Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2666
Title: | ANTIBACTERIAL PROPERTY OF NEWLY DEVELOPED 2% CHLORHEXIDINE GEL AGAINST ENTEROCOCCUS FAECALIS ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อเอ็นเทอโรคอคคัสฟีคัลลิสของเจลคลอเฮกซิดีนความเข้มข้นร้อยละ 2ที่พัฒนาขึ้นใหม่ |
Authors: | SIRILUK KHAMPRAPHAN ศิริลักษณ์ คำประพันธ์ Chinalai Piyachon ชินาลัย ปิยะชน Srinakharinwirot University Chinalai Piyachon ชินาลัย ปิยะชน chinalai@swu.ac.th chinalai@swu.ac.th |
Keywords: | เอ็นเทอโรคอคคัสฟีคัลลิส เจลคลอเฮกซิดีน เจลคอนเซปซิสวี โซนการยับยั้ง Enterococcus faecalis Chlorhexidine gel ConsepsisV Inhibition zone |
Issue Date: | 15 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | Chlorhexidine (CHX) gel is a highly effective antibacterial agent. Currently, there are no domestically produced or imported products for sale in Thailand. Therefore, we came up with our idea of developing a 2% CHX gel at the Faculty of Dentistry at Srinakharinwirot University for using as intracanal medicament. This preliminary study aimed to compare the efficacy of the newly developed CHX gel against Enterococcus faecalis (E. faecalis) compared to the commercial product, i.e., ConsepsisV and 2% CHX solution. An agar diffusion test was performed in a triplicate for each test and repeated three times. The mean diameters of inhibition zones were measured at 1, 7, 14, 21 days. The Two-Way repeated measure ANOVA was used to compare the mean diameters of inhibition zones of three medications in each time period. The One-Way repeated measure ANOVA was used to compare the mean diameters of the inhibition zones of each medication at different periods of time. Minimum inhibitory concentration (MIC) and minimum bactericidal concentration (MBC) were determined by using the microdilution method. The results showed that the inhibition zone of newly developed CHX gel at 1,7,14,21 day was 16.8 ± 0.60, 17.4 ± 0.63, 18.3 ± 0.75, 18.2 ± 0.75 mm. The inhibition zone of ConsepsisV was 17.1 ± 0.85, 17.7 ± 0.66, 18.5 ± 0.75, 18.3 ± 0.61 mm. There was no significant difference between inhibition zones of newly developed CHX gel and ConsepsisV at every time point. The inhibition zone of CHX solution was 20.2 ± 0.5, 21.0 ± 1.1, 21.5 ± 1.2, 20.6 ± 1.1 mm. However, both CHX gel and Consepsis V showed significantly lower antibacterial properties than CHX solution. At day14 and 21,the newly developed CHX gel and ConsepsisV showed no significant differences in the diameter of inhibition zones. On the contrary, inhibition zones of CHX solution on day 21 were significantly lower than those of day 14. The MIC of newly developed CHX gel was higher than ConsepsisV, while its MBC equally value was 312 µg/ml. It was concluded that our newly developed 2% CHX gel is an effective and stable antibacterial agent against E faecalis, compared to ConsepsisV. เจลคลอเฮกซิดีนเป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพสูง แต่จนถึงปัจจุบันไม่มีการผลิตและนำเข้าจำหน่ายในประเทศไทย คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเจลคลอเฮกซิดีนความเข้มข้นร้อยละ 2 เพื่อใช้เป็นยาใส่ในคลองรากฟัน ซึ่งเป็นการศึกษาเบื้องต้นเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อเอ็นเทอโรคอคคัสฟีคัลลิสของเจลคลอเฮกซิดีนที่พัฒนาที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เจลคอนเซปซิสวีและสารละลายคลอเฮกซิดีนด้วยวิธีทดสอบการแพร่บนวุ้น ทดสอบรอบละ 3 เพลทซ้ำ 3 ครั้ง วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของโซนการยับยั้งที่1,7,14 ,21 วัน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของโซนการยับยั้งของยา 3 ชนิดในแต่ละช่วงเวลาด้วยสถิติความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของโซนการยับยั้งของที่1,7,14,21 วันของยาชนิดเดียวกันด้วยสถิติความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ จากนั้นหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อและค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการฆ่าเชื้อได้เปรียบเทียบเจลคลอเฮกซิดีนที่พัฒนาขึ้นและเจลคอนเซปซิสวี ผลการศึกษาพบว่าเจลคลอเฮกซิดีนที่พัฒนาขึ้นที่ 1,7,14,21 วัน มีค่าเส้นผ่านศูนย์กลางของโซนการยับยั้งเท่ากับ 16.8 ± 0.60, 17.4 ± 0.63, 18.3 ± 0.75, 18.2 ± 0.75 มม.เจลคอนเซปซิสวีที่ 1,7,14,21 วันมีค่าเส้นผ่านศูนย์กลางของโซนการยับยั้งเท่ากับ 17.1± 0.85, 17.7 ± 0.66, 18.5 ± 0.75, 18.3 ± 0.61 มม. เจลคลอเฮกซิดีนที่พัฒนาขึ้นและเจลคอนเซปซิสวีมีค่าเส้นผ่านศูนย์กลางของโซนการยับยั้งไม่แตกต่างกัน สารละลายคลอเฮกซิดีนความเข้มข้นร้อยละ 2 มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของโซนการยับยั้งที่ 1,7,14,21 วันเท่ากับ 20.2 ± 0.5, 21.0 ± 1.1, 21.5 ± 1.2, 20.6 ± 1.1 มม. โดยเจลคลอเฮกซิดีนที่พัฒนาขึ้นและเจลคอนเซปซิสวีมีค่าน้อยกว่าสารละลายคลอเฮกซิดีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบผลที่ 14,21 วัน พบว่าเจลคลอเฮกซิดีนความเข้มข้นร้อยละ 2 ที่พัฒนาขึ้นและเจลคอนเซปซิสวีมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของโซนการยับยั้งไม่แตกต่างกัน ในขณะที่สารละลายคลอเฮกซิดีนมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของโซนการยับยั้งในวันที่ 21 ลดลงเมื่อเทียบกับวันที่ 14 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เจลคลอเฮกซิดีนที่พัฒนาขึ้นมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อมากกว่าเจลคอนเซปซิสวี แต่มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการฆ่าเชื้อเท่ากันคือ 312 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สรุปได้ว่าเจลคลอเฮกซิดีนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อเอ็นเทอโรคอคคัสฟีคัลลิสและยามีความคงตัวของประสิทธิภาพในการต้านเชื้อไม่แตกต่างกับเจลคอนเซปซิสวี |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2666 |
Appears in Collections: | Faculty of Dentistry |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs631110042.pdf | 2.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.