Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2539
Title: A CREATIVE LEADERSHIP DEVELOPMENT MODELOF SCHOOL ADMINISTRATORS IN NORTHEAST UNDER OFFICEOF THE BASIC EDUCATION COMMISSION
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: THANAWAT CHIMKUL
ธนวัฒน์ ฉิมกูล
Jantarat Phutiar
จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์
Srinakharinwirot University
Jantarat Phutiar
จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์
jantarat@swu.ac.th
jantarat@swu.ac.th
Keywords: รูปแบบ
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์
Model
Creative leadership
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research are as follows: (1) to study the components of creative leadership of school administrators in the northeastern region under the authority of the Office of the Basic Education Commission; (2) to create a creative leadership development model of school administrators; and (3) to assess the creative leadership development model of school administrators. The research methods consisted of three steps: (1) to study the components of creative leadership of school administrators in the northeastern region under the authority of the Office of the Basic Education Commission by synthesizing papers. The research sample consisted of 1,170 school administrators, group leaders and teachers. The research tool was a five-point estimation questionnaire and examined for content validity. The concordance was between 0.60-1.00,  the reliability was 0.91 and the data was analyzed by confirmatory factor analysis (CFA); (2) to design a creative leadership development model of school administrators in the northeastern region under the authority of the Office of the Basic Education Commission by seminars based on experts, in terms of connoisseurship among nine people using content analysis; and (3) the evaluation of the creative leadership development model of school administrators evaluated by five experts and obtained by purposive sampling. The statistics used in the research were mean and standard deviation. The results revealed the following: (1) the components of creative leadership of school administrators in the northeastern region under the authority of the Office of the Basic Education Commission had 11 components: (1) vision; (2) flexibility; (3) imagination; (4) creativity; (5) team learning; (6) success orientation; (7) trust; (8) problem-solving; (9) motivation; (10) communication; and (11) leadership. (2) the creative leadership development model consisted of three parts: the introduction consisted of the principles, objectives and goals of the creative leadership development model; the content consisted of creative elements of school administrators, the component based creative leadership development process and evaluation guidelines, and implementation consisted of conditions for success and the consequences of using the model; and (3) the results of the evaluation of the correctness and suitability of the model possibility and the overall usefulness in all aspects were at the highest level.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงาน และครูผู้สอน จำนวน 1,170 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรง เชิงเนื้อหา มีค่าความสอดคล้องอยู่ ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Confirmatory Factor Analysis (CFA) 2) การสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) จำนวน 9 ท่าน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และ 3) การประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1.องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 11 องค์ประกอบ คือ 1) การมีวิสัยทัศน์ 2) การมีความยืดหยุ่น 3) การมีจินตนาการ 4) การมีความคิดสร้างสรรค์ 5) การเรียนรู้แบบทีม 6) การมุ่งผลสำเร็จ 7) การมีความไว้วางใจ 8) การแก้ปัญหา 9) การมีแรงจูงใจ 10) การสื่อสาร และ 11) การมีภาวะผู้นำ 2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ตามองค์ประกอบ และแนวทางการประเมินผล และส่วนการนำไปใช้ ประกอบด้วย เงื่อนไขความสำเร็จ และผลของการใช้รูปแบบ และ 3. ผลการประเมินรูปแบบด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2539
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611150083.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.