Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/266
Title: RESEARCH AND DEVELOPMENT OF A MILITARY TRAINING CURRICULUM TO ENHANCE PATRIOTISM OF FIRST-YEAR RESERVE OFFICER TRAINING CORPS STUDENTS
การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการฝึกวิชาทหารที่เสริมสร้างความรักชาติของนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1
Authors: CHALITASORN CHAYAPAPURIDA
ชลิตาสรณ์ ชญาภาภูริดา
Surachai Meechan
สุรชัย มีชาญ
Srinakharinwirot University. Faculty of Education
Keywords: ความรักชาติ
นักศึกษาวิชาทหาร
หลักสูตรการฝึกวิชาทหารที่เสริมสร้างความรักชาติ
Patriotism
military training curriculum to enhance patriotism of first-year ROTCS
Reserve Officer Training Corps Student
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purpose of this research were as follows: (1) to study the confirmatory factor analysis of patriotism of first-year reserve officer training corps students (ROTCS); (2) to develop a military training curriculum to enhance patriotism of first-year ROTCS; and (3) to study the results of using a military training curriculum to enhance patriotism of first-year ROTCS. The research samples were first-year ROTCS enrolled in reserve officer training corps student training center in the Veterinary and Remount Department in the 2018 academic year. The participants were included one thousand two hundred and thirty-two ROTCS using confirmatory factor analysis; and one hundred and twenty-three ROTCS, who were separated into two subgroups were 1) seventy-eight ROTCS for the high patriotism group; and 2) forty-five ROTCS for the medium patriotism group to study the result of using the abovementioned curriculum. The research instruments included a patriotism of first-year ROTCS test, and a military training curriculum to enhance patriotism of first-year ROTCS and computer programs used to analyze the confirmatory factor analysis, and repeated measurement MANOVA.  The results indicated the following: (1) the patriotism of first-year ROTCS found that there were four factors, i.e., blind patriotism, constructive patriotism, symbolic patriotism and civic patriotism,  that were congruent with the empirical data. (Chi-square = 46.957, p = .085, df = 35, Chi-square/df = 1.342, GFI = .992, AGFI = .961) Moreover, the results also revealed that the patriotism of first-year ROTCS test were construct validity, convergent validity, discriminant validity and construct reliability value were .763 to .866.; (2) the findings revealed that a military training curriculum to enhance patriotism of first-year ROTCS (draft) was appropriated at medium level (mean = 3.643);  (3) the results of using  a military training curriculum to enhance patriotism of first-year ROTCS found that groups with high levels of patriotism and groups with medium levels of patriotism’s average score were statistically significantly different at .05 level for all of the components and when time differences was considered, it was found that the patriotism of ROTCS was statistically different at a significantly level of .05 for constructive patriotism and civic patriotism.
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบความรักชาติของนักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกวิชาทหารที่เสริมสร้างความรักชาติของนักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ 1 และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรการฝึกวิชาทหารที่เสริมสร้างความรักชาติของนักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ 1 ในศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหาร กรมการสัตว์ทหารบก จังหวัดนครปฐม ปีการศึกษา 2561 ในการศึกษาองค์ประกอบความรักชาติของนักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ 1 มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,232 คน ส่วนการศึกษาผลการใช้หลักสูตรการฝึกวิชาทหารที่เสริมสร้างความรักชาติของนักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ 1 มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 123 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มรักชาติสูง จำนวน 78 คน และกลุ่มรักชาติปานกลาง จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความรักชาติของนักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ 1 ในการศึกษาองค์ประกอบความรักชาติใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ส่วนการศึกษาผลการใช้หลักสูตรการฝึกวิชาทหารใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรพหุนามแบบวัดซ้ำ (Repeated measure MANOVA) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ความรักชาติ มี 4 องค์ประกอบ โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 46.957, p = .085, df = 35, Chi-square/df = 1.342, GFI = .992, AGFI = .961) นอกจากนั้นแบบวัดความรักชาติมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) และมีความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้าง (Construct reliability) เท่ากับ .763-.866 2) หลักสูตรการฝึกวิชาทหารที่เสริมสร้างความรักชาติที่พัฒนาขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการฝึกวิชาทหาร ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งมีทั้งหมด 20 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 4 ชั่วโมง  โดยหลักสูตรการฝึกวิชาทหารที่มุ่งเน้นเสริมสร้างความรักชาติเป็นการฝึกในชั่วโมงสุดท้ายของการฝึกในสัปดาห์ที่ 13-20 มีทั้งหมด 8 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง ใช้วิธีสอนในรูปแบบต่างๆ เช่น การบรรยาย การยกตัวอย่าง ประกอบกับการทำกิจกรรมที่ผสมผสานวิธีการทำกิจกรรมกลุ่ม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือประสบการณ์ การซักค้าน และการแสดงบทบาทสมมติ มีผลประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร (ฉบับร่าง) อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.643) และ 3) คะแนนเฉลี่ยความรักชาติของนักศึกษาวิชาทหารกลุ่มรักชาติสูงและกลุ่มรักชาติปานกลางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการใช้หลักสูตรส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยความรักชาติก่อนฝึก หลังฝึก และระยะติดตาม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า เฉพาะความรักชาติเชิงสร้างสรรค์ และความรักชาติเชิงหน้าที่พลเมืองที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/266
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs561150020.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.