Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2528
Title: EFFECTS OF CHEMISTRY TEACHING THROUGH CONCEPTUAL DEVELOPMENT WITH POLYA'S TECHNIQUE ON ACID-BASE FOR ELEVENTH GRADE STUDENTS
ผลการจัดการเรียนรู้เคมีที่เน้นการพัฒนามโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคของโพลยาเรื่อง กรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: CHATSUDA KHUNPENG
ฉัตรสุดา ขุนเพ็ง
Wanphen Pratoomtong
วันเพ็ญ ประทุมทอง
Srinakharinwirot University
Wanphen Pratoomtong
วันเพ็ญ ประทุมทอง
wanphenp@swu.ac.th
wanphenp@swu.ac.th
Keywords: การพัฒนามโนทัศน์
เทคนิคของโพลยา
ความเข้าใจมโนทัศน์
ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเคมี
Conceptual development
Polya's technique
Conceptual understanding
Problem-solving abilities in chemistry
Issue Date:  17
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes are as follows: (1) to compare the pretest and posttest results involving a conceptual understanding of students learning through chemistry teaching and emphasizing Polya's technique; (2) to compare the posttest results and criteria (60%) involving a conceptual understanding of students learning through chemistry teaching and emphasizing Polya's technique; (3) to compare the pretest and posttest results involving problem-solving abilities in chemistry of students learning through chemistry teaching and emphasizing Polya's technique; (4) to compare the posttest results and criteria (60%) involving problem-solving abilities in chemistry of students learning through chemistry teaching and emphasizing Polya's technique; and (5) to study the development of problem-solving abilities in chemistry of students learning through chemistry teaching and emphasizing Polya's technique. The samples of the research included 30 eleventh grade students in the second semester of the 2020 academic year at Wangkhoi Pittaya School. The samples were obtained by cluster random sampling. The duration of the study was 24 periods.The research instruments were (1) lesson plans; (2) conceptual understanding on acid-base tests, and (3) problem-solving abilities in chemistry on the acid-base test. The hypotheses testing used a t-test for dependent samples, a t-test for One-Sample and One-Way ANOVA Repeated Measures. The results  were: (1) students who learned through chemistry teaching and emphasizing Polya's technique had higher conceptual understanding than before instruction at a .01 level of significance; (2) students who learned through chemistry teaching and emphasizing Polya's technique had higher conceptual understanding than the criteria (60%) at a .01 level of significance; (3) students who learned through chemistry teaching and emphasizing Polya's technique had higher problem-solving abilities in chemistry than before instruction at a .01 level of significance; (4) students who learned through chemistry teaching and emphasizing Polya's technique had higher problem-solving abilities in chemistry than the criteria (60%) at a .01 level of significance; and (5) students who learned through chemistry teaching and emphasizing Polya's technique had different problem-solving abilities in chemistry from each assessment at a .01 level of significance.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความเข้าใจมโนทัศน์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่ เน้นการพัฒนามโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคของโพลยาก่อนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความเข้าใจมโนทัศน์ของนักเรียนที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนามโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคของโพลยาหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 60 3) เปรียบเทียบความสามารถใน การแก้โจทย์ปัญหาเคมีของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนามโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคของโพลยาก่อนและหลังเรียน  4) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเคมีที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนามโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคของโพลยาหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 5) ศึกษาพัฒนาการความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเคมีของนักเรียนที่ได้รับการจัด การเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนามโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคของโพลยา แบบแผนที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบแผนการวิจัยที่มีกลุ่มทดลอง กลุ่มเดียววัดสองครั้งและแบบแผนการวิจัยที่มีกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวแบบอนุกรมเวลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวังข่อยพิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม  ใช้ระยะเวลาในการวิจัย 24 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดความเข้าใจมโนทัศน์ เรื่อง กรด-เบส และ 3) แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเคมี เรื่อง กรด-เบส สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน การทดสอบทีแบบ 1 กลุ่มตัวอย่าง และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบมีการวัดซ้ำ  ผลการวิจัยพบว่า  1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนามโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคของโพลยามีความเข้าใจมโนทัศน์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนามโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคของโพลยามีความเข้าใจมโนทัศน์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนามโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคของโพลยามีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเคมีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนามโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคของโพลยา มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเคมีหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 5) นักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนามโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคของโพลยามีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเคมีจาก การประเมินแต่ละครั้งแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2528
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611130015.pdf4.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.