Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2617
Title: A CONSTRUCTION OF READING LITERACY TEST FOR GRADE 3 STUDENTS IN BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION SCHOOL  
การสร้างแบบทดสอบความฉลาดรู้ด้านการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
Authors: KANYAKIT SILAPACHAROEN
กัญญกิตติ์ ศิลปเจริญ
Panida Sakuntanak
พนิดา ศกุนตนาค
Srinakharinwirot University
Panida Sakuntanak
พนิดา ศกุนตนาค
panidam@swu.ac.th
panidam@swu.ac.th
Keywords: ความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาไทย
ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ
จีพีซีเอ็ม
Reading Literacy
Item Response Theory
GPCM
Issue Date:  15
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this research are as follows: (1) to construct a reading literacy test and verify the quality of classical test theory; (2) to verify the quality of item response theory; (3) to study the reading literacy skills of Grade Three students in schools under the authority of the Bangkok Metropolitan Administration. The samples used in the research consisted of 700 Grade Three students. The research instrument was a reading literacy test according to the PISA test that measures the competency to locate information, to understand, evaluate and reflect. The reading literacy test consisted of multiple-choice questions and an essay with a total of 15 questions. The verification of the quality of reading literacy tests by classical test theory and item response theory with Generalized Partial Credit Model (G-PCM) and verified reading literacy by mean and standard deviation. The findings were as follows: (1) a reading literacy test consisted of five situations and total of 60 questions showed the content validity in the range of 0.80-1.00 and the quality by classical test theory showed that the difficulty was in the range of 0.43 to 0.79, the discriminant was in the range of 0.30 to 0.75, and the reliability was in the range of 0.89  and 0.87; (2) the quality of reading literacy test by item response theory with the G-PCM model showed that the discrimination parameter (αi) was in the range of 0.95 to 2.50. The difficulty parameter (δij) δ1 was in the range of -0.64 to -0.08 and δ​2 was in the range of 0.08 to 0.64. The item information of three competencies had the highest ability level (θ) equal to -1.2,  -0.4 and -0.4 and the test information of three competencies had the highest ability level (θ) equal to -0.8,-0.8, and -0.43; and (3) the results of the study of reading literacy showed that most of the students have high level of reading literacy.
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อสร้างแบบทดสอบความฉลาดรู้ด้านการอ่านและตรวจสอบคุณภาพโดยใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ  (3) เพื่อศึกษาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวนนักเรียน 700 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบความฉลาดรู้ด้านการอ่านสร้างตามแนวทาง PISA  ครอบคลุม 3 สมรรถนะ ได้แก่ รู้ตำแหน่งข้อสนเทศในเนื้อเรื่อง (Locate information) มีความเข้าใจในเนื้อเรื่อง (Understand) และ ประเมินและสะท้อนความคิดเห็นต่อเนื้อเรื่อง (Evaluate and Reflect)  มีลักษณะเป็นแบบทดสอบเชิงสถานการณ์ ประกอบด้วย ข้อสอบแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก และอัตนัย รวมทั้งสิ้น 15 ข้อ วิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบโดยใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม และทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ ด้วยโมเดล Gerneralized Partial Credit Model (GPCM) และศึกษาความฉลาดรู้ด้านการอ่านโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบทดสอบที่สร้างขึ้นจำนวน 5 สถานการณ์ 60 ข้อ พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.80-1.00  เมื่อวิเคราะห์คุณภาพโดยใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม ข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.43 ถึง 0.79 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.75 และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบแบบเลือกตอบมีค่าเท่ากับ 0.89  และแบบทดสอบอัตนัยมีค่าเท่ากับ  0.87  2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบด้วยโมเดล G-PCM ข้อคำถามที่ผ่านเกณฑ์ มีค่าพารามิเตอร์ความชัน (αi) ตั้งแต่ 0.95 ถึง 2.50 ค่าพารามิเตอร์ระดับขั้นความยากของการตอบ (δij) δ1 ตั้งแต่ -0.64 ถึง -0.08 และ δ2  มีค่าตั้งแต่ 0.08 ถึง 0.64 สารสนเทศของข้อสอบทั้ง 3 สมรรถนะมีค่าสูงสุดที่ระดับความสามารถ (θ) เท่ากับ -1.2, -0.4 และ -0.4 และสารสนเทศของแบบทดสอบทั้ง 3 สมรรถนะสูงสุดที่ระดับความสามารถของผู้ตอบ (θ) เท่ากับ -0.8,  -0.8 และ -0.4 3) ผลการศึกษาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่มีความฉลาดรู้ด้านการอ่านอยู่ในระดับสูงทั้ง 3 สมรรถนะ
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2617
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130026.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.