Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2587
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | LADDAWAN PETCHARAT | en |
dc.contributor | ลัดดาวัลย์ เพชรรัตน์ | th |
dc.contributor.advisor | Preechaya Nakfon | en |
dc.contributor.advisor | ปรีชญาณ์ นักฟ้อน | th |
dc.contributor.other | Srinakharinwirot University | en |
dc.date.accessioned | 2024-01-15T01:17:47Z | - |
dc.date.available | 2024-01-15T01:17:47Z | - |
dc.date.created | 2023 | |
dc.date.issued | 15/12/2023 | |
dc.identifier.uri | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2587 | - |
dc.description.abstract | This purpose of this research is to evaluate the implementation of the Satun education sandbox. This study is qualitative research, using the CIPP Model for evaluation. The information was gathered through document research and in-depth interviews with key informants from policy-makers, at street level and at the local level and to analyze the data using content analysis techniques. The results of the study were found as follows: the Satun education sandbox is an environment conducive to operations, including policy objectives that allowed the area to take action on more issues and included targeted areas, explicit plans and guidelines and school readiness, and was also supported by various sectors in the area. All contexts, as a result of the Satun education sandbox were actionable. Meanwhile, operational resources had insufficient input, with additional support and assistance from various sectors. As a result, the overall resources were adequate. This is actionable as the operation of sandbox education should be efficient and of high quality. The process of the implementation of the Satun education sandbox was continuous. This includes perception build, human resources development, implementation, and monitoring and evaluation. All operations are not efficient enough to result in an explicit change, despite the push from many parties involved. As a result, productivity and outcomes cannot achieve the ultimate outcomes that the area has targeted. As a result, the operation of the Satun education sandbox differed significantly with the education management of general schools, so the implementation of the educational sandbox will be successful. It consisted of the following factors: (1) explicit laws and goals will open opportunities and facilitate the area to able education management freely and convenient operation; (2) school readiness and cooperation from various sectors in the area to support the operation; (3) potential personnel and leadership of executives who can be role models to subordinates; (4) give the policy importance policy by building perception among people in all sectors in the area, until acceptance of policies from all sectors; and (5) monitoring and evaluation of performance continuous and regular, to be able to develop and improve solving operations in a timely and efficient manner, and able to expand educational innovation in the area more. The educational sandbox should have integration from all sectors in the area and to achieve operations by covering all dimensions. People in the area can take action and make operational decisions. The state must support its implementation and give priority to the street-level, in order to make operations happen efficiently and effectively. | en |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล ซึ่งใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitive research) โดยนำรูปแบบการประเมิน CIPP Model มาเป็นกรอบแนวคิดหลักในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากหน่วยงานระดับนโยบายและผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสตูลมีสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานทั้งวัตถุประสงค์ของนโยบายที่เปิดโอกาสให้พื้นที่สามารถดำเนินการในประเด็นต่างๆ ได้มากขึ้น ประกอบกับพื้นที่มีเป้าหมาย แผนและแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน และโรงเรียนนำร่องมีความพร้อม รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสตูลสามารถเกิดการขับเคลื่อนได้ ขณะที่ปัจจัยนำเข้าที่เป็นทรัพยากรในการดำเนินงานมีไม่เพียงพอ แต่ได้รับการสนับสนุน ช่วยเหลือเพิ่มเติมจากภาคส่วนต่างๆ ส่งผลให้ทรัพยากรในภาพรวมมีเพียงพอ ครบถ้วนที่จะขับเคลื่อนการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรรมการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเกิดคุณภาพได้ โดยกระบวนการขับเคลื่อนงานของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสตูลมีความต่อเนื่องกันทั้งการสร้างการรับรู้ การพัฒนาบุคลากร การนำไปปฏิบัติและการติดตาม ประเมินผล แต่การดำเนินงานทั้งหมดยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน แม้จะมีความพยายามผลักดันจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถทำให้เกิดผลลัพธ์สุดท้าย (Ultimate Outcomes) ที่พื้นที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้ ทำให้การดำเนินงานของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสตูลไม่มีความแตกต่างกับการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น การดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจะประสบความสำเร็จได้ ประกอบด้วยปัจจัยดังนี้ 1) กฎหมายและเป้าหมายที่ชัดเจน จะเปิดโอกาสและอำนวยความสะดวกให้พื้นที่สามารถจัดการศึกษาได้อย่างอิสระและมีความคล่องตัว ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางและแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกัน 2) ความพร้อมของโรงเรียนและการได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ในการสนับสนุนการดำเนินงาน 3) บุคลากรที่มีศักยภาพ และภาวะผู้นำของผู้บริหารที่สามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา 4) การให้ความสำคัญกับนโยบายอย่างต่อเนื่อง โดยสร้างการรับรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ จนนำไปสู่การยอมรับนโยบายจากทุกภาคส่วน และ 5) การติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถพัฒนา ปรับปรุงการดำเนินงานได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การขยายผลนวัตกรรมการศึกษาในพื้นที่ให้มากขึ้น ทั้งนี้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาควรมีการบูรณาการการทำงานจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานครอบคลุมทุกมิติ โดยคนในพื้นที่สามารถดำเนินการและตัดสินใจได้ รวมถึงให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อให้การดำเนินงานเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรัฐต้องมีการหนุนเสริมการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Srinakharinwirot University | |
dc.rights | Srinakharinwirot University | |
dc.subject | การประเมินผล | th |
dc.subject | พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา | th |
dc.subject | Evaluation | en |
dc.subject | Education Sandbox | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Education | en |
dc.subject.classification | Library, information, archive | en |
dc.title | THE EVALUATION OF EDUCATION SANDBOX POLICY : A CASE STUDY OFTHE SATUN EDUCATION SANDBOX | en |
dc.title | การประเมินผลนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา กรณีศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล | th |
dc.type | Master’s Project | en |
dc.type | สารนิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Preechaya Nakfon | en |
dc.contributor.coadvisor | ปรีชญาณ์ นักฟ้อน | th |
dc.contributor.emailadvisor | preechayan@swu.ac.th | |
dc.contributor.emailcoadvisor | preechayan@swu.ac.th | |
dc.description.degreename | MASTER OF PUBLIC ADMINISTRATION (M.P.A.) | en |
dc.description.degreename | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) | th |
dc.description.degreelevel | - | en |
dc.description.degreelevel | - | th |
dc.description.degreediscipline | Department of Political Science | en |
dc.description.degreediscipline | ภาควิชารัฐศาสตร์ | th |
Appears in Collections: | Faculty of Social Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs641130229.pdf | 3.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.