when the composers are given many tools to communicate and allow those involved in the production process to be on the same page. They used the concept and arranged the music before they submitted film scores to producers or directors in order to periodically receive feedback. The editing and testing film scores together with the movie; and (5) the characteristics of winning film scores using a mixture of Eastern and Western music, using a scale to create theme music and other sound effects. การวิจัยเรื่อง แนวคิดและกระบวนการสร้างดนตรีประกอบในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด กระบวนการสร้าง และลักษณะของดนตรีประกอบในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ระหว่างปีพุทธศักราช 2553-2565 จำนวน 11 เรื่อง ได้แก่ ซามูไร อโยธยา คนโขน เอคโค่ จิ๋วก้องโลก จันดารา ปัจฉิมบท คิดถึงวิทยา ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ พรจากฟ้า ฉลาดเกมส์โกง 9 ศาสตรา ที่ตรงนั้น มีฉันหรือเปล่า ร่างทรง ผ่านการวิเคราะห์ลักษณะของดนตรีประกอบและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ที่ยังคงทำงานในแวดวงดนตรีและเป็นผู้ชนะรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ระหว่างปีพุทธศักราช 2553-2565 จำนวน 6 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) ดนตรีประกอบภาพยนตร์เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ต้องคอยสนับสนุนในจังหวะและเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ภาพยนตร์เกิดความสมบูรณ์โดยไม่โดดเด่นหรือล้นจนแย่งความสำคัญของภาพหรือความสนใจของผู้ชมภาพยนตร์ (2) บันไดเสียงไมเนอร์เป็นบันไดเสียงที่พบในดนตรีประกอบภาพยนตร์เป็นส่วนใหญ่เพราะมีลักษณะของเสียงที่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกและเร้าอารมณ์ (3) ธีมดนตรีที่เป็นตัวแทนของเรื่องราวและตัวละครในภาพยนตร์มักปรากฏในหลายช่วงของภาพยนตร์โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงแรกที่เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งจนถึงช่วงท้ายที่ถูกบรรเลงแบบเต็มรูปแบบ (4) กระบวนการสร้างดนตรีประกอบภาพยนตร์เริ่มต้นจากการที่ผู้ประพันธ์ได้รับโจทย์ แล้วจึงใช้เครื่องมือต่าง ๆ สำหรับการสื่อสารกับผู้ที่มีส่วนร่วมในการสร้างภาพยนตร์เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน ได้แก่ บทภาพยนตร์ การพูดคุย การได้รับดนตรีอ้างอิง การสร้างตัวอย่างดนตรี จากนั้นจึงใช้แนวคิดและเรียบเรียงดนตรีก่อนที่จะส่งผลงานให้ผู้กำกับภาพยนตร์ลงความเห็นเป็นระยะ ๆ เพื่อนำเข้าไปสู่กระบวนการตัดต่อและทดสอบเสียงร่วมกับภาพให้พร้อมสำหรับการฉายในโรงภาพยนตร์ (5) ลักษณะของดนตรีประกอบภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ได้แก่ การผสมผสานดนตรีตะวันออกและดนตรีตะวันตก การใช้บันไดเสียงเพื่อสร้างธีมดนตรี การใช้องค์ประกอบทางด้านเสียงอื่น ๆ |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2674 |
Appears in Collections: | College of Social Communication Innovation |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs632130021.pdf | 10.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.