Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2665
Title: | STUDY OF THE TRANSMISSION OF PEE-TAI PERFORMANCE BY NATIONAL ARTIST KUAN THUANYOK การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงปี่ใต้ของควน ทวนยก (ศิลปินแห่งชาติ) |
Authors: | KRAIWIT SUKWIN ไกรวิทย์ สุขวิน Sitsake Yanderm สิชฌน์เศก ย่านเดิม Srinakharinwirot University Sitsake Yanderm สิชฌน์เศก ย่านเดิม sitsakey@swu.ac.th sitsakey@swu.ac.th |
Keywords: | กระบวนการถ่ายทอด ปี่ใต้ ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ ควน ทวนยก Transmission Pee-Tai Southern Folk Music Kuan Thuanyok |
Issue Date: | 15 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This research is a study of the transmission of Pee-Tai performances by national artist Kuan Thuanyok. The objectives for studying the life, workings and transmission process of the Pee-Tai performance of Kuan Thuanyok. The collected data from interviews and participatory observation with three groups of informants: (1) the main group; (2) five students who received Pee-Tai transmission; and (3) an intimate group of two music artists. The data was used for content analysis, analysis induction, and presenting descriptive information. The research findings were that Kuan Thuanyok was born into a family of musicians in Songkhla province. He began to practice the Thai alto xylophone with Mr. Tut Thuanyok and continued to practice others, including the Thai soprano oboe and Pee-Tai. Kuan Thuanyok received the Thai sacred ceremony to indoctrinate with Mr. Kiang Onkaew, with starting point was a gardener at the Songkhla Rajabhat University. Along with being a university musician, until the year 2010, he was honored as a national artist. In the process of transmission of the Pee-Tai performance, and takes the interests of the students as the main focus. Therefore, it is taught to both students with basic and non-basic knowledge. It will be taught in groups and separately. In the teaching strategy, he uses the sound of the Pee-Tai instead of musical notes. The process of transmission can be divided into three phases: Phase One: before learning, there is an evaluation of the basic knowledge and the ceremony of indoctrination; Phase Two: learning eight steps: (1) holding; (2) blowing the main sound; (3) practicing experimental sounds in songs; (4) playing other notes; (5) playing Pleng Son (short songs); (6) playing Pleng Yao (long songs); (7) playing in a group; and (8) playing by yourself. Phase Three: after learning, there was an assessment after practicing to let students gain experience, encouraging them to have their own unique style. Therefore, Kuan Thuanyok has excellent skills in the transmission Pee-Tai performance and ignores the differences in background and prior knowledge of students. It also instills morality and acts as a role model for students. งานวิจัยนี้เป็นการศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงปี่ใต้ของควน ทวนยก (ศิลปินแห่งชาติ) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและผลงานของควน ทวนยก (ศิลปินแห่งชาติ) และเพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงปี่ใต้ของควน ทวนยก (ศิลปินแห่งชาติ) เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ในกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ควน ทวนยก (ศิลปินแห่งชาติ) กลุ่มลูกศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดการบรรเลงปี่ใต้มาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี จำนวน 5 ท่าน และกลุ่มศิลปินดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ที่ใกล้ชิด จำนวน 2 ท่าน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตีความโดยสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Analysis Induction) และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive) ผลการศึกษา พบว่า ครูควน ทวนยก เกิดในครอบครัวนักดนตรีปี่พาทย์ที่อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เมื่อเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษาจึงได้เริ่มฝึกตีระนาดทุ้มจากปู่ คือ นายตุด ทวนยก และฝึกเครื่องดนตรีอื่นรวมถึงปี่ภาคกลางและปี่ใต้เรื่อยมา โดยครูควน ทวนยก ได้ทำพิธีครอบมือกับอาจารย์เคียง อ่อนแก้ว จุดเริ่มต้นของการเป็นครูคือการเข้าทำงานตำแหน่งคนสวนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กอปรกับเป็นมือปี่ของมหาวิทยาลัย กระทั่งปีพุทธศักราช 2553 ครูควน ทวนยกได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ในกระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงปี่ใต้ ครูควน ทวนยก ยึดเอาความสนใจของผู้สนใจเรียนเป็นหลัก จึงสอนให้กับทั้งผู้ที่มีและไม่มีพื้นฐาน โดยจะสอนเป็นกลุ่มและแยกสอนหากผู้เรียนไม่สามารถปฏิบัติได้ ในกลวิธีการสอนจะใช้วิธีการสอนภาษาปี่ เป็นการใช้เสียงปี่แทนตัวโน้ต กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงปี่ใต้ของควน ทวนยกจำแนกได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ก่อนการเรียนรู้ เป็นการสอบถามประเมินความรู้พื้นฐานของผู้เรียนและการครอบครู ระยะที่ 2 การเรียนรู้ ประกอบด้วยขั้นการเรียนรู้ 8 ขั้น คือ (1) การฝึกจับปี่ (2) ฝึกเป่าเสียงหลัก (3) ฝึกเป่าเพลงทดลองเสียง (4) ฝึกเป่าโน้ตเสียงอื่น ๆ (5) ฝึกเป่าบทเพลงสั้น (6) ฝึกเป่าบทเพลงใหญ่ (7) ฝึกเป่ารวมวง และ (8) ฝึกเป่าด้วยตนเอง และระยะที่ 3 หลังการเรียนรู้ เป็นการประเมินผู้เรียนหลังจากฝึกปฏิบัติ ให้ผู้เรียนหาประสบการณ์ รวมถึงสนับสนุนให้ผู้เรียนมีเอกลักษณ์การเป่าเป็นของตัวเอง ดังนั้น ครูควน ทวนยก จึงเป็นครูผู้มีทักษะกระบวนการถ่ายทอดปี่ใต้ที่ดีเยี่ยม มองข้ามความแตกต่างเรื่องภูมิหลังและพื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน ทั้งยังปลูกฝังคุณธรรมและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างให้กับผู้เรียน |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2665 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs641130320.pdf | 11.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.