Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2534
Title: | A STUDY OF SINGLE MOTHERHOOD ADOLESCENT VOLUNTEER CASE STUDYOF THE FOUNDATION FOR UNDERSTANDING WOMEN'S HEALTH การศึกษาความเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นจิตอาสากรณีศึกษามูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง |
Authors: | PAWEENSIRI KONGIN ปวีณสิริ คงอินทร์ Petcharat Saisombut เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ Srinakharinwirot University Petcharat Saisombut เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ petcharatsa@swu.ac.th petcharatsa@swu.ac.th |
Keywords: | แม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่น จิตอาสา แรงจูงใจ กระบวนการในการเข้าสู่การเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นจิตอาสา Teenage single mom Volunteer Motivation Volunteer-spirited teenager |
Issue Date: | 21 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This study of volunteer-spirited single mothers in a case study for the Women's Health Advocacy Foundation, had the following objectives: (1) to study of the process of teenage single mothers becoming volunteer-spirited single mothers; (2) to study of factors that promote the decision-making of adolescent single mothers towards becoming a volunteer-spirited single mother and suggest guidelines to encourage teenage single mothers to become volunteer-spirited single mother by conducting a research methodology in the form of qualitative research and with the informants in this research. The researchers collected data with the research participants divided between 17 teenage single mothers in the Women's Health Advocacy Foundation, 10-19 years of age, with experience as a teenage single mother of at least 2 years and a volunteer and the five person staff of Women's Health Advocacy Foundation and a total of 22 people. The results can be summarized as follows: (1) the process of being a volunteer-spirited single mother, self-transformation to become a volunteer-spirited single mother are the result of pushing themselves to come up with the concept of development and change, such as becoming a volunteer to help society with a group of people who have the same problems they do. They will bring their experiences to develop and find solutions to solve and pass on solutions to other single mothers; (2) the factors promoting decision-making among volunteer-spirited single mothers, encountering social problems and the obstacles of being a teenage single mother in the social, mental, and lifestyle aspects. Motivating young single mothers can see improvements and opportunities for a better life. It is the beginning of a new perspective on life, creating a concept of self-worth to feel presence and social benefits; (3) being a volunteer-spirited single mother is a relationship building of a single mother, adolescents and the process of being a volunteer to help society by concepts, creating guidelines, and setting points in life. It creates opportunities and passes on the opportunity to help and strengthen guidelines for the development of people who have problems like themselves. การศึกษาความเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นจิตอาสา กรณีศึกษามูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิงมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการของแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นสู่การเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นจิตอาสา (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมให้แม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นตัดสินใจเข้าสู่การเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นจิตอาสา และ (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นสู่การเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นจิตอาสาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบ่งออกเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นในมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง จำนวน 17 คน โดยอยู่ในช่วงวัย 10 – 19 ปี ที่มีประสบการณ์เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี และบุคลากร เจ้าหน้าที่มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง จำนวน 5 คน ผลการวิจัย พบว่า (1) กระบวนการในการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นจิตอาสา การเปลี่ยนแปลงตนเองสู่การเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นจิตอาสา เป็นผลมาจากการผลักดันให้ตนเองเกิดแนวความคิดในการพัฒนาและแก้ไขปรับเปลี่ยนตนเองให้เป็นจิตอาสาช่วยเหลือสังคม ในกลุ่มบุคคลที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกับตนเอง เป็นการนำประสบการณ์ของตนเองมาพัฒนาและหาแนวทางในการแก้ไขส่งต่อแนวทางในการแก้ไขให้กับแม่เลี้ยงเดี่ยวรายอื่น ๆ (2) ปัจจัยในการส่งเสริมการตัดสินใจของแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นจิตอาสา การพบเจอกับปัญหาและอุปสรรคในการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นทางด้านสังคม ด้านสภาพจิตใจ ด้านการดำเนินชีวิต การสร้างแรงจูงใจให้แม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นสามารถมองเห็นถึงการพัฒนาและโอกาสในการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น เป็นการเริ่มต้นมุมมองใหม่ ๆ ในชีวิต สร้างแนวความคิดในการสร้างคุณค่าในตนเองให้รู้สึกถึงการมีตัวตนและประโยชน์ทางสังคม (3) แนวทางในการส่งเสริมแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นสู่การเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นจิตอาสา ซึ่งเป็นแนวทางส่งเสริมในการแสดงถึงสิทธิ โอกาส การพัฒนาเปลี่ยนแปลงตนเอง ในด้านการช่วยเหลือสังคม และบุคคลที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกับตนเอง การส่งเสริมในการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นจิตอาสาทำให้มองเห็นโอกาสในการพัฒนา การส่งเสริมตนเองในด้านอื่น ๆ ในการดำเนินชีวิตให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น โดยมุ่งเน้นการก้าวหน้าและการพัฒนาส่งเสริมให้แม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นจิตอาสาสามารถพึ่งพาตนเองและมีความเข้มแข็ง ความสมบูรณ์ ความพร้อม |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2534 |
Appears in Collections: | Faculty of Social Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs631130576.pdf | 2.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.